การศึกษาองค์ประกอบที่ส่งเสริมการบริการวิชาการแก่สังคม ของวิทยาลัยในสังกัด สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
คำสำคัญ:
การบริการวิชาการแก่สังคม, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ, สถาบันพระบรมราชชนกบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปริมาณ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบที่ส่งเสริมการบริการวิชาการแก่สังคม ของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์ของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ที่มีประสบการณ์ในการทำงานและให้บริการวิชาการแก่สังคม ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จำนวน 318 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามหาค่าความเที่ยง โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ด้วยวิธีการสกัดตัวประกอบหลัก หมุนแกนตัวประกอบแบบออโธโกนอล ด้วยวิธีแวริแมกซ์
ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบที่ส่งเสริมการบริการวิชาการแก่สังคม ของวิทยาลัยในสังกัดสถาบัน พระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข มีทั้งหมด 5 องค์ประกอบ บรรยายด้วย 50 ตัวแปร มีค่าความแปรปรวนรวม คิดเป็นร้อยละ 75.269 โดยแต่ละองค์ประกอบสามารถอธิบายร้อยละความแปรปรวนได้มากที่สุด ตามลำดับ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 การสร้างเครือข่าย ร้อยละ 20.843 ประกอบด้วย 16 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 2 การพัฒนาตนเอง ร้อยละ 19.611 ประกอบด้วย 10 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 3 การมีส่วนร่วม ร้อยละ 18.036 ประกอบด้วย 10 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 4 การจัดทำแผนแบบบูรณาการ ร้อยละ 10.529 ประกอบด้วย 5 ตัวแปร และองค์ประกอบที่ 5 การสร้างความเข้มแข็ง ร้อยละ 6.249 ประกอบด้วย 9 ตัวแปร
References
Chemamu, A. (2013) , Academic Community Service Trends of College of Islamic Studies, in
the Next Decade (B.E. 2555 – 2564). Master’ s Thesis, Master of Education in Islamic
Educational Administration and management. Prince of Songkla University. (in Thai)
Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A first course in factor analysis. Hillsdale NJ: Erlbaum.
Cronbach, L.J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5th ed). New York ; Harper Collins.
Inchai S. A Study on the Appropriate Patterns and Procedures in Providing Community
Academic Services for Private Universities: A Case Study of Payap and North-Chiang
Mai University. Master’ s Thesis. Chiang Mai University. (in Thai)
Likert, R. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”, Reading in Attitude Theory
and Measurement. Fishbeic, Matin, Ed. New York: Wiley & Son.
Ongart, J., Charoenwet, B. & Jaiyen S. (2018). The Administration of Academic Services for
Society of Suratthani Rajabhat University. Suratthani Rajabhat Journal, 5(1), 92, 94.
(in Thai)
Phetchana, S. (2015) Self-Management Strategies of Baan Munkong-Suanplu Community,
Sathorn, Bangkok. A Minor Thesis, Faculty of Social Administration. Thammasat
University. (in Thai)
Sonthaya Phonsri. (2013). Development of individuals and groups. Bangkok: Odeon Store.
(in Thai)
Timsuwan, B., & Lattanand, K. (2013). Social service : The development of quality to create value.
Wattanapunkitti, P. (2015). Factors Influencing the Effectiveness of the Social Academic
Services of Rajabhat Universities in the North Region. Journal of Modern Management Science, 8(1), 42, 44. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข