คุณภาพชีวิตการทำงานและความสุขของบริกรร้านอาหารในเขต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • เป่าเอ๋อ ลี วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
  • บุญแทน กิ่งสายหยุด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์
  • สุขุมาภรณ์ ศรีวิศิษฐ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
  • วิชาญ สายวารี วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
  • สุทัศน์ เสียมไหม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตการทำงาน, ความสุข, บริกรร้านอาหาร, ภูเก็ต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับคุณภาพชีวิตการทำงาน 2) ระดับความสุข และ 3) การศึกษาเชิงลึกคุณภาพชีวิตการทำงานและความสุขของบริกรร้านอาหารในเขตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต กลุ่มตัวอย่าง คือ บริกรร้านอาหาร จำนวน 316 คน และเลือกตัวอย่างแบบกำหนดเกณฑ์ จำนวน 10 คน ในการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยควอไทล์ และวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า บริกรร้านอาหารมีคุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.41±0.44) ด้านสภาพการทำงานที่คำนึงถึงความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.59±0.65) และมีความสุขในภาพรวมอยู่ในระดับมีความสุข ( = 63.37±9.21) มิติครอบครัวดี มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 72.91±18.25) ความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน คือ คุณภาพชีวิตการทำงานค่อนข้างดี มีปัญหาในการทำงานเล็กน้อย ส่วนความคิดเห็นต่อความสุข คือ การดำเนินชีวิตมีความสุข แต่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย

          ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นระดับคุณภาพชีวิตการทำงานและความสุขโดยรวมและรายด้าน รวมทั้งข้อมูลเชิงลึก องค์กรร้านอาหารสามารถใช้ข้อมูลในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานและความสุขของบริกรร้านอาหาร เพื่อให้บริกรร้านอาหารมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน มีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดี และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

References

Academic Network for Community Happiness Observation and Research. (2017). Happiness survey results. Accessed on February 7, 2019, from

http://www.au.edu/index.php/searchhead.html?searchword=happy%20research&searchphrase=all. (in Thai)

Aunprom-me, S. (2013). Important development of health promotion. Nonthaburi: Praboromarajchanok Institute, the Ministry of Public Health. (in Thai)

Boonyachotima, R., Pompol, W., Pojanasit, S., Thongnat, O., Borrisut S. (2014). The Happiness Exploration of Staffs in Trauma and Emergency Nursing Department, Phramongkutklao Hospital. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(2), 252-260. (in Thai)

Community Development Office Phuket. (2017). Phuket people's quality of life report 2017. Phuket: Community Development Department. (in Thai)

Department of mental health. (2018). "Quick Quick-Rush-Urgent" The city people are very scary. Accessed on August 20, 2019, from https://www.dmh.go.th/news- dmh/view.asp?id=28185. (in Thai)

Herzberg. (1923). as cited in Kesakorn Y. (2004). Leadership and team work. (6th ed.). Nonthaburi: Punnarach. (in Thai)

Jirasrattasiri, A., Ammawat, K. (2014). Factors Relating to the Happiness Level in Pakkret Hospital Personnel. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand, 4(2), 118-124. (in Thai)

Karnchanaviroj, P. (2004). The Quality of Work Life Waiters/Waitresses in The Pub. (Master’s Thesis, M.L.W., Thammasat University). (in Thai)

Krejcie & Morgan. (1970). as cited in Ruangdej chaosuansreecharoen, K. (2017). Basic research methodology "For health sciences". Trang: Sirindhorn College of Public Health, Trang. (in Thai)

Martin, S. (2000). Positive psychology: An introduction. Amer Psychol. 55, 5-14.

Maslow, Abraham M. (1954). Motivation and Personality. New York: Harper and Row.

National Statistical Office. (2018a). Results of the Labor Force Survey July 2018. Bangkok: Ministry of Digital Economy and Society. (in Thai)

________. (2018b). Preliminary summary of the happiness survey of workers (in the organization) 2018. Bangkok: Ministry of Digital Economy and Society. (in Thai)

Pratad, K. (2013). How to improve the quality of work life? Keep up with the changing situations in the future. Songkla: Department of The Songkhla Administrative Litigation. (in Thai)

Seelong, S. (2017). Quality of work life of police officers, Chachoengsao provincial police station. (Master’s Thesis, M.B.A., Graduate School of Commerce, Burapha University). (in Thai)

Thai Health Promotion Foundation. (2009). A guide to creating happiness together. Bangkok: Thai Health Promotion Foundation. (in Thai)

Thirapongsawat, K., Somtua, J. (2013). Health personnel survey regional health promotion centre 6, Fiscal Year 2013. Research report. Khon Kaen: Regional health promotion centre 6 Khonkaen, Ministry of Public Health. (in Thai)

Timyaingam, S. (2008). Quality of Work life of Childcare Personnel in the Childhood Development Centers, Chachoengsao Province. Journal of Education, Silpakorn University, 19(1), 71-83. (in Thai)

Walton. (1973). as cited in Sungphoem, S. (2012). Quality of Work Life of Employees in Academic Support Units in Private Universities in Bangkok Metropolis. (Master’s Thesis in Science, Faculty of Applied Statistics, National Institute of Development Administration). (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-11