สุขภาวะกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ผู้แต่ง

  • ปริญญา จิตอร่าม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

สุขภาวะ, การเรียนรู้ตลอดชีวิต

บทคัดย่อ

สภาพปัญหาด้านสุขภาพในปัจจุบัน มีปัจจัยสาเหตุของปัญหามากมายหลากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งปัญหาในระบบสุขภาพเอง เป็นต้น อีกทั้งในปัจจุบันนี้  สถานะทางสุขภาพของคนไทยได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบ และสาเหตุของปัญหาไปจากอดีตที่ผ่านมา เนื่องจากปัจจุบันสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพของคนไทยนั้น มีเพิ่มขึ้นมากมาย อาทิ สาเหตุทางด้านเศรษฐกิจ สภาพทางสังคม การศึกษา การเมือง สิ่งแวดล้อมทาง ธรรมชาติ พันธุกรรม จิตวิทยา วิถีการดำรงชีวิต  ความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและพฤติกรรมของคนในชุมชน ล้วนแต่เป็นสาเหตุที่เสี่ยงต่อการเป็น โรค ภัย ไข้ และเจ็บ เกิดโรคระบาด มีการกระจายของโรคใหม่ ๆที่ร้ายแรง ปัญหาสุขภาพจิต  ยาเสพติด  ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในปัจจุบันทั้งสิ้น และมีนักวิชาชีพและนักวิชาการทางด้านสาธารณสุขหลายท่าน กล่าวว่าปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นนั้นมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนแต่ละคน และการที่จะป้องกันปัญหา ควบคุมปัญหา รวมถึงลดความรุนแรงของปัญหา ได้เป็นอย่างดีนั้น ต้องใช้รูปแบบวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละคน

          การส่งเสริมสุขภาพ เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมต่างๆ หลายประการที่มีความเกี่ยวพันกับสุขภาพ (health- related behavior) ของบุคคล ครอบครัว ชุมชน และหน่วยงาน หรือองค์กรที่บุคคลนั้นมีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวอยู่  พฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาวะจะมีความเกี่ยวข้องกับรูปแบบและสภาพการณ์การดำรงชีวิต (condition of living) อันได้แก่ สภาพด้านที่อยู่อาศัย การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การทำงาน สิ่งแวดล้อมทั้งด้านธรรมชาติ ด้านสังคม รวมทั้งรูปแบบของวิถีการดำเนินชีวิต (life style) ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพที่เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยหรือการตายในปัจจุบันและในอนาคต  จะเห็นว่าพฤติกรรมเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับประชาชนทุกคน ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันมิให้ปัญหาทางสุขภาพต่างๆ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น เกิดขึ้นหรือเป็นปัญหาก่อให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น ก็คือวิธีการในการส่งเสริมสุขภาพให้แก่ประชาชนเพื่อให้ประชาชนสร้างเสริมสุขภาพด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องต่อเนื่องและเหมาะสมกับประชาชนแต่ละคน

References

Ottawa Charter for Health Promotion. Health Promotion International, Volume 1, Issue 4,
January 1, 1986, Pages 405

สถาบันการศึกษาและพัฒนาต่อเนื่องสิรินธร สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สำนักงาน
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.(2549). ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงานการศึกษานอกโรงเรียน.กรุงเทพฯ : สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-21