การประเมินผลโครงการสมาร์ทเบรนแอนด์เฮล ครั้งที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2562

ผู้แต่ง

  • กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ธนปนันท์ อัครวีรวัฒน์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • เสาวลักษณ์ คงสนิท วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

บทคัดย่อ

การวิจัยประเมินผลโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต ของโครงการสมาร์ทเบรนแอนด์เฮล ครั้งที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2562 โดยใช้แนวคิดการประเมิน CIPP model ของสตัฟเฟิลบีม  กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาจำนวน 498 คน และอาจารย์จำนวน 138 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่เก็บรวบรวมข้อมูลผ่านออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ One sample t-test

            ผลการประเมินภาพรวมโดยนักศึกษาทุกด้านอยู่ในระดับสูง คือ การประเมินบริบทของโครงการฯ ได้แก่ ความต้องการจำเป็นเพื่อกำหนดโครงการฯ (± S.D. = 4.28 ± 0.75) การประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการฯ ได้แก่ ทรัพยากรที่จำเป็นที่จะนำมาใช้ในการดำเนินโครงการว่ามีความเป็นไปได้  (± S.D. = 4.09 ± 0.78) การประเมินด้านกระบวนการของโครงการฯ ได้แก่ กระบวนการบริหารโครงการฯ (± S.D. = 4.12 ± 0.80) การประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมของโครงการฯ ของเจ้าภาพ (± S.D. = 4.16 ± 0.76) การประเมินผลผลิต ของโครงการฯ (± S.D. = 4.25 ± 0.73) ผลการประเมินภาพรวมโดยอาจารย์ทุกด้านอยู่ในระดับสูงมาก ได้แก่ การประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการฯ (± S.D. = 4.65 ± 0.46)  การประเมินด้านกระบวนการของโครงการฯ (± S.D. = 4.51±0.6) การประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมโครงการฯ ของเจ้าภาพ (± S.D. = 4.58 ± 0.47) และการประเมินผลผลิตของโครงการฯ (± S.D. = 4.65 ± 0.48) และเมื่อเปรียบเทียบผลผลิตของโครงการฯ กับเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของโครงการฯ (คะแนนเฉลี่ยมากกว่า 3.51) พบว่า คะแนนเฉลี่ยผลผลิตทุกด้านที่ประเมินโดยนักศึกษาและอาจารย์สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.001 ดังนั้นโครงการสมาร์ทเบรนแอนด์เฮล ครั้งที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2562  บรรลุความสำเร็จในการพัฒนานักศึกษา 5 ด้าน คือ การส่งเสริมด้านวิชาการ การส่งเสริมด้านสุขภาพ การส่งเสริมด้านศิลปะและวัฒนธรรม การพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิต และการส่งเสริมด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

References

Chaosuansreecharoen, K.R., Akharawirawat, T. & Heetpaow, C. (2016). The Study of Overall
Operation of the 23rd Health Promotion, Academic Development, and Arts and
Culture Exchange Festival Project, Southern College Network of Nursing and Public
Health, Princess of Naradhiwas University Journal, 8(2), pp. 66-78. (in Thai)
Inyai, C. (2012). Program evaluation (2nd ed). Bangkok: Chulalongkorn University Publishing. (in
Thai)
Kanjanawasee, S. (2007). Theory of Evaluation (7th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University
Publishing. (in Thai)
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.
Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
Pitiyanuwat, S. (2006). Research and Evaluation: Value Sciences (4th ed.). Bangkok:
Chulalongkorn University Publishing. (in Thai)
Praboromarajchanok Institute Act B.E. 2562. (2019). No. 136 Chapter 43 Kor Government
Gazette 5 May 2019. (in Thai)
Praboromarajchanok Institute. (2019). Handbook of Quality Insurance, Praboromarajchanok
Institute, 2019. Nonthaburi: Praboromarajchanok Institute. (in Thai)
Prasitratasin, S. (2011). Program Evaluation: Principal and Apply. Bangkok: Liangchiang
Publishing. (in Thai)
Promjouy, S. (2007). Technique of Program Evaluation (6th ed.). Nonthaburi: Jatuporn Design. (in
Thai)
Srisa-ard, B. (2013). Preliminary research (9th ed.). Bangkok: Suriyasran. (in Thai)
Stufflebeam, D.L. (2003). The CIPP Model for Evaluation. Annual Conference of the Oregon
Program Evaluation Network (OPEN), Portland, Oregon.
Vibulsri, S.Y. (2006). Program Evaluation: Concepts and Practices (6th ed.). Bangkok:
Chulalongkorn University Publishing. (in Thai)
Wongwanic, S. (2007). Research on an Evaluation of Need Assessment. Bangkok: Chulalongkorn
University Publishing. (in Thai)
Worthen,B. R., et.al. (1997). Program Evaluation: Alternative Approaches and Practical
Guidelines. (2nd ed.). New York: Longman Publishers.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row
Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-29