ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุของเด็กปฐมวัย ตำบลกระจัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
การเข้าถึงบริการสุขภาพ, การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค, เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรู้เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของผู้ปกครอง การรับรู้ผลดีผลเสียของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง และการเข้าถึงบริการด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของเด็กปฐมวัย และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้ปกครอง ความรู้เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของผู้ปกครอง การรับรู้ผลดีผลเสียของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง และการเข้าถึงบริการด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของเด็กปฐมวัยกับการได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ของเด็กปฐมวัย ตำบลกระจัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 216 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งความรู้เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของผู้ปกครองมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) KR-20 เท่ากับ 0.827 และการรับรู้ผลดีผลเสียของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง และการเข้าถึงบริการด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของเด็กปฐมวัยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha) เท่ากับ 0.810 และ 0.924 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองอยู่ในระดับปานกลาง การรับรู้ผลดีผลเสียของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองอยู่ในระดับสูง และการเข้าถึงบริการด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับสูง และพบว่าคุณลักษณะของผู้ปกครองด้านสถานภาพคู่/สมรส และการเข้าถึงบริการสุขภาพด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคทั้ง 5 ด้านมีอิทธิพลต่อการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุของเด็กปฐมวัยและสามารถพยากรณ์การได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุของเด็กปฐมวัยในภาพรวมได้ร้อยละ 88.41 สรุปได้ว่าการที่ผู้ปกครองมีสถานภาพสมรสคู่ และสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคได้ดีจะส่งผลให้การได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุของเด็กปฐมวัยสูงขึ้นด้วย
References
Bureau of Communicable Diseases. (2015). Vaccines and immunization textbooks, 2013. (3rd edition). Bangkok: Suan
Sunandha Rajabhat University.
Adokiya, M. N., Baguune, B., & Ndago, J. A. (2017). Evaluation of immunization coverage and its associated factors
among children 12-23 months of age in Techiman Municipality,
Ghana, 2016. Archives of public health, 75, 28. doi:10.1186/s13690-017-0196-6
Cao, L., Zheng, J.S., Cao, L.S., Cui, J., Duan, M.J. & Xiao, Q.Y. (2018). Factors influencing the
routine immunization status of children aged 2-3 years in China. PLoS ONE, 13(10), e0206566.
doi:10.1371/journal.pone.0206566
Department of Health. (2013). Parental School: 5 years old baby. Bangkok: Abby Graphic.
Jaidee, C. Santi, S. & Kongsaktrakul, C. (2012). Factors related to the prevention behaviors of acute respiratory tract
infections of caregivers in nurseries. Ramathibodi Hospital Bulletin, 18 (3), 389-403.
National Institute of Vaccines. (2011). National agenda on vaccines. Bangkok: Basic Gear.
National Institute of Vaccines. (2015). Workshop for immunization for health promotion and prevention personnel 2015.
Nonthaburi: Siri Wattana Interprinter
National Statistical Office. (2013) .Report of the situation of children and women in Thailand B.E. 2012. Bangkok:
National Statistical Office.
National Health Security Office. (2013). 10 things to know about health insurance rights. Bangkok: Office of Extension
NHSO participation.
Penchansky, R., & Thomas, W.J. (1981). The concept of access definition and relationship to consumer satisfaction.
Medical Care, 19(2), 127-140.
Pitipat, A., Phokphatphubate, S., Kamsipol, C. & RueangWoraboon, S. (2018). Associated factors with growth and
development promotion behaviors among caregivers of toddlers. Boromarajonani College of Nursing, Bangkok
Journal, 34 (3), 1-10.
Suphan Buri Provincial Health Office. (2016). Standard Report Group: Immunization. Searched on 10 September 2016,
from https://spb.hdc.moph.go.th/hdc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข