ผลการสำรวจความตระหนักรู้ของประชาชนเรื่องโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่เสี่ยง จังหวัดตรัง พัทลุง สงขลา

ผู้แต่ง

  • หทัยทิพย์ จุทอง The office of prevention and control 12 songkhla
  • วาสนา ยกสกูล

คำสำคัญ:

โรคพิษสุนัขบ้า  ความรู้ของประชาชน  พื้นที่เสี่ยง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความรู้ และการปฏิบัติตนในการควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชน    วิธีการศึกษา  สัมภาษณ์ประชากรในตำบลที่พบหัวสัตว์ที่ตรวจพบเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ามากกว่าหรือเท่ากับ 2 หัว  หมู่บ้านละ  10  คน จำนวน  27  หมู่บ้าน  สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง   เดือนเมษายน 2561  ผลการศึกษา: พบว่า สามารถสอบถามข้อมูลได้จำนวน 310 คน ประชาชนได้รับทราบข้อมูลคนเสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าและ ช่องทางที่ได้รับทราบมากที่สุดคือโทรทัศน์ / เฟสบุ๊ค  เมื่อถูกสุนัขกัด/แมวกัด/ข่วนไปรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่สถานบริการสาธารณสุข  คิดว่าเมื่อถูกสุนัขเลีย สัมผัสน้ำลายหรือเลือดสัตว์ โดยผิวหนังไม่มีแผลหรือรอยถลอกทำให้ติดโรคพิษสุนัขบ้าได้ คิดว่าการล้างแผลด้วยน้ำสะอาดฟอกสบู่หลายๆครั้งและทายาเบต้าดีน  ไม่ช่วยลดปริมาณเชื้อที่แผล  คิดว่าโรคพิษสุนัขบ้าสามารถรักษาให้หายได้  เมื่อถูกสุนัขไม่ทราบประวัติ ข่วนที่ผิวหนังเป็นรอยถลอกโดยไม่มีเลือดออกไม่ต้องไปพบแพทย์  ไม่รู้ว่าเมื่อเป็นเจ้าของสุนัขและแมวไม่พาสัตว์ไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจะได้รับโทษ  สุนัขไม่มีเจ้าของสร้างปัญหาแต่ไม่ต้องการกำจัดสุนัขไม่มีเจ้าของ  เหตุผลในการไม่พาสัตว์ไปฉีดวัคซีนสุนัขเพราะจับไม่ได้สรุปและวิจารณ์ผล: การให้ความรู้เรื่องโรคและกฎหมายที่เกี่ยวข้องแก่ประชาชนโดยอาศัยความร่วมมือจากผู้นำชุมชนและผู้นำศาสนาจะเป็นทิศทางสำคัญในการวางแผนควบคุม ป้องกัน โรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ต่อไป

คำสำคัญ  โรคพิษสุนัขบ้า  ความรู้ของประชาชน  พื้นที่เสี่ยง

References

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. โรคพิษสุนัขบ้า (ออนไลน์). 2561 [เข้าถึงวันที่ 9 พ.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก
http://www.ku.ac.th/e–magazine/april48/know/rabies.html
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง 506 [ออนไลน์]. ). 2561
[เข้าถึงวันที่ 9 พ.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก
http://www.boe.moph.go.t/boedb/surdata/506wk/y58/d42_3158.pdf
ธีรพงศ์ ยืนยงโอฬาร. ระบาดวิทยาโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ของประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2549–2554
[ออนไลน์]. 2555[เข้าถึงวันที่ 9 พ.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก http://dcontrol.
อรพิรุฬห์ สการะเศรณี และคณะ การสำรวจความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติ จากการสอบสวนกรณีผู้เสียชีวิต
ด้วยโรคพิษสุนัขบ้า จังหวัดจันทบุรี ปี 2558 OSIR, September 2017, Volume 10, Issue 3, p.1-8 15
พ.ค 2561

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-26