การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกำลังพลที่ปฏิบัติงานสายแพทย์ ศูนย์อำนวยการแพทย์ จังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • ภัคณัฐ วีรขจร
  • โชคชัย ขวัญพิชิต
  • กิตติพร เนาว์สุวรรณ์
  • นภชา สิงห์วีรธรรม

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันโรค, บุคลากรทางการแพทย์, จังหวัดชายแดนภาคใต้

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้เพื่อศึกษาการรับรู้ พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID9)  และเปรียบเทียบการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ของกำลังพลที่ปฏิบัติงานสายแพทย์ ศูนย์อำนวยการแพทย์ จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำแนกตาม ระดับการศึกษา สถานที่ทำงานและประสบการณ์ทำงาน จำนวน 59 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

           ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ของกำลังพลที่ปฏิบัติงานสายแพทย์ ศูนย์อำนวยการแพทย์ จังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.50, σ= 0.44) และ (μ =4.50, SD= 0.44) ตามลำดับ กำลังพลที่มีการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป ปฏิบัติงานในส่วน บ.ก. และมีประสบการณ์ทำงานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป มีการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 มากกว่ากำลังพลมีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ปฏิบัติงานในส่วนแยก และมีประสบการณ์ทำงานน้อยกว่า 10 ปีขึ้นไป ควรมีการเตรียมความพร้อมและรับรู้ให้กับกำลังพลที่ปฏิบัติงานสายแพทย์ ศูนย์อำนวยการแพทย์ จังหวัดชายแดนภาคใต้ในทุกส่วนแยก เกี่ยวกับการป้องกันตัวเองสำหรับการป้องกันโรคติดเชื้อจากการปฏิบัติงานประจำ

 

References

Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2020). Guideline to setting up local quarantine: traveler who come back from high risk areas 5 March 2020. Retrieved May 17,2020 from https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_other/G_other_01_2.pdf (in Thai)

Department of Medical Service, Ministry of Public Health, (2020). Guideline on Personal Protective Equipment (PPE) Update April 20 2020. Retrieved May 22, 2020 from https://pidst.or.th/A888.html

Klomkleaw, S. (2017). Dental health service of health promoting hospitals in Lumlukka, Pathumthani province. Master of public health. Thammasat university. (In Thai)

Ministry of public health. (2020). Guide line on public health practice for control the outbreak of Coronavirus disease 2019 (COVID-19). Retrieved May 19, 2020 https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_other/g_other02.pdf; 2020. (In Thai)

Morens, M. D., & Fauci S. A., (2013). Emerging infection disease : Threats to human health and global stability. PLOS Pathogens. 9(7), 1-3

Nawsuwan, K. Singweratham, N. & Damsangsawas, N. (2020). Correlationof perception disease severity to implementation role for control of COVID-19 in communities among village health volunteers in Thailand. Journal of Bamrasnaradura infections disease institute. 14(2), 25-36. (in Thai)

Phan-ubol, P. (2010). A study of relationship between health perception and health self-caring behavior of Thai Andropausal police offices in Chonburi Province. Master of Educatio, Srinakharinwirot University. (In Thai)

Phaosup S., & Udompanich S., (2017). Individual characteristics and administrative factors affecting performance of dental health technician in sub-district health promoting hospital, Khon Kaen Province. Thai dental nurse journal. 28(1), 23-34. (In Thai)

Phowattana A., Glampakorn S., Lakampan S.and Umnadsatsae K. (2011). Health promotion and

disease prevention in community: An application of cincepts and theories to practice. Department of Public Health Nursing Faculty of Public Health, Mahidol University. (In Thai)

Suwan, P., & Suwan, S. (1993). Behavioral Science. Health and health education behavior 2nd ed. Bangkok:

Chao Phraya Printing. (In Thai)

Tangjitkongpittaya, C. (2014). Practical Roles of dental therapist working at district hospital : A case study of 4 district hospital in Lumpang Province. Master of public health. Chaiang Mai University. (In Thai)

Wongratana, C. (2010). Techniques for using statistics for research 12th Ed. Nontaburi: Thainiramitkij Infographic. (In Thai)

World Health Organization1, (2020). Coranavirus. Retrieved April 30, 2020, from https://www.who.int/health-topics/coronavirus#tab=tab_1;

World Health Organization2, (2020). Considerations for quarantine of individuals in the context of containment for coronavirus disease (COVID-19) 19 March 2020. Retrieved May 7, 2020 from https://www.who.int/publications-detail/considerations-for-quarantine-of-individuals-in-the-context-of-containment-for-coronavirus-disease-(covid-19)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-21