ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่น ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • รัชชานันท์ ศรีสุภักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ประภากร ศรีสว่างวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ภรรวษา จันทรศิลป์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์, การป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะการป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่าง คือวัยรุ่นอายุ   15-19 ปี จำนวน 425 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม  ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2562 ถึงเดือนเมษายน 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ,ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า วัยรุ่นส่วนใหญ่มีภาวะการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.40 (S.D=0.54)  และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ ความรู้ (p-value = 0.02) เจตคติ (p-value = 0.01)  สื่อและสังคม (p-value = 0.01) ดังนั้นการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่น จึงควรพัฒนาระบบการศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตที่มีคุณภาพและมีระบบการดูแลช่วยเหลือที่เหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมบทบาทครอบครัวและชุมชนในการสร้างสัมพันธภาพและสื่อสารด้านสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น

  

References

Kusuma Mesil. (2012) Factors Affecting Adverse Pregnancy Prevention Behavior of Female High School Students in Mueang District, Phitsanulok Province. Khangphaenfphet Rajabhat University Conference 2012, 3(2), 260-272.

Chompunuch Dokkhamtai. (2012). A Study of Adverse Pregnancy Experience in Adolescents, Mai Ya

Sub-District, Phaya Meng Rai District, Chiang Rai Province. (Master's Thesis). Phayao: University of Phayao

Chatjongkon Tunlayanisaka, Jirachaya Jeawkok, and Wichuna Sattayaraksa (2018). Factors Affecting of the Adolescent Pregnancy in Phatthalung Province. International and National Conference Hat yai University, the 8rd time (p.740-754). Hatyai University: Thai. Retrieved from http://www.hu.ac.th/conference/conference2017/proceedings/data/

Nithipong Sribenchamas, Kingkaew Samruayruen, Anongnart Kongpracha, and Orasa Poocharoen

(2016). Factors affecting to behaviors preventing unwanted pregnancy of female senior high school student, Muang district, Phitsanulok province. National Conference Kamphaeng Phet Rajabhat University, the 3rd time (volume 2) (p.260-271). Kamphaeng Phet: Kamphaeng Phet Rajabhat University. Retrieved from https://research.kpru.ac.th/sac/fileconference/1922018-04-30.pdf

Nantiva Sigthong et al (2015 ).Risk Behavior In Premature Pregnancy. Secondary School Tumbon

Banprang Amphoe Dan khun Thot Nakhon Ratchasima Province. National Conference Nakhon Ratchasima college, the 7rd time (p. 80-84). Nakhon Ratchasima: Nakhon Ratchasima college. Retrieved from http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2558Vol3No1_57.pdf

Thitiporn Ingkathawornwong, et al (2007). Risk behaviour from sexual activity in female adolescents

at vocational school Songkla Med J. 25(6), 511-520.

Ratchanee Laksitanon and Jarunee Jaturapornpuoem (2020). Factors Related to Repeat pregnancy

among adolescents in Public Health Region 5. The 5th Regional Health Promotion Center.

Retrieved from:https://hpc.go.th/rcenter/index.php?mode=categorylist#maincateid8

Maleewan Lertsakornsiri (2014). Factors Associated with Unwanted Adolescent Women Pregnancy

in the Perceived of The First Year Students at Saint Louis College. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(1), 90-98.

Bureau of Reproductive Health, Department of Health. (2019). Reproductive health situation in

adolescents and youth. Bangkok: Office Reproductive Health Department of Health, Ministry of Public Health.

World Health Organization. (2017). Adolescent development. Retrieved from

http://www.who.int/maternal_child_adolescent/topics/adolescence/development/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-22