รพ.สต.ติดดาว : ภาระหรือโอกาสการพัฒนางานเภสัชกรรมปฐมภูมิในชุมชน
คำสำคัญ:
งานบริการเภสัชกรรม, หน่วยบริการปฐมภูมิ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, งานคุ้มครองผู้บริโภค, งานเภสัชกรรมปฐมภูมิบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ ด้านงานเภสัชกรรม การใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU) และด้านคุ้มครองผู้บริโภค ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้เกณฑ์รพ.สต.ติดดาวปี 2561 ของกระทรวงสาธารณสุข รวบรวมข้อมูลจากรพ.สต.ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ 61 แห่ง และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณา
ผลการประเมิน พบว่าภาพรวมงานเภสัชกรรมและ RDU ในรพ.สต.ได้คะแนนเฉลี่ย 61.75 จากคะแนนเต็ม 80 คะแนน (ร้อยละ 77.18) โดยภาพรวมพบว่าประเด็นที่เป็นจุดแข็งของรพ.สต.ส่วนใหญ่คือ การจัดเก็บยาเหมาะสม และมีจุดอ่อนในการประเด็นการควบคุมและการเบิกจ่ายเวชภัณฑ์ สำหรับภาพรวมด้านงานคุ้มครองผู้บริโภค รพ.สต.ได้คะแนนเฉลี่ย 26.33 จากคะแนนเต็ม 35 คะแนน (ร้อยละ 75.23) โดยประเด็นที่เป็นจุดแข็งของรพ.สต.ส่วนใหญ่ คือ การจัดการฐานข้อมูล และมีจุดอ่อนในประเด็นของบุคลากร เกณฑ์รพ.สต.ติดดาว นับเป็นโอกาสที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีของการพัฒนางานเภสัชกรรมปฐมภูมิในชุมชน และควรมีการดำเนินการต่อเนื่องโดยเน้นกระบวนการบูรณาการทำงานทั้งในหน่วยบริการและเครือข่ายในชุมชนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความยั่งยืนของงานเภสัชกรรมปฐมภูมิต่อไปเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความยั่งยืนต่อไป
References
Chutima wanthong, Surasit Lochid-amnuay. (2017). Opinion of physicians and nurses
Toward the roles of pharmacists in primary health care. Thai journal of Pharmacy
Practice, 9(1), 118-128. (In Thai)
Daruwan Klangsri, Rattnaporn Awiphan, Puckwipa Suwannaprom. (2013). Participation of
Primary Health Care Personnel in the development process of drug dispensing and
counseling service. Thai journal of Pharmacy Practice, 5(2), 91-107 (In Thai)
Kanyada anuwong, somying pumthong and Patcharee duangjan. (2010). Effectiveness of
network participation in promoting rational use of Antibiotics (Research report).
Nakorn Nayok : Srinakarinwirot university. (In Thai)
Natthapong Phattanapong. (2018). Performance and management factor effecting
pharmacy service under the standard of Health promoting hospital star in health
promoting hospital in Phatthalung. SOUTHERN REGIONAL PRIMARY HEALTH CARE
JOURNAL, 32, 69-80. (In Thai)
Niyada Kiatying-angsuli. (2019). Drug use. In, Workshop report of drug system in Thailand
(No.3) (In Thai)
Punchanat Mateapiruk. (2017). The Analyze the Performance in Accordance with the
Pharmaceutical Standards in Primary Care Unit (PCU), Songkhla Province. The
Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(1),153-170.(In Thai)
Ratchanit Patchakit Nedsuwan, Chidchanok Ruengorn. (2018). Agreement between self-
assessment and assessment by pharmacists according to the criteria for starred
sub- district health promoting hospitals in pharmacy and health consumer
protection in Chiangrai province. Thai journal of Pharmacy Practice, 11(2), 318-332.
(In Thai)
Somying Phumthong. (2017). Report of drug safety in community 2017. (In Thai)
Somying Phumthong. (2018). Report of drug safety in community 2018. (In Thai)
Strategy and Planning division, Ministry of public Health. (2017). A manual on development
of quality criteria for sub-district health promoting hospitals in the year 2017. (In
Thai)
Viroj Tangcharoensathien,Krisada Sawaengdee, Benjaporn Rajataram, Kamolnat Muangyim ,
Atiya Sarakshetrin, Rungnapa Chantra Viriya , …….., Suthanan Kunlaka. (2016). A Study
of Work load and productivity among health personnel in District Health Promotion
Hospital. Bangkok : Health Systems Research Institute. (In Thai)
Working group of developing manual on primary care pharmacy in starred subdistrict
hospital in Suratthani. (2018). A manual on primary care pharmacy in starred
subdistrict hospital in Suratthani. (In Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข