A การจัดการอย่างมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของวิทยาลัย การสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ประเสริฐ อัตโตหิ
  • กมลนัทธ์ ม่วงยิ้ม
  • วรยุทธ นาคอ้าย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • เดชา วรรณพาหุล
  • สุรัสวดี สินวัต

คำสำคัญ:

กระบวนการพัฒนา, การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม, การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, ผู้สูงอายุ, การบริการที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์จิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี ดำเนินการวิจัยโดยใช้แนวคิดกระบวนการพัฒนาของ Deming เป็นฐานสำหรับการพัฒนา กลุ่มผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยแบ่งเป็น 3 กลุ่มได้แก่ นักวิจัย นักพัฒนาและ กลุ่มเป้าหมาย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการทางการวิจัยเชิงคุณภาพผสมผสานหลายเทคนิค วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อหาข้อสรุป  

ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอย่างมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์จิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย 5 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การบูรณาการการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิต ระยะที่ 2 การกำหนดแนวทางและรูปแบบการเรียนการสอนอย่างมีส่วนร่วม ระยที่ 3 การสร้างความร่วมมือกับเครือข่าย ระยะที่ 4 การสร้างกระบวนการเรียนรู้ในผู้สูงอายุ และระยะที่ 5การสร้างความเข้มแข็งเครือข่าย

การวิจัยนี้มีผลทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ ฝึกทักษะ มีประสบการณ์ตรงตลอดจนการสร้างทัศนคติที่ดีต่อการหล่อหลอมให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ และเสริมสร้างอัตลักษณ์จิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

References

Attohi P., Ayamuang P., Pratumyam P., Yovatit J., Thimkorn T., Prasertkul J. A Participatory Management Education Model through Simulated Family System to Develop Humanized Health Care Identity. Nursing Journal of the Ministry of Public Health. vol28 No1 139-151. (in Thai)
Deming, W. Edwards (1986). W. Edwards Deming. Retrieved April,13, 2020 from http://www.agileleanhouse.com/lib/AgileLeanLibrary/People/WEdwardsDeming/WikipediaDeming.pdf
Inwat J., Bandasak T., Jankasem N. (2017). A paradigm in humanized health care :Lessen learnt from Silatham camp. Saraburu. Boromarajonani College of Nursing, Praputthabath. (in Thai)
Janthajohn S. (2014). A qualitative research in culture (practice). Mahasarakam: Faculty of cultural Science Mahasarakam University. (in Thai)
Jutharasaka M., Jutharasaka A. (2016). Reflective thinking: system thinking process creative by 3 baskets. 2nd editions. Bangkok: Denex inter cooperation. (in Thai)
Nak-ai W., Jiawiwatkul U.,Temsirikulchia L. and Nontapattamadul K. (2017). Community public policy process for solving cadmium contamination problems in the environment: A case study of Mae Sod district, Tak province. Kasetsart Journal of Social Sciences. vol.39:59-66
Ornstein, A., &Hunkins, F. 2009. Curriculum Design. InCurriculum: Foundations, Principles and issues (5th ed.)pp. Boston, MA: Pearson/Allyn and Bacon.
Panich V. (2012). The way to create learning for student in 21st century. Bangkok: Sodsri Sarithwong foundation. (in Thai)
Panich V. (2013). Transformative learning. Bangkok: SR printing production. (in Thai)
Praboromarajchanok Institute. (2013). Graduate identity of Praboromarajchanok Institute. Bangkok: Jaransanithwong print. (in Thai)
Rapeepath A., (1993). A community study and analysis in qualitative research in Dulayakasem U. editor. Handout of qualitative research for development. Khon Kean: the institute of research and development Khon Kean University. (in Thai)
Sansean D., MACRO: Learning management model in 21st century. Retrieved May 28, 2020. from https://regis.dusit.ac.th (in Thai)
Seansook J., Somtua N., Watthananont W., Janda S., (2562). The effected of education management by integrated virtual family system to the permanency of humanized health care identity in nursing student. Boromarajonani College of Nursing, Khon Kaen. (in Thai)
Sirindhorn college of Public Health Chonburi. College’s history. Retrieved June 8, 2020. from
http://www.scphc.ac.th/?page_id=61 (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-17