ความรอบรู้ด้านสุขภาพ กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ในกลุ่มวัยเรียนมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • วิชัย เทียนถาวร สถาบันพระบรมราชชนก
  • ณรงค์ ใจเที่ยง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันโรค, โควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ในกลุ่มวัยเรียนมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ประชากรคือ กลุ่มวัยเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่ลงทะเบียนเข้าศึกษาในการปีการศึกษา 2563  ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 230 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติไคสแควร์

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพประกอบด้วย ทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพทำได้ง่าย ร้อยละ 79.1  ทักษะการเข้าใจทำได้ง่าย ร้อยละ 93.5  ทักษะการโต้ตอบซักถาม แลกเปลี่ยนทำได้ง่าย ร้อยละ 79.6 ทักษะการตัดสินใจ ทำได้ง่าย ร้อยละ 90  ทักษะการจัดการตนเองทำได้ง่าย ร้อยละ 81.3 และทักษะการบอกต่อทำได้ง่าย ร้อยละ 87.4 และมีพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ในระดับปานกลางร้อยละ 50.0 วิเคราะห์ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 พบว่า ทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ ทักษะการตัดสินใจ  ทักษะการจัดการตนเอง และทักษะการบอกต่อ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (p-value= 0.029, 0.030, 0.001 และ 0.001 ตามลำดับ) ดังนั้นมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งควรจัดอบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่องโควิด 19 ให้กับผู้เรียน โดยจัดให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการสร้างทักษะความรอบรู้สุขภาพร่วมกัน และนำไปใช้ในการดูแลตนเอง ให้ปลอดภัยจากโรคโควิด 19  และหยุดการติดเชื้อโรคโควิด 19 จากตนเองไปสู่ครอบครัว ชุมชน และสังคมไทยได้

References

Bongkoch Morasakul & Pornsiri Punthasee. (2021). Knowledge and Prevention Behaviors Regarding COVID-19 among the First-Year Nursing Students of Saint Theresa International College and Saint Louis College. Regional Health Promotion Center 9 Journal. 15(37): 179-195. (in Thai)

Boonruean Thongtip. (2020). Coronavirus Disease 2019 (COVID-19).) Problems And Leadership Potential For New Normal Organization Development. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology. 5(11): 434-447. (in Thai)

Chonlathit Uraikukul. (2020). Review Health Literacy Healthcare Setting. Thai Health Literacy Promotion Association: THLA. http://doh.hpc.go.th/bs/displayArticle.php?id=1

Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika,

(3), 297-334.

Department of Disease Control. (2020). coronavirus disease 2019 (COVID-19). advice for people self defense. Department of Disease Control. Ministry of Public Health. (in Thai)

Jongkolnee Tuicharoen, Nichakhan Wongprakhob, Krittakorn Munsraket &Tidarat Nimkratoke. (2020). Management of the COVID -19 in Primary Health Care Settings. Health Science Journal Boromarajonani College of Nursing Sanpasitthiprasong. 4(3): 1-20. (in Thai)

Konkanok Lattanand & Chanpen Ninwatcharamanee. (2019). Health Literacy of Nursing Students at Boromarajonani College of Nursing Bangkok. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. 35(1): 277-289. (in Thai)

Krejcie,R.V.&Morgan,D.W.(1970).Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement.30(3):607- 610.

Nutbeam, D. (2008). Health Literacy and adolescents: a framework and agenda for future research. Health Education Research. 23(5). Published by Oxford University Press.

Natawat Khanaruksombut. (2020). Health Communication Strategy of Online Advertorial in VIRUS COVID-19 Outbreak. Journal of Lampang Rajabhat University. 9(2): 160-171.

(in Thai)

Natawan Khumsaen. (2021). Knowledge, Attitudes, and Preventive Behaviors of COVID-19 among People Living in Amphoe U-thong, Suphanburi Province. Journal of Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi Province, 4(1):33-48. (in Thai)

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2006) . Health promotion in nursing practice (5th ed). Upper Saddle River, N.J.: Pearson Education.

Rojanat Choojai, Chonticha Boonsiri and Kamonporn Patcheep. (2021). Effects of a Health Literacy Enhancement Program for COVID-19 Prevention on Health Literacy and Prevention Behavior of COVID-19 among Village Health Volunteers in Don Tako Sub-district, Mueang District, Ratchaburi Province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 8(1), 250-262. (in Thai)

Vacharaporn Choeisuwan. (2017). Health Literacy : Concept and Application for Nursing Practice. Royal Thai Navy Medical Journa. 44(3): 183-197. (in Thai)

Training Center for Emergency Supervisors. (2020). information for protection Self from

COVID-19, Publication Document. Bangkok: Chum Cooperative Printing House

Agriculture of Thailand.

Thanee Glomjai, Junya Kaewjiboon, Taksika Chachvarat. (2020). Knowledge and Behavior of People regarding Self-care Prevention from Novel Coronavirus 2019 (COVID-19). Journal of Nursing, Public Health, and Education. 21(2):29-39. (in Thai)

World Health Organization (WHO). (2020). What is acoronavirus?. Retrieved from https://www.who.Int/news-room/q-a-detail/q-a-coronaviruses

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-22