การพัฒนาและประเมินฉลากยารูปภาพสำหรับผู้ป่วยที่รับประทานยาวาร์ฟารินในโรงพยาบาลรามัน จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • RONEE KADAY Raman Hospital

คำสำคัญ:

ฉลากยา, วาร์ฟาริน, อาการข้างเคียงที่รุนแรง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาฉลากยาวาร์ฟารินในการลดอุบัติการณ์การรับประทานยาวาร์ฟารินไม่ตรงตามแพทย์สั่งและลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะ major bleeding หรือ thromboembolism วิธีการดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินในคลินิกวาร์ฟาริน โรงพยาบาลรามัน จำนวน 62 คน เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยการพัฒนา “ฉลากยาเสริมวาร์ฟารินในรูปแบบรูปภาพ” ซึ่งอยู่ในรูปแบบสติกเกอร์นำไปติดอีกด้านของซองยาความคู่กับฉลากยาที่เป็นตัวอักษร ซึ่งในสติ๊กเกอร์ปั้มตราสัญลักษณ์การกินยาวาร์ฟารินของผู้ป่วยในแต่ละวันตลอดสัปดาห์แยกตามสีของเม็ดยาวาร์ฟารินคือสีฟ้ากับสีชมพู ทำให้ผู้ป่วยสามารถเห็นภาพรวมการรับประทานยาได้ง่ายและชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมถึงจัดกิจกรรม “Calling love” โดยการโทรศัพท์หาผู้ป่วยทุกรายที่มีการเปลี่ยนขนาดยาในแต่ละสัปดาห์ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผู้ป่วยเข้าใจการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง ผลการศึกษาวิจัย: ผู้ป่วยเข้าร่วมงานวิจัยจำนวน 40 ราย จากผลการศึกษาพบว่าอุบัติการณ์การรับประทานยาวาร์ฟารินไม่ตรงตามแพทย์สั่งในคลิกนิกวาร์ฟารินหลังได้รับฉลากยาเสริมวาร์ฟารินแบบรูปภาพลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) และ อุบัติการณ์การเกิดภาวะ major bleeding หรือ thromboembolism จากการรับประทานยา warfarin ไม่ตรงตามแพทย์สั่งในคลิกนิกวาร์ฟาริน หลังได้รับฉลากยาเสริมวาร์ฟารินแบบรูปภาพลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.01) เช่นเดียวกัน สรุปผลการวิจัย: การศึกษานี้พบว่าฉลากยาเสริมวาร์ฟารินรูปแบบรูปภาพอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ยาวาร์ฟาริน การดูแลผู้ป่วยได้รับยาวาร์ฟาริน ซึ่งเป็นยาความเสี่ยงสูงจะต้องมีการดูแลและให้การสนับสนุนผู้ป่วยในทุก ๆ ด้าน เพื่อหวังผลให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์จากการใช้ยามากที่สุด และเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยาน้อยที่สุด

References

Chaijinda K, Nilaward K, Chuamanochan P, Awiphan R. Development and evaluation of pictorial labeling system for Northern Thai patients with low literate skills. [PhD thesis]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2007. [in Thai]
Dowse R, Ehlers M. Medicine labels incorporating pictograms do they influence understandingand adherence?.Patient EducCouns2005; 58: 63-70.
Dowse R, Ehlers M. The evaluation of pharmaceutical pictogramsinalow-literateSouthAfrican population. Patient EducCouns2001; 45: 87-99.
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด ชนิดรับประทาน พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2553. เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2560, จาก http://www.thaiheart.org/images/column_1292154183/Warfarin_Guideline_Version2.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-21