การศึกษาการปนเปื้อนด้านชีวภาพ ภาวะโภชนาการ ปริมาณพลังงานและสารอาหารที่ได้รับจากอาหารกลางวันของนักเรียนประถมศึกษา 4-6 อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • ศุภิกา วงศ์อุทัย สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • ปฏิณญา เกตนะ สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • อรัญญา ถมทอง สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • บุญโชค พฤกษ์อมรกุล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาคู
  • เกสร ไกรรักษ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาคู

คำสำคัญ:

ภาวะโภชนาการ, สารอาหาร, โปรแกรม INMUCAL- Nutrients, เด็กวัยเรียน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยการปนเปื้อนด้านชีวภาพ ภาวะโภชนาการ ปริมาณพลังงานและสารอาหารที่ได้รับจากอาหารกลางวันของนักเรียนประถมศึกษา 4-6 อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปนเปื้อนด้านชีวภาพในภาชนะสำหรับปรุงประกอบอาหาร ภาวะโภชนาการ ปริมาณพลังงานและสารอาหารที่ได้รับจากมื้อกลางวันใน 2 โรงเรียนที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต โดยตรวจการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้นใน 6 ตัวอย่างต่อโรงเรียน ได้แก่ จาน ถ้วย ช้อน ตะหลิว ทัพพีและหม้อ รวมทั้งสิ้น 12 ตัวอย่าง โดยใช้ชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น (SI-2) และศึกษาภาวะโภชนาการนักเรียน ด้วยสมุดบันทึกสุขภาพประจำตัวนักเรียน แบบบันทึกผลสรุปการชั่งน้ำหนักและส่วนสูง แบบประเมินภาวะโภชนาการ โดยใช้เกณฑ์น้ำหนัก/ส่วนสูง ของสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่เจาะจงในนักเรียนที่ศึกษาในชั้นประถมศึกษา 4-6 ช่วงอายุ 9-12 ปี จำนวน 124 คนและการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิในเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นรายการอาหารกลางวันของแต่ละโรงเรียนตลอด 30 วัน นำไปวิเคราะห์ปริมาณพลังงานและสารอาหารที่นักเรียนได้รับในแต่ละวันด้วยโปรแกรม INMUCAL V.4.0 สถิติที่ใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาการปนเปื้อนด้านชีวภาพในตัวอย่างภาชนะสำหรับประกอบอาหารตรวจไม่พบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียและการประเมินภาวะโภชนาการกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีภาวะการเจริญเติบโตอยู่ในเกณฑ์ปกติมากที่สุด จำนวน 77 คน (62.06%) รองลงมาอยู่ในเกินเกณฑ์ จำนวน 31 คน (25.00%) และต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 16 คน (12.90 %) ปริมาณพลังงานและสารอาหารที่นักเรียนได้รับจากอาหารกลางวัน พบว่า โรงเรียนแห่งแรกมีการกระจายตัวของคาร์โบไฮเดรตมีค่าเฉลี่ย 57.59 (SD=7.89) โปรตีนมีค่าเฉลี่ย 22.62 (SD=6.58) และไขมันค่าเฉลี่ย 19.79 (SD=5.57) และปริมาณวิตามินเอ มีค่าเฉลี่ย 224.52 (SD=95.63) mg วิตามินซี มีค่าเฉลี่ย 41.23 (SD=43.11) mg และวิตามินบี1 มีค่าเฉลี่ย 0.61 (SD=0.25) mg โรงเรียนแห่งที่สอง พบว่าคาร์โบไฮเดรตมีค่าเฉลี่ย 51.57 (SD=9.38) โปรตีนมีค่าเฉลี่ย 24.74 (SD=6.68) ไขมันมีค่าเฉลี่ย 23.69 (SD=6.69) และปริมาณวิตามินเอ ค่าเฉลี่ย 264.55 (SD=102.38) mg ค่าวิตามินซีค่าเฉลี่ย 42.40 (SD=55.17) mg วิตามินบี1 มีค่าเฉลี่ย 0.96 (SD=0.40) ผลงานวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าสามารถนำผลการวิจัยเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับระดับปฏิบัติการของโรงเรียนและภาคีในพื้นที่เพื่อปรับปรุงการจัดบริการอาหารกลางวันในโรงเรียนตามความต้องการในเชิงปริมาณและคุณค่าที่นักเรียนควรได้รับ รวมถึงปรับปรุงมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนอย่างต่อเนื่องให้เป็นระบบ ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์ ความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและครอบครัวในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของนักเรียน

