การพยาบาลผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูกที่มีภาวะช็อกจากการเสียเลือด
คำสำคัญ:
ตั้งครรภ์นอกมดลูก, ช็อกจากการเสียเลือดบทคัดย่อ
ภาวะช็อกจากการเสียเลือดในผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูกเป็นภาวะฉุกเฉินทางสูติ-นรีเวช เป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากที่สุดของการตั้งครรภ์ไตรมาสแรก ความถูกต้องแม่นยำของการประเมินภาวะช็อกที่ห้องฉุกฉิน ส่งผลให้การรักษาพยาบาลทันเวลา วัตถุประสงค์การศึกษานี้เพื่อศึกษาการดำเนินของโรค การวินิจฉัย การรักษาพยาบาลและผลลัพธ์ในผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูกที่มีภาวะช็อกจากการเสียเลือด
กรณีศึกษา: หญิงไทย 38 ปี (G4P2, GA 8 weeks) มาโรงพยาบาลด้วยปวดท้องน้อย ถ่ายเหลว หน้ามืด ผลการประเมินสัญญาณชีพที่ห้องฉุกเฉินพบภาวะช็อก ได้รับการแก้ไขโดยให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ 5 ชั่วโมงต่อมาปวดท้องน้อยมากขึ้น ท้องอืดเกร็ง ผลตรวจปัสสาวะและอัลตราซาวด์พบมีการตั้งครรภ์และมีของเหลวในช่องท้อง วินิจฉัยเป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูกมีท่อนำไข่แตกและภาวะช็อกจากการเสียเลือด ได้รับการผ่าตัดท่อนำไข่และรังไข่ขวาออกอย่างเร่งด่วน รวมเวลารักษาในโรงพยาบาล 4 วัน ปัญหาสุขภาพที่สำคัญคือ มีภาวะช็อกจากการเสียเลือดในช่องท้อง ปวดแผลผ่าตัดและความวิตกกังวลที่สูญเสียบุตร
สรุป การพยาบาลผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูกที่มีภาวะช็อกจากเสียเลือด มีความสำคัญและซับซ้อนในทางการพยาบาล ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลที่มีคุณภาพแบบองค์รวมและต่อเนื่องจากทีมสหสาขาวิชาชีพ จึงจะทำให้ปลอดภัยจากภาวะวิกฤตและหายจากโรคในเวลาที่เหมาะสม เพื่อนำไปเป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ
References
Ali, S.K., Ali, A.A., & Soomar, S.M. (2019). Diagnosis and management of ectopic pregnancy-A
basic view through literature. Critical Care Obstetrics and Gynecology, 5(2).
Retrieved from DOI: 10.21767/2471-9803.1000174.
Boonmak, P., & Jongsomchai, C. (2016). Management of massive hemorrhage in obstetric
patient. Srinakarin Med Journal, 31(3): 343-351. In Thai
Information-and-services Nakhon Nayok Hospital. (2019). Annual report. Nakhon Nayok
Hospital.
Meena, N., Bairwa, R., & Sharma, S. (2020). Study of ectopic pregnancy in a tertiary care
centre. International Journal of Reproduction, Contraception, Obstetrics and
Gynecology, 9(1): 212-215. Retrieved from DOI:
https://www.ijrcog.org/index.php/ijrcog/article/view/7564.
Sanmee, A. (2014). “Ectopic Pregnancy. In: Thongpraseart, F.” Obstetric & gynecologic
emergencies. editors.2ed. (pp.100-109). Changmai : Pongsawas.
Thongsong, T., Srisomboon, J., Jareankaun, K., & Chintakanun, A. (2016). “Ectopic pregnancy. In:
Thongsong, T. editors. Gynecology. 4th”. (pp 268-278). Bangkok: Lucksameerung.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข