ผลของโปรแกรมกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร ผ่านสมาร์ทโฟนของพนักงานแปรรูปไม้ยางพารา

ผู้แต่ง

  • ศิรินทร์ พฤกษ์พนา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • วาริท เจาะจิตต์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • พยงค์ เทพอักษร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
  • จันจิรา มหาบุญ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คำสำคัญ:

ทัศนคติต่อความปลอดภัย, พฤติกรรมการป้องกันอันตราย, การรับรู้อันตราย, โปรแกรมกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย, ไม้ยางพาราแปรรูป

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของโปรแกรมกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีสื่อสารโดยผ่านสมาร์ทโฟน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการแปรรูปไม้ยางพารา    2 แห่งที่ได้จากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง โดยแบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 80 คน และกลุ่มควบคุม 80 คน เครื่องมือในการศึกษาประกอบด้วยโปรแกรมกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยในรูปแบบวิดีโอคลิป และแบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล ทัศนคติ การรับรู้อันตรายและพฤติกรรม วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับคะแนนด้วย independent t-test และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการทำงานด้วย Multiple Regression Analysis                                                                           

          ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลก่อนและหลัง จำนวน 4 ครั้ง พบว่ากลุ่มทดลองมีระดับคะแนนเพิ่มขึ้น ภายหลังการดำเนินการตามโปรแกรม พบว่ามีระดับทัศนคติต่อความปลอดภัย การรับรู้อันตรายและ พฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการทำงาน ในกลุ่มทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value  < 0.01) จากก่อนและหลังดำเนินการมาตรการ  และจากการเปรียบเทียบในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมภายหลังการดำเนินมาตรการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 (p-value < 0.01)  และการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตราย พบว่าทัศนคติต่อความปลอดภัย และการรับรู้อันตรายสามารถทำนายอิทธิพลที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตรายได้ร้อยละ 44.2 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

References

Abolfotouh Mostafa, A., Bani Mustafa Ala’a, Salam Mohmmoud, Al- Assin, M., Aldebas, B., & Bushnak. (2019). Use of smartphone and perception towards the usefulness and practicality of its medical applications among health care workers in Saudi Arabia. BMC Public Healt Services Research. https://doi.org/10.1186/s12913-019-4523-1.

Cecil Boston, Rajini Kurup, R., & Saliqa Zaman. (2020). Perception of Sawmill Workers towards Occupational Health and Safety at Linden/Soesdyke Highway, Guyana. Asian of Advanced Research and Reports, https://doi.org/10.9734/ajarr/2020/v9 i130211.

Fjeldsoe Brianna, S., Alison, L. , Marshall & Yvette, D. Miller. (2009). Behavior Change Interventions

Delivered by Mobile Telephone Short-Message Service. American Journal of Preventive Medicin, 36(2), 165–173. https://doi.org/10.1016/j.amepre.2008.09.040.

Hurling, R., Catt, M., Boni, MD., Fairley, BW., Hurst, T., Murray, P., Richardson, A., Sodhi, JS. (2007). Using internet and mobile phone technology to deliver an automated physical activity program: randomized controlled trial. Public health information 2007. doi:10.2196/ https://www.ncbi.nlm.nih.gov/.

Mong'are, R., Mburu, C., & Kiiyukia, C. (2017). Assessment of Occupational Safety and Health Status of Sawmilling Industries in Nakuru County, Kenya. International Journal of Health Sciences, 5, 2372-5079. doi:10.15640/ijhs.v5n4a9.

Nioi, A., Wendelboe-Nelson, C., Cowan, S., Cowie, H., Rashid, S., Ritchie, P., Cherrie, J.W. (2018).A randomised control crossover trial of a theory based intervention to improve sun-safe and healthy behaviors in construction workers: study protocol. BMC Public Health, 18(1), 259. doi:10.1186/s12889-018-5164-8.

Odibo, A., Nwaogazie, I., Achalu, E. & Ugbebor, J. (2018). Effects of safety intervention practices among selected Sawmill workers in Sawmills in Delta State, Nigeria. International Journal of Health, Safety and Environments (IJHSE) , https://www.researchgate.net/publication/325089977.

Pitichat, T. (2013). Smartphones in the workplace: Changing organizational behavior, transforming the future. a Journal of Transdisciplinary Writing and Research for Claremont Graduate University, http://scholarship.claremont.edu/lux/vol3/iss1/13.

Department of Industrial works. (2563). Data factory. www:Diw.go.th

Ministry of Laour. (2562). Retrieved from https://www.sso.go.th.

Pitrukpang, T. (2561). Effect of people based safety (PBS) Program on safety behaviors

among maintenance workers in a petrochemica factory, Rayong Province.

Khammapat, V., Kamthanoot, S. (2016). Risk Perception and Safety Behaviors of Production

in Employees in the Food and Drink Industry.Bangkok Journal of Safety and Health, : Vol. 9 No.33 July- September 2016 .

Latlory, S., Sirsukphan, T. and Karndee, A. (2558). Study of Perