ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความวิตกกังวลในการรักษาทางทันตกรรมของกลุ่มวัยทำงานอายุ 35 - 44 ปี ในเขตความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • Thiti Nurat
  • Ubontip Chaisang 0894636605
  • Kowrawich Chiravanich
  • Lertluck Ruangthong

คำสำคัญ:

ความวิตกกังวล, การรักษาทางทันตกรรม, วัยทำงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (A cross - sectional study) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความวิตกกังวล และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความวิตกกังวลในการรักษาทางทันตกรรมของกลุ่มวัยทำงานอายุ 35 - 44 ปี จำนวน 206 คน ในเขตความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาณ คือ Chi – Square, Fisher’s Exact Test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

            ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.2 มีอายุ 40 – 44 ปี ร้อยละ 52.4 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 48.1 รายได้ต่อเดือน 5,001 - 10,000 บาท เคยรักษาทางทันตกรรม ร้อยละ 76.2 มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 43.2   มีปัจจัยเอื้อเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในสถานบริการทางทันตกรรม และผู้ให้การรักษาทางทันตกรรม อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 57.3  มีปัจจัยเสริมด้าน การสนับสนุนทางครอบครัวหรือบุคคลรอบข้าง และการได้รับคำแนะนำจากบุคลากรสาธารณสุข อยู่ในระดับเข้าถึงง่าย ร้อยละ 52.9 และมีความวิตกกังวลในการรักษาทางทันตกรรม อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 54.4  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลในการรักษาทางทันตกรรมพบว่า คือ รายได้ ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก สภาพแวดล้อมในสถานบริการทางทันตกรรม ผู้ให้การรักษาทางทันตกรรม การสนับสนุนทางครอบครัวหรือบุคคลรอบข้าง และการได้รับคำแนะนำจากบุคลากรสาธารณสุข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

Anuwann, P. and Sukawettsiri, P. (2014). Factors related to anxiety of receiving medical services
among undergraduate dentistry of students. (Master thesis, Maha Sarakham University). (In Thai)
Bureau of Dental Public Health, Department of Health. (2013). Report of the 7th National Oral
Health Survey in Thailand 2012, Bangkok: Veterans Welfare Organization. (In Thai)
Distiyabut, S. (2009). Mental Health and Psychiatric Nursing. 4th edition, Sisaket: Chalerm
Kanchana College. (In Thai)
Faculty of Dentistry Prince of Songkla University (2015). Report of the survey of oral health conditions of people in Khuha Tai Subdistrict, Rattaphum District, Songkhla Province. Songkhla: Prince of Songkla University. (In Thai)
Kanchanawong, S. (2010). Health psychology. 2nd edition, Nakhon Pathom: Mahamakut Buddhist
College Foundation Printing House. (In Thai)
Laokuldilok, T. (2010). Anxiety towards dental care services and dental health conditions and
related factors of junior high school students at Ban Kad Witthayakhom School, Mae Wang District, Chiang Mai Province. (Master thesis, Chiang Mai University). (In Thai)
Pitiphat, W. (2009). Fear of dental treatment in adolescents aged 15 years in Mueang District,
Khon Kaen Province. Bangkok: Science and technology public infrastructure database, Ministry of Science and Technology. (In Thai)
Praphapong, C. (2010). Anxiety in dental treatment among rural adult groups aged 35-44 years,
Sirindhorn District, Ubon Ratchathani Province. (Master thesis, Khon Kaen University).
Satayatham, C. (2013). Psychiatric and Mental Health Nursing. 1st edition Nonthaburi: Office of
the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. (In Thai)
Saksophit, S. (2013). Results of structured information on anxiety of upper and lower
gastrointestinal endoscopy patients in the period before endoscopy at Thammasat University Hospital. Thammasat University Hospital. (In Thai)
Tokani, N. 2012. Relationship between lifestyle and oral health conditions of students in Islamic
private schools, Rueso District, Narathiwat Province (Master thesis, Prince of Songkla University). (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-06