การรับรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ที่มารับบริการในคลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

ผู้แต่ง

  • ลักษณา เปลี่ยนวงศ์ โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร

คำสำคัญ:

การรับรู้ด้านสุขภาพ , พฤติกรรมสุขภาพ , ผู้ป่วยเบาหวาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ และระดับการรับรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่นอนรักษาในหอผู้ป่วยอายุร กรรมโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่นอนรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ระหว่างเดือนเมษายน - มิถุนายน  2563 จำนวน 180 คน ได้มาจากการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางการประมาณขนาดกลุ่มตัวอย่าง ของเครจซีย์และมอร์แกน Krejcie & Morgan (1970) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยเบาหวาน  แบบวัดความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน  แบบสอบถามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่  ร้อยละ การคำนวณหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่มีระดับความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน โดยภาพอยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย = 2.37 (S.D.= 0.52) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ การมารับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ต้องงดน้ำ งดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ค่าเฉลี่ย= 2.87 (S.D.= 0.31) รองลงมา คือ สาเหตุของโรคเบาหวาน เกิดจากพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเอง ค่าเฉลี่ย= 2.76 (S.D.= 0.62) และ ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรกำหนดเวลาในการรับประทานยาให้ชัดเจนและรับประทานยาตรงเวลาทุกวัน  ค่าเฉลี่ย= 2.71  (S.D.= 0.64) ตามลำดับ
  2. ระดับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.29 (S.D.= 0.58) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรค ค่าเฉลี่ย 2.48 (S.D.= 0.60) รองลงมา คือ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค ค่าเฉลี่ย 2.45 (S.D.= 0.70 ) การรับรู้ความรุนแรงของโรค ค่าเฉลี่ย 2.21 (S.D.= 0.48) และ การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรค ค่าเฉลี่ย 2.00 (S.D.= 0.53) ตามลำดับ

3. ผู้ป่วยเบาหวานที่นอนรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ย 2.51 (S.D.= 0.66)  ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการออกกำลังกาย ค่าเฉลี่ย 3.00 (S.D.= 0.65) รองลงมา คือ ด้านการดูแลสุขภาพ ค่าเฉลี่ย 2.62 (S.D.= 0.72) ด้านการใช้ยา ค่าเฉลี่ย 2.33 (S.D.= 0.66) และ ด้านการควบคุมอาหาร ค่าเฉลี่ย 2.10  (S.D.= 0.59) ตามลำดับ

References

Apinya Sanchai. (2012). Medication behavior of non-insulin dependent diabetes patients

Nong Khu Subdistrict, Maha Sarakham Province. Bachelor of Public Health, University

Maha Sarakham. (In Thai)

Atchara Jindawatthanawong . (2013) Relationship between perception and

perception. Beliefs in health With defensive behaviors Type2 diabetes in high school students Prachuap Khiri Khan ProvinceRamathibodi Sarn, 18 (1):58 - 69. (In Thai)

Bupphachat Teengam et al., (2012). Factors affecting the practice in prevention of diabetes

and hypertension of population at risk group in the responsible area of Ban Phom

Muang health center, Chumphonburi district, Surin province. Research and

development health system journal, 5(3): 127-134. (In Thai)

Bureau of Non-communicable Diseases , Department of Disease Control. (2014). Non-

communicable disease information. [Online]. Retrieved 10 November 2020 from http://thaincd.com/index. php. (In Thai)

Chaiyaporn Phonmanee. (2015). Chronic complications in large blood vessels of diabetes

mellitus. [ Online ]. Retrieved 10 November 2020 from http : //www.Si.Mahidol.

Ac.Th/th division/diabetes/. (In Thai)

Diabetes Association of Thailand In the royal patronage of Her Royal Highness Princess Maha

Chakri Sirindhorn. (2011) Clinical Practice Guidelines for Diabetes 2011, 1st edition,

Bangkok: Association. (In Thai).

Issara Japhichom. (2012). Self-Care Behavior of Diabetic Patients in the area of responsibility

Ning Tat Health Promoting Hospital, Talat Sai Subdistrict, Chum Phuang District,

Province Nakhon Ratchasima. Bachelor of Public Health Mahasarakham University.

(In Thai).

Jesakorn Noin et al. (2015). Report sequel Conference Symposium (Proceedings).

Bringing Research at national level. Graduate Network Northern Rajapat University

No. 17. (In Thai)

Jessada Paweenkiatkhun (2014). The recognized efficacy and self-care behaviors of patients

with Type I diabetes.2 Health Promotion Hospital of the Securities Division of the

guest District Mae Jam , Chiang Mai. Maha Chakri Sirindhorn Public Health

Graduate Chiang Mai University. (In Thai).

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.

Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.

Kurt Lewin. (1951). Field. Theory and Leaning. Ind. Cartwright Field theory in Social Science :

Selected Theoretical. New York : Harper and Row.

Petcharat Kerddonfaek , Boonchan Wongsunopparat , Umaporn Udamtharaphayakul and

Chalerm Sri Nanthawan . (2010). The risk of developing diabetes according to the criteria and lifestyle that promotes health in the direct relatives. First of all people with diabetes. Searched on 10 May November Sky in 2563 from. http ://www. tcithaijo.org/index. a php / RNJ / Article / download On / 9040 / 7702. (In Thai)

Sumet Sansingchai. (2006). Health belief and preventive behavior of risk group diabetes

mellitus in Pa Sak subdistrict, Mueng district, Lamphun province. Master of Public

Health, Graduate school Chiang Mai University. (In Thai).

Petchnoi Singchuangchai. (1993). Techniques for creating and developing nursing research

tools. Songkhla:Faculty of Nursing Prince of Songkla University. (In Thai).

Petcharat Jiewkaew. (2017). Health awareness. And health behavior of diabetic patients who

come to the hospital Health subdistricts , lotus pond, the water district W. Barr has

Phichit. In a the meeting of Norwich of the value of the channel , the Latinos No. 4.

Innovation and Technology of the hard drives in 4.0: 1082-1087. Kamphaeng

Institute. Rajapat Kamphaeng Phet University. (In Thai).

Rosenstock, I. M., Strecher, V. J. & Becker, M. H. (1988). Social Learning Theory and the

Health Belief Model. Health Education Quarterly, 15(2): 175-183.

Sultan N, Pope JE, Clements PJ. (2004) The health assessment questionnaire

(HAQ) is strongly predictive of good outcome in early diffuse scleroderma: results from an analysis of two randomized controlled trials in early diffuse scleroderma. Rheumatology (Oxford) 2004; (43): 472-8.

Watkins, M. J. (2000). Competency for nursing practice. Journal of Clinical Nursing, (9): 338-346.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-15