ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบด้านจิตพิสัย ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรม การดูแลตนเองต่อการเกิดความเสี่ยงจากการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว
คำสำคัญ:
องค์ประกอบด้านจิตพิสัย, ความเสี่ยงจากการเกิดภาวะแทรกซ้อน, เบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional-Study) ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้พลังอำนาจแห่งตน ความรอบรู้ด้านสุขภาพ การรับรู้ความสามารถตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเอง ต่อการเกิดความเสี่ยงจากการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 216 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) ในคลินิกโรคเบาหวานในสถานบริการสุขภาพสังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอวังสมบูรณ์ รวม 7 แห่งเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม AMOS
ผลการศึกษา ปรากฏว่า โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติไค-สแควร์ เท่ากับ 168.9 ค่า df = 148, /df = 1.1, p-value =.115 ค่า AGFI=.90 GIF =.92 RMSEA =.036 SRMR=.029 โดยตัวแปรที่ส่งผลต่อการเกิดความเสี่ยงจากการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มากที่สุดตามลำดับได้แก่ พฤติกรรมการดูแลตนเอง การรับรู้ความสามารถตนเอง การรับรู้พลังอำนาจแห่งตน และความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยการรับรู้พลังอำนาจแห่งตนมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและการรับรู้ความสามารถตนเอง และมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการรับรู้ความสามารถตนเองมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวก ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และส่งผลให้ลดความเสี่ยงจากการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตัวแปรทั้งหมดสามารถอธิบายความแปรปรวนของการเกิดความเสี่ยง จากการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ร้อยละ 45
สรุปผลการศึกษา การวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การรับรู้พลังอำนาจแห่งตน ความรอบรู้ด้านสุขภาพ การรับรู้ความสามารถตนเอง และพฤติกรรมการดูแลตนเอง ส่งผลต่อการเกิดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ดังนั้นในการดำเนินงานพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว จำเป็นต้องส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ให้เกิดการรับรู้พลังอำนาจแห่งตน เพิ่มศักยภาพความรอบรู้ด้านสุขภาพ สร้างการรับรู้ความสามารถตนเอง และปรับพฤติกรรมการดูแลตนเองให้ดีขึ้น
References
Anderson, R. M., & Funnell, M. M. (2010). Patient empowerment: myths and misconceptions.
Patient Educ Couns, 79(3): 277-282.
Arnstine, D. (1965). Taxonomy Of Educational Objectives, Handbook II: Affective Domain by David R. Krathwohl, Benjamin S. Bloom, and Bertram B. Masia. New York: David McKay Company, Inc., 1964. 196 pp. The Educational Forum, 29(3), 371-372. doi:10.1080/00131726509339406
Bailey, S. C., Brega, A. G., Crutchfield, T. M., Elasy, T., Herr, H., Kaphingst, K., Schillinger, D. (2014).
Update on health literacy and diabetes. Diabetes Educ, 40(5): 581-604.
Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. (6th ed.).
Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall, Inc.
Bloom, B. S., Hastings, J. T., & Madaus, G. F. (1971). Handbook on formative and summative
evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill.
Charoensrimuean, S., Suphanakun, P., Ngernjang, J. (2018). Factors Influencing Glycemic Control among Pre-Diabetes in Maung District, Phitsanulok Province. Journal of Health Science, 28(4); 628-638. (In Thai)
Diabetes association Thailand. (2017). Clinical practice guideline for diabetes. Patumthani: Romyen
Media Ltd. (in Thai)
Hair, J., Black, W., Babin, B., & Anderson, R. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective.
(7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.
International Diabetes Federation (IDF) (2017) IDF Diabetes Atlas. 8th Edition, International
Diabetes Federation, Brussels. https://diabetesatlas.org/atlas/eighth-edition/
International Diabetes Federation (IDF) (2019) IDF Diabetes Atlas. 9th Edition, International
Diabetes Federation, Brussels. https://diabetesatlas.org/atlas/ninth-edition/
J.Gao, J. Wang, P. Zheng, R.Harrdorfer, M.C. Kegler, Y. Zhu, H.Fu. (2013). Effects of self-care,
selfefficacy, social support on glycemic control in adults with type 2 diabetes. BMC Fam
Pract, 14; 1-6.
Karnjanapiboonwong, A., Khamwangsaga,P.,& Kaewtha, S. (2019) NCDs Report. Bangkok: Akashson
graphic and design. (in Thai)
Lee, Y. J., Shin, S. J., Wang, R. H., Lin, K. D., Lee, Y. L., & Wang, Y. H. (2016). Pathways of
empowerment perceptions, health literacy, self-efficacy, and self-care behaviors to
glycemic control in patients with type 2 diabetes mellitus. Patient Educ Couns, 99(2); 287-294.
Ngamumpornara, P. (2017). Health literacy for patients with type 2 diabetes in Bangkok
metropolits and perimeter. Journal of Health, Physical Education and Recreation, 46(2); 68-79. (In Thai)
Nithiyanan, W. (2017). Diabetes situation 2017. Retrieved 11,2019 from: https://www.hfocus.org/content/2019/11/18054. (In Thai)
Pha-khotom, W., Thaithae, S. (2013). The effectiveness of spiritual well-being promoting program
on perceived self- efficacy for continuous breast-feeding of teenage mothers at home. Journal of Public Health Nursing, 27(2); 27-39. (In Thai)
Ryan, R. M., & Deci, E. L. (2000). Self-determination theory and the facilitation of intrinsic
motivation, Social development and well-being. American Psychologist, 55(1); 68-78.
Sa Kaeo Provincial Health Office. (2017) Annual Report 2017. Sa Kaeo: Ministry of Public Health.
(in Thai)
Shiu, A. T., Wong, R. Y., & Thompson, D. R. (2003). Development of a reliable and valid Chinese
version of the diabetes empowerment scale. Diabetes Care, 26(10); 2817-2821.
Suksawa, N., Pranprawit, A. & Phechmanee, S. (2016). Effect of Health Education Program using
ApplingSelf-Efficacy Theory together with Social Support for Self Care of Diabetes Elder
Patients of Tha Sa Thon Health Promoting Hospital, Phun Phin District, Surat Thani Province.
Community Health Development Quarterly Khon Kaen University, 4(1); 49-65. (In Thai)
Suksawang, P. (2013). Structural equation model. (1st ed.). Bangkok: Wattana Panich. (In Thai)
Tangkittiwat, K. (2013). A causal model of cumulative average glucose levels of diabetic patients in
Mueang District, Nakhon Pathom Province. The Journal of Prapokklao Hospital Clinical
Medical Education center, 34(1); 17-31. (In Thai)
Wang, R.-H., Wu, L.-C., & Hsu, H.-Y. (2011). A path model of health-related quality of life in Type 2
diabetic patients: a cross-sectional study in Taiwan. Journal of Advanced Nursing, 67(12);
-2667.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข