การพัฒนาโปรแกรมเพิ่มสมรรถภาพการยกกระดานสำหรับนักศึกษาการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ธนิษฐา ขุมเพ็ชร
  • ปิยวรรณ วนิกุล
  • อำพล บุญเพียร
  • นัฐพล แก้วพรม

คำสำคัญ:

สมรรถภาพ, การยกกระดาน, นักศึกษาแพทย์แผนไทย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมเพิ่มสมรรถภาพการยกกระดาน 2) เปรียบเทียบสมรรถภาพการยกกระดานก่อนและหลังการใช้โปรแกรม และ 3) ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรม เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ นักศึกษา จำนวน 38 คน และอาจารย์ผู้สอนรายวิชานวดไทย จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แนวทางสนทนากลุ่ม โปรแกรมเพิ่มสมรรถภาพการยกกระดาน แบบประเมินคุณภาพของโปรแกรม แบบบันทึกสมรรถภาพ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Validity) สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที

ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาจากสรีระร่างกาย น้ำหนักตัว นิ้วมือที่ผิดรูป กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง ทำให้ยกกระดานได้ไม่นาน จึงได้ออกแบบโปรแกรมเพิ่มสมรรถภาพการยกกระดาน จำนวน 15 ท่า โดยฝึกครั้งละ 30-45 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ พบว่า ค่าเฉลี่ยระยะเวลาในการยกกระดาน และเวลาที่สรีระเริ่มสั่นหลังการทดลองเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  โปรแกรมเพิ่มสมรรถภาพการยกกระดานเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับนักศึกษาการแพทย์แผน ไทยที่ยกกระดานได้ระยะเวลาที่ต่ำกว่าเกณฑ์ และที่ต้องการเปลี่ยนวิธีการฝึกปฏิบัติจากรูปแบบเดิม 

 

References

Yumthiang, P., Sarakrai, P., Homdok, V. (2016). The Development of Weight Training Program for Abdominal and Lower Extremity Muscle’ Strength in Male Football Players in Sport and Health Science Football Team Institute of Physical Education Phetchabun. Phetchabun Rajabhat Journal, 18(1): 61-66. (In Thai)

Sakunchit, P., Khamwong, P. (2016). Effect of circuit training on agility, muscular endurance and strength of table tennis players. Journal of Graduate Research, 7(1): 116-124. . (In Thai)

Phaekuntod, S. (2019). Thai traditional medicine, Kanchanabhishek Institute of Medical and Public Health Technology Nonthaburi province [interview]. . (In Thai)

Buranasubpasit, S., Suphawibul, M., Silalertdetkul, S. (2012). Effects of Core Muscles Training on Strength and Balance of the Elderly. Journal of faculty of physical education, 15(2): 119-131. . (In Thai)

Mahaniyom, S. (2012). Effects of Weight Training on Physical Fitness and Body Composition of Kasetsart University Students Kamphaeng Saen Campus Who are enrolled in weight training courses 837,839 and 850. (master’s thesis). Kasetsart University. (In Thai)

Sriudom, S., Prapakittirat, W. (2015). The effects of Aerobic exercise program for belly fat older people at Nanglue Subdistrict Municipality, Muang District in Chainat Province. Proceeding of 15th national and international conference Interdisciplinary research for local development sustainability (pp. 1573-1586). Pathumthani: Pathumthani University. (In Thai)

Naubon, A., Thammasaovapaak, S. (2011). The effects of using at-hand materials tsupplement applied Weight training program on khon kaen university male Students’ rectus abdominal muscular strength. Journal of Education Graduate Studies Research, 5(4): 138-142. . (In Thai)

Laohapand, T., Jaturatumrong, A. (2014). Finger strength training, Bangkok: Supawanit printing. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-21