References

Department of Disease Control. (2020). Food-Borne Disease [Online].Retrieved December 16, 2021, from https://ddc.moph.go.th/brc/news.php. (in Thai).

Food Sanitation Division Health Department BMA. (2003).Principles of Food Sanitation Inspector [Online].Retrieved November 17, 2020, from http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABI.PDF. (in Thai).

Department of Health. (2020). Daily Nutrient Requirements [Online].Retrieved November 17, 2020, from https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/book/194515. (in Thai).

lakum, J, Siribunpiphat, J, kankong, V. (2017). Food Sanitation in Child Center at Sri-kai Sub-dristrict Warinchumrab District,Ubon Ratchathani Province. Ubon-Ratchathani University Journal of Science and Technology,19(3),108-118.(in Thai).

Katunyu, J. (2018). Nutritional status of upper elementary school students in schools affiliated with Chiang Mai Municipality.Lampang Journal,39(2),62-71.(in Thai).

Kwamrum,J. (2019). Nutrition and Types of Nutrients [Online].Retrieved August 17, 2019, from https://sites.google.com/site/phochnakarnaruann/xaharsar-xahar-1. (in Thai).

Jinamu, J. (2018). Report on the results of the inspection of the Ministry of Public Health [Online].Retrieved August 17, 2019, from http://bie.moph.go.th/e-insreport/file.doc. (in Thai).

Kumsuk,k. (2017). Food Consumption Behavior on Nutritional Status of Primary Students at Nongyow School in Nakhon Ratchasima Province. [Online].Retrieved December 16, 2019, from https://norther.ac.th/research. (in Thai).

Phochan, N, Kankhwao, B, Kankhwao , P. (2019).Quantity of Food Consumption and Nutrition Stats of Primary School Syudents a Public School in Municipal,Muang District,Khon Kaen Province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health,2(2),64-74.(in Thai)

Thongchim, N, Sumadho, P, PhrakhuPhitsuphakan. (2020). The Operation of Buddhist Oriented School to Become a Leading Buddhist School Under Songkhla Primary Educational Service Area office 1. Journal of MCU Ubon Review,5(2),311-326.(in Thai)

Thada, A, Abuwa, S, Abuwa, D.(2018).Food Sanitation Situation in Primary School,Yala Primary Education Service Area2.YRU Journal of Science and Technology,3(1),1-7.(in Thai).

Nuntapong, S. (2019). Knowledge of Food Arrangements for Children [Online].Retrieved August 18, 2019, from http://kasetsartjournal.ku.ac.th/kuj_files/2014/A1409121536082968.pdf

. (in Thai).

Chamchuklin,S. (2017).The situation of Drinking Water and Food Sanitation Management in the School under the Office of Basic Education Commission of Thailand [Online].Retrieved August 18, 2017, from https://www.Health Promotion Center5. (in Thai).

Sangtiyon, C.(2015). The administration of the lunch project of basic educational institutes under the Chiang Rai Primary Educational Service Area 3.Independent Study of degree of Master of Education Program in Educational Administration. Chiang Rai Rajabhat University. (in Thai).

Thai Health Promotion Foundation. (2019). Explore the Malnutrition of Thai Children [Online].Retrieved August 18, 2019, from https://www.thaipost.net/main/detail. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-06