ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของนักเรียนนายสิบตำรวจศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 9
คำสำคัญ:
โรคไข้เลือดออก, ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก, พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของนักเรียนนายสิบตำรวจ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 9 เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 285 คนในช่วงเดือน ตุลาคม 2562 สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ด้านความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก และด้านพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกเท่ากับ .83 และ.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ด้านความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกภาพรวมอยู่ในระดับดีมากข้อที่ตอบถูกมากที่สุดคือข้อที่ 7 การคว่ำ เผา ฝังภาชนะต่าง เช่น ไหแตก กระป๋องน้ำอัดลม ยางรถยนต์เก่า ช่วยกำจัดลูกน้ำยุงลาย ร้อยละ96.14รองลงมาข้อ 9 ภาชนะถังน้ำหรือโอ่งน้ำ ที่ใช้รองน้ำไว้ใช้ต้องปิดฝาให้สนิท ร้อยละ 95.79 และข้อที่ตอบถูกน้อยสุดคือ ข้อ 3 โดยทั่วไปยุงลายจะออกหากินกัดคนในเวลากลางวัน ร้อยละ 46.32 ด้านพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกภาพรวมอยู่ในระดับดี ข้อที่ทำเป็นประจำที่สุดคือ 1 ท่านทำความสะอาดบริเวณกองร้อย จัดเก็บสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นประจำ ร้อยละ 87.37 และความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกมีความสัมพันธ์กันกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกในทางบวก อยู่ในระดับน้อย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กุนนิดา ยารวง. (2555). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคของประชาชนในตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพะเยา.
จรณิต แก้วกังวาน , จิระพัฒน์ เกตุแก้ว, และ ธีราวดี กอพยัคฆินทร์. (2558). ระบาดวิทยา ใน สุภาวดี พวงสมบัติ (บรรณาธิการ). คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกี่และไข้เลือดออกเดงกี่ด้านการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
จิรภัทร เริ่มศรี และ นันธารา ธุรารัตน์. (2560). ผลกระทบจากการการใช้สื่อสังคมของวัยรุ่น. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 3(1), 11-20
ชนิดา มัททวางกูร, ปรียานุช พลอยแก้ว, อโนทัย ถวัลย์เสรีวัฒนา, อัมพร สิทธิจาด, และ ธำรง น้อยสิริวัฒนา. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสายสี่ จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 18(34), 34-48
ชลิต เกตุแสง. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมพาหะนำโรคไข้เลือดออกของประชาชน อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 2(1), 24-36
ชาญชุติ จรรยาสัณห์, ศักดิ์ชัย สามเตี้ย, ดุสิต สุจิรารัตน์, และ โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์. (2554). การมีส่วนร่วมในยุทธวิธีที่เป็นประโยชน์ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชากรตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสาธารณสุข ฉบับพิเศษ ,64-75
ธีรภาพ เจริญวิริยภาพ , ชำนาญ อภิวัฒนศร และ ศิริพร ยงชัยตระกูล. ( 2558). มาตรการทางกายภาพและชีวภาพในการควบคุม ยุงพาหะนำโรคไข้เลือดออก ใน สุภาวดี พวงสมบัติ (บรรณาธิการ). คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกี่และไข้เลือดออกเดงกี่ด้านการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
ปุณณพัฒน์ ไชยเมล์ และ เสาวนีย์ สังข์แก้ว. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน ตำบลแหลมโตนด อำเภอ ควนขนุน จังหวัดพัทลุง.วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 9(1), 51-61
ผ่องศรี พูลทรัพย์, รัชนี ครองระวะ, ภิรมย์ ลี้สุวรรณ, และ บรรณฑวรรณ หิรัญเคราะห์. (2558). การพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โดยการส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมตามสภาพจริง รพ.สต.ท่าผา อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(2), 206-218
พารุณี วงษ์ศรี และทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล. (2561). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีของโอเร็มกับการดูแลและการให้คำแนะนำผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว. วารสารพยาบาลตำรวจ, 10(1), 209-219
พีระ สมบัติดี. (2558). ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก Dengue Fever (DF), Dengue Hemorrhagic Fever (DHF). ขอนแก่น: หน่วยงานส่งเสริมสุขภาพ งานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลศรีนครินทร์
ภิรมย์รัตน์ เกียรติธนบดี, วิโรจน์ ไววานิชกิจ และ จเด็ด ดียิ่ง. (2558). พฤติกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกของภาคีเครือข่ายสุขภาพในอำเภอ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 10(2), 84-91
วลัยนารี พรมลา, ณิชชาภัทร ธนศิริรักษ์, และ อัปสร ชานวิทิตกุล. (2560). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ในการควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 3(2), 85-93
วัชระ กันทะโย. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตตำบลท่าเดื่อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร, 9(2), 63-79
วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). หลักการสร้างและวิเคราะห์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ, และ สุภาวดี พวงสมบัติ. (2558). คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกี่และไข้เลือดออกเดงกี่ด้านการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2561). สถานการณ์ไข้เลือดออก ประจำสัปดาห์ที่ 10 ปี2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม2562 จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor/6f4922f4556816 1a8cdf4ad2299f6d23/files/Dangue/Situation/2562/DHF%2010.pdf
อรุณรัตน์ สารวิโรจน์. (2553). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อัจฉรา จั่นเพ็ชร์ และ วราภรณ์ ศิวดำรงพงศ์. (2552). ความรู้ การรับรู้และการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันไข้เลือดออกประชาชนในเขตเทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.
Hanucharornkul, S. (2001). Self-care and Orem’s theory. In S. Hanucharornkul(Ed.), Nursing: Science of practice (2nd ed.). Bangkok: V.J. Printing.
Orem, D. E., Taylor, S. G., &Renpenning, K. M. (2001). Nursing: Concepts of practice (6th ed.). St. Louis: Mosby.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข