การสร้างความตระหนักในการป้องกันรังสีแก่ผู้รับบริการสำหรับผู้รับผิดชอบงานรังสีวิทยา ในจังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • niwat wonglee Thantohospital

คำสำคัญ:

รังสีกระเจิง, การป้องกันรังสี, อันตรายจากรังสี, ความตระหนัก

บทคัดย่อ

จากการเยี่ยมกลุ่มงานรังสีวิทยาของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดยะลา ทั้ง 5 แห่ง พบว่า มากกว่าร้อยละ 50 คือการเอกซเรย์ปอด (chest  x-ray) แต่ไม่มีการป้องกันรังสีให้ผู้รับบริการ จึงควรหาวิธีการสร้างความตระหนักให้ผู้รับผิดชอบงานรังสีให้เห็นความสำคัญต่อการป้องกันรังสีให้ผู้รับบริการ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้รับบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีในวัยเจริญพันธ์ ที่อาจจะเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้  บทความนี้ใช้กระบวนการทบทวนบทเรียนจากการเยี่ยมกลุ่มงานรังสีวิทยาโรงพยาบาลชุมต่างๆ ในจังหวัดยะลา ซึ่งจะลงเยี่ยมปีละ 2 ครั้ง ในแต่ละครั้ง ได้ให้ความรู้แก่ผู้รับรับผิดชอบงานรังสี หลายๆ วิธี คือ วิธีแรก สอนด้วยปากเปล่า ยังไม่มีการป้องกันฯ วิธีที่ 2 คือ จัดอบรม/บรรยายเรื่องอันตรายจากรังสีและการป้องกัน เกิดนวัตกรรมขึ้นบ้าง แต่น้อยมาก วิธีที่ 3 งานวิจัยเรื่องผลของรังสีกระเจิงต่อการเติบโตของต้นผักบุ้งและถั่วเขียว

            วิธีที่ 3 นี้ ค่อนข้างเป็นรูปธรรม เพราะต้นผักบุ้งและต้นถั่วเขียวที่ได้รับรังสีกระเจิง  จะมีการเติบโตสูงกว่าต้นปกติ แสดงว่ารังสีจะมีผลต่อสิ่งมีชีวิต มีการหาวิธีป้องกันรังสีเกิดขึ้น จึงควรขยายความรู้นี้ไปยังกลุ่มงานรังสีวิทยาในโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อให้ผู้รับบริการเอกซเรย์เกิดความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางรังสีวิทยาต่อไป

References

Amporn, K.,(2004). Radiation hazard and control.Prince of Songkla University. Songkla :
Department of Radiology Faculty of Medicine. (in Thai).
Anchalee, CH. (2001). Measurement of plant growth. Biology Teaching Guide by cooperation
between Office of the Basic Education Commission and Faculty of Science,
Chulalongkorn University. (in Thai).
Endsley, M.R. (1995). Towards Theory of Situation Awareness in Dynamic Systems. Human
Factor. Retrieved August 5,2018,from http://uwf.edu/skass/documents/HF.37.1995-
Endsley-Theory.pdf.
K. Faulkner, (1997). Radiation Protection in Interventional Radiology, The British Journal of
Radiology, 70 (1997), 325-326.
Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. New York : Mc Graw-Hill Book Company.
ICRP. (1991b). Annals of the ICRP. Risks associated with ionizing radiations. Oxford :
Pergamon Press; 22(1).
Luce Ouellet, Latisha Richardson, Patty Taylor & Pamela Werner. (2014). BASIC
CONSIDERATIONS OF RADIATION SAFETY AND BARRIER PROTECTION. USA :
Ansell Healthcare Product LLC.
Mahidol Subcommittee on Radiation Safety, (2012). RADIATION SAFETY GUIDELINES.
Mahidol University. Bangkok : Thongsuk print.
Office of Atoms for Peace, (2004). Training Manual on Radiation Protection. Bankok : The
Agricultural Cooperative Federation of Thailand Ltd.
Radiology.org, (2014). Radiation Dose in X-Ray and CT Exams. Radiological Society of North
America, Inc.
Roger W. Harms. (n.d.). Is it safe to have an X-ray during pregnancy?. Retrieved
November 14, 2016, from http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/ pregnancy- week-by-week/expert-answers/x-ray-during-pregnancy/faq-20058264.
Salisbury F.B. and Ross, C. (1992). Plant Physiology. Wadsworth, Belmont, Califonia.
Taiz, L. and E. Zeeiger. (2006). Plant Physiology. 4th edition. Sinauer Associatiates,
Inc.,Sunderland.
Wuthimapagron,N. (2014). Professional Nurses Caring Behavior for the Patients Safety
inKasamrad Hospital Group. Veridian E-Journal, 7(1): 698-711. Retrieved January
21, 2015 from http://www.ejournal.su.ac.th/upload/849.pdf. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-18