การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิต อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • สรรเพชญ เรืองอร่าม สํานักงานสาธารณสุขอําเภอพนม
  • ดุริยางค์ วาสนา โรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • ทัศนมินทร์ รัชตาธนรัชต์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบความมั่นคงและความปลอดภัยชายฝั่งเศรษฐกิจอ่าวไทยและอันดามัน
  • อรัญญา รักหาบ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การพัฒนาคุณภาพชีวิต, คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วม เปรียบเทียบการมีส่วนร่วม ตามลักษณะปัจจัยส่วนบุคคลและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม ในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิต อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม ถึงพฤษภาคม 2563 กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิต อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 147 คน เครื่องมือวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) ปัจจัยส่วนบุคคล และ 2) แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยใช้แนวคิดการมีส่วนร่วมของ Cohen and Uphoff วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมติฐานใช้สถิติเชิงอนุมาน t-test  และ One-way ANOVA   

ผลการศึกษา พบว่า การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิต อยู่ในระดับมาก ( =3.53, SD=0.56) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการค้นหาประเด็นปัญหา ( =3.67,  SD=0.64) การมีส่วนร่วมในการวางแผนแก้ไขปัญหา ( =3.54, SD=0.64)  และการมีส่วนร่วมในการดำเนินการแก้ไขปัญหา อยู่ในระดับมาก ( ==3.51, SD=0.60) ตามลำดับ การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิต อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศ ระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ในการเป็นคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิต และประสบการณ์การประชุมหรืออบรมเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต มีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้ง คือ ควรมุ่งเน้นกระบวนการให้เกิดความต่อเนื่องของการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตควรเลือกบุคคลที่มีประสบการณ์ในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตมาก่อน  กรณีคณะทำงานยังไม่มีประสบการณ์ ควรมีกระบวนการในการจัดกิจกรรม เพื่อให้ความรู้ ทักษะ ในการดำเนินงานร่วมทีมในพัฒนาคุณภาพชีวิต ก่อนปฏิบัติงาน เพื่อให้ดำเนินงานตามเป้าหมายที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และควรสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

References

Cohen, J. & Uphoff, N.T. (1980). Participation in rural development: Seekingclarity through Specificity. World Development, 8(13), 219-221.

Jittangwattana B. (2005). Sustainable Tourism Development. Bangkok : Press and Design, 16. (in Thai)

Kanpirom K., Chuencharoensuk K., Pitak j. (2017). Primary Care Service in Thailand After 5 Years of Being Driven by the District Health System, Buddhachinaraj medical journal, 34(3), 294-306.(in Thai)

Khemnachit, K. (2018) Factor affecting participation of administration organizations in Phetchaboon province.Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 8(17), 80-89.(in Thai)

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1979). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Kunphai R. (2013). People participation In local development tourism of Cha-Am municipality,

Cha-Am district, Petchaburi province. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(1),

-482. (in Thai)

Office of the National Economics and Social Development Council.(2016). Direction of the 12th national economic and social development plan (2017-2021). Retrieved May 9, 2019 from : http://www.nesdb.go.th/article_attach/Book_Plan12.pdf.(in Thai)

Phaetrungsee P. (2013). Public participation in local development: case study of The Luang

Sub-district Municipality in Makham District Chanthaburi Province.Independent Study.

M.P.A. (Local Government).RambhaiBarniRajabhat University. (in Thai)

Phanom District Public Health Office. .(2019). Minutes of the meeting of the committee driving quality of life development in Phanom District Suratthani Province, 25 November 2019.

Royal Thai Government Gazette.(2018). Regulations of the Office of the Prime Minister on

Quality Development Local life. Retrieved May 9, 2019 from:

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/054/1.PDF

Srising S. (2015).Factors promoting public participation in activities development of

Phitsanulok municipality, Phitsanulokprovineces. Journal of NakhonRatchasima College,

(2), 57-63.(in Thai)

Tangpu S., Sopakdee C., Wongpaisansirikul K. (2018). Public participation in Development of Model Village on Sufficiency Economy, Ban RongMakNoi Community, Kalantha

Sub-district, Mueang District, Buriram Province.Mahamakut Graduate School Journal, 16(1), 255-266.(in Thai)

Thailand healthy strategic managementoffice.(2017).Documentation (draft) regulations of the prime minister's office on district quality of life development 2017.Nonthaburi. The Graphico Systems Co., Ltd. (in Thai)

Thailand healthy strategic managementoffice.(2018).Handbook for consideration of the rules of the prime minister's office on area quality of life development 2018. Bangkok : The War Veterans Organization of Thailand. (in Thai)

Tongbophit W. (2016). Participation of the public in community model in developing sufficiency

economy community, Thautan district, Nakhonphanom province.Thesis. M.P.A.

(Public Policy). RajabhatMahaSarakham University. (in Thai)

Tongsuk N. (2015). The participation of people for development in sufficient economic village

At SikaoTrang. Western University Research Journal of Humanities and Social Science,

(3), 9-15.(in Thai)

Wongrattana C. (2007). Techniques for using statistics for research (14). Bangkok : Faculty of Education Srinakharinwirot University, 25. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-22