ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, นักเรียนมัธยมศึกษา, จังหวัดชัยภูมิบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 1,119 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 349 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือน มิถุนายน ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลสำเร็จรูป แจกแจงข้อมูลด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสมการการถดถอยพหุโลจิสติก พร้อมช่วงเชื่อมั่น (95%CI)
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 65.90 มีอายุเฉลี่ย16.48 ปี ส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่บ้านบิดา มารดา ร้อยละ 78.51 รายได้ของครอบครัวต่อเดือนเฉลี่ย 22,457.02 (SD =19,852.72) บาท รายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครองต่อเดือนเฉลี่ย 2,584.728 ± 1,446.80 บาท ความชุกของการดื่มแอลกอฮอล์อยู่ที่ร้อยละ 58.45 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ ปัจจัยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ORAdjusted=2.89 ; 95 % CI: 1.68 to 4.98 ; p-value <0.001) และปัจจัยรายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน 10,000 บาทขึ้นไป (ORAdjusted=1.99 ; 95 % CI: 1.15 to 3.48 ; p-value <0.001) ข้อเสนอแนะ ควรมีการจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อการลดความชุกของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายอย่างต่อเนื่อง และให้ความรู้ในกลุ่มนักเรียนที่พบว่ายังมีความรู้ไม่ถูกต้องในเรื่องการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
References
Kankrung, J. et al (2014). Effects of using health promotion program in diabetic patients on health literacy and health behaviors as 3Or2Sor of diabetic patients in City Community Health Center, Ban Pong Hospital. Department of Statistics, Faculty of Commerce and Accountancy, Chulalongkorn University.
Organization Network Abstaining from Alcohol. (2010). Problems of alcohol drinking. Retrieved on September, 10 2017 from https://www.doctor.or.th/clinic/detail/7979
Khawinwit, P. (2011). Factors relating to alcohol consumption of undergraduate students, Srinakharinwirot University. Master of Economics School of Economics of Management, Srinakharinwirot University.
Tanthawanit, P. & Chindasree, P. (2018). The true meaning of IOC values. Faculty of Education Mahasarakham University, year 24, issue 2. (In Thai)
Buasorn, R. & Ratchadapannathikun, C. (2012). Alcohol consumption behavior of undergraduate students in Bangkok. Faculty of Social Sciences and Human Sciences, Mahidol University.
Kunthiya, W. (2014) Factors related to alcohol consumption of male vocational students, Chainat Province. Mater Thesis in Nursing Science, Major Program in Community Nurse Practice, Faculty of Nursing, Burapa university. (In Thai)
Bangkok Health Research Center affiliated companies of Bangkok Dusit Medical Services (2014). Alcohol consumption problems. Retrieved 5 September 2017 from https://www.bangkokhealth.com
Chaisong, S., Phakdisethakul, K., Thammarangsi, T. (2017). Report on alcohol consumption in each province in 2011. The Alcohol Research Center. The Graphic System Limited. (In Thai)
Chansaeng, S. et al. (2018). Factors related to alcohol drinking behavior of secondary school students at the school in Nonthaburi Province. Journal of Community Health Development, Khon Kaen University, 6 (2). (In Thai)
National Statistical Office. (2007). Survey results of smoking and drinking behavior by the National Statistical Office. Retrieved 10 September 2017 from https://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/ Survey / Social / Health / Smoking and Drinking Behavior .aspx
Phrommin, O. (2016). Situation and factors related to alcohol drinking problems of working men in the industrial area, Khon Kaen Province. Independent Study, Bachelor of Public Health Public Health Management Program, Khonkaen University.
Hsieh, Bloch & Larson (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 8, 1623-1634.
World Health Organization. (2014). Alcohol consumption in ASEAN. Geneva: WHO.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข