ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของบุคลากรทางการแพทย์ต่อบริการของกลุ่มห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ด้านควบคุมโรคตามมาตรฐาน ISO 15189 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ฐิติมา ไกรรินทร์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
  • อารยา ประเสริฐชัย สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช
  • พาณี สีตกะลิน สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ , การรับรู้บริการ , บุคลากรทางการแพทย์ , มาตรฐาน ISO 15189

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลและการรับรู้บริการกับความพึงพอใจต่อการใช้บริการ และ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลและการรับรู้บริการกับความพึงพอใจของบุคลากรทางการแพทย์ต่อการใช้บริการกลุ่มห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ด้านควบคุมโรคตามมาตรฐาน ISO 15189 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา

      ประชากรที่ศึกษา คือ  บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเครือข่ายในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ประกอบด้วย จังหวัดสงขลา พัทลุง ตรัง สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส จำนวน 120 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความสัมพันธ์แบบไคสแควร์ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

      ผลการวิจัย พบว่า (1) บุคลากรทางการแพทย์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 41.81 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี ปฏิบัติงานตำแหน่งนักเทคนิคการแพทย์ มีประสบการณ์ในการทำงานช่วง 21 ปีขึ้นไป โดยมีประสบการณ์ในการทำงานเฉลี่ย 17.14 ปี ส่วนใหญ่ใช้บริการการตรวจหาปริมาณเชื้อเอชไอวีในกระแสเลือด ความถี่ในการใช้บริการ จำนวน 1 ครั้งต่อเดือน การรับรู้บริการและความพึงพอใจต่อการใช้บริการอยู่ในระดับมากที่สุด และ (2) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของบุคลากรทางการแพทย์ต่อการใช้บริการกลุ่มห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ด้านควบคุมโรคตามมาตรฐาน ISO 15189 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา     อย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (p<0.05) การรับรู้บริการ มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของบุคลากรทางการแพทย์ต่อการใช้บริการกลุ่มห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ด้านควบคุมโรคตามมาตรฐาน ISO 15189 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (p<0.01)  

คำสำคัญ  ความพึงพอใจ การรับรู้บริการ บุคลากรทางการแพทย์ มาตรฐาน ISO 15189 

Corresponding author: ฐิติมา ไกรรินทร์  E-mail: dear_kawng@hotmail.com

References

Aday, Lu ann. & Andersen, Ronald. (1975). Development of indices of Access to Medical Care. Michigan: Ann Arbor Health Administration Press.

Airada, K., Patcharahathai, J. (2020). Service Quality and Service Marketing Mix Affecting Customer’s Satisfaction of Synphaet Lamlukka Hospital Pathum Thani Province. Master’s Thesis, Business Administration. Rangsit University, Pathum Thani. (in Thai)

Ampornpan, R. (2010). A study of customer satisfaction with the services provided by the excellent center at Vejthani Hospital. Master’s Thesis, Education. Ramkhamhaeng University, Bangkok. (in Thai)

Bartz, A. E. (1999). Basic statistical concepts. (4nd ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Bureau of Laboratory Quality Standards Department of Medical Sciences. (2015). Application Form 4 : General information of quality management system regarding to ISO 15189: 2012. Retrieved Jun 12, 2018 from http://blqs.dmsc.moph.go.th/assets/Userfile/download19.htm. (in Thai)

Bureau of Laboratory Quality Standards Department of Medical Sciences. (2019). MOPH Standard Ministry of Public Health. Bangkok: Bureau of Laboratory Quality Standards. (in Thai)

Bussarakham, K. (2015). Factors relating to patients’ satisfaction towards services in oncology-

medicine department at Banphaeo Hospital. Independent Study, Master of Sciences. Silpakorn University, Bangkok. (in Thai)

Kamonwan, P., Pranee, O. (2015). The association between factors and clients’ satisfaction toward Computer Tomography unit service Phramongkutklao Hospital. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 16(2), 30-40. (in Thai)

Narumon, R. (2005). Factors related to satisfaction of the insure persons towards medical services of hospitals under the social security project in Ayutthaya province. Master’s Thesis, Business Administration. Sukhothai Thammathirat Open University Press, Nonthaburi. (in Thai)

Passakorn, S., Jerateep, J. (2011). Research Client Satisfaction toward Dental Public Health

Huai Khun Ram Sub-District Health Promoting Hospital, Phatthana Nikhom District, Lop Buri. Suphan Buri: Sirindhorn College of Public Health. (in Thai)

Paweena, S. (2015). Satisfaction of the service in Nhong Sam See District Hospital, Senangkhanikhom, Amnatcharoen. Master’s Thesis, Arts. Ubon Ratchathani Rajabhat University, Ubon Ratchathani. (in Thai)

Sasima, R. (2006). Factors Related to Out Patient Satisfaction on Service in X-RAY Computer Room of Diagnostic Radiology Unit, Radiology Department Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. Master’s Thesis, Public Health. Nakhon Ratchasima Rajabhat University, Nakhon Ratchasima. (in Thai)

Sasithorn, L. (2008). Clients’ satisfaction towards health care services at out-patient department

of Samitivej Sukhumvit Hospital. Master’s Thesis, Business Administration. Srinakharinwirot University, Bangkok. (in Thai)

Thitima, D. (2010). Research Factors Relating to Client Satisfaction in Service of Dental Clinic at Sirindhorn College of Public Health Chonburi. Chonburi: Sirindhorn College of Public Health. (in Thai)

Wirun, N. (2008). The Relationship between health service factors and diabetes mellitus patients satisfaction in Phonnakaew district Sakonnakhon province. North-Eastern Primary Health Care Journal, 22(6), 58-66.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-15