ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อทักษะภาษาอังกฤษด้านการฟัง การอ่าน และไวยากรณ์ ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • Sukhumaporn Sriwisit Sirindhorn College of Public Health,Trang

คำสำคัญ:

โปรแกรมการให้ความรู้, ทักษะภาษาอังกฤษ, เทคนิคเภสัชกรรม

บทคัดย่อ

          นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่สามารถนำภาษาอังกฤษมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยและเข้าใจในการฟัง การอ่าน และไวยากรณ์ รวมทั้งช่วยให้เกิดทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง จึงได้นำโปรแกรมการให้ความรู้มาพัฒนาศักยภาพภาษาอังกฤษ ด้านการฟัง การอ่าน และไวยากรณ์ของนักศึกษา

           การวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อทักษะภาษาอังกฤษด้านการฟัง การอ่าน และไวยากรณ์ ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม (ปวส. ส.ศ. ทภก.) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง (วสส. ตรัง) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 76 คน ประกอบด้วย นักศึกษาหลักสูตรเทคนิคเภสัชกรรม ชั้นปีที่ 1 จำนวน 44 คน และ ชั้นปีที่ 2 จำนวน 32 คน ปีการศึกษา 2560 วสส. ตรัง เก็บรวบรวมข้อมูล 5 สัปดาห์ โดยใช้เครื่องมือ 3 ชุด คือ 1) โปรแกรมการให้ความรู้ เรื่อง ทักษะภาษาอังกฤษด้านการฟัง การอ่าน และไวยากรณ์ 2) แบบทดสอบความรู้ และ 3) แบบสอบถามทัศนคติและพฤติกรรมด้านการฟัง การอ่าน และไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ (ค่าความเชื่อมั่น Cronbach's alpha เท่ากับ 0.86 และ 0.94 ตามลำดับ) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired Sample T-Test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 93.42 อายุเฉลี่ย 19.29 ปี นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 97.37 กำลังศึกษาชั้นปีที่ 1 ร้อยละ 57.90 เกรดเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษในปีการศึกษาสุดท้าย ระหว่าง 3.00-3.49 ร้อยละ 53.95 และรายได้เฉลี่ยของนักศึกษาต่อเดือน ต่ำกว่า 5,000 บาท และระหว่าง 5,001-7,500 บาท ร้อยละ 50.00 เท่ากัน ทัศนคติและพฤติกรรมด้านการฟัง การอ่าน และไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ในภาพรวม อยู่ในระดับดี (M=3.68, SD=0.28) และมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (M=3.16, SD=0.51) ความรู้หลังได้รับโปรแกรม (M=28.96, SD=5.72) สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (M=15.07, SD=2.99) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p<0.01) โปรแกรมการให้ความรู้ เรื่อง ทักษะภาษาอังกฤษด้านการฟัง การอ่าน และไวยากรณ์ ทำให้นักศึกษาหลักสูตร ปวส. ส.ศ. ทภก. มีความรู้ความเข้าใจ และประสบการณ์ด้านการฟัง การอ่าน และไวยากรณ์ เพิ่มขึ้น มีความพร้อมและมั่นใจในการสอบภาษาอังกฤษประจำปีของนักศึกษาให้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลักสูตร ปวส. ส.ศ. ทภก. ในปีการศึกษาถัดไป

References

Aksaranugraha, S. (1987). Teaching English. Bangkok: Faculty of Education, Chulalongkorn University. (in Thai)
Arunreung, A., Sangounpong, W. & Wichiranon, S. (2013). English Language Learning Styles of Liberal Arts Students, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. Bangkok: Rajamangala University of Technology Phra Nakhon.
Best, J.W. (1977). Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall Inc.
Bloom, B.S. (1968). Learning for Mastery. UCLA Evaluation Comment, 1(2), 1–8.
Bloom, B.S. (1976). Human Characteristics and School Learning. New York: McGraw-Hill.
Chanrit, Sukasem & Reaunnakarn. (2010). A Comparison of Listening and Speaking Skills and the Satisfaction in Learning English of Matayomsuksa 1 Students Taught with STAD Cooperative Learning Activities and Learning Activities from the Teacher’s Handbook. Lopburi: Thepsatri Rajabhat University. (in Thai)
Dechawongse, S. & Gomaratut, S. (2016). Learning Styles in Foreign Language of Under-graduate Students in Thailand. Journal of Educational Review Faculty of Education, 4(3), 49 – 62. (in Thai)
Hafiz, F.M. & Tudor, I. (1990). Graded Readers as an Input Medium in L2 Learning. System, 18(1),31-42.
Ministry of Education. (2008). Research and development of learning quality. Journal of Educational Measurement, 27(81), 1-11. (in Thai)
Praboromarajchanok Institute for Health Workforce Development. (2017). English proficiency test of students. Nonthaburi: Praboromarajchanok Institute, Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health. (in Thai)
Sa-ngiamwibool, A. (2005). Developing grammar-in-context model for EFL adult learners. Retrieved on May 25, 2018 from https://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/bitstream/123456789/1702/2/amporn_fulltext.pdf.
Shanahan, T. (2013). Grammar and Comprehension: Scaffolding Student Interpretation of Complex Sentences. Retrieved on May 25, 2018 from https://www.shanahanonliteracy.com/2013/12/grammar-and-comprehension-scaffolding.html.
Sittichai, R. & Tudkuea, T. (2017). An Investigation of English Learning and Teaching Behavior of Schools under Christian Foundation in Three Southern Border Provinces. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 4(2), 26 – 37. (in Thai)
Surasith, N. (2004). English Grammar: Perfect English Grammar. Bangkok: October Printing. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-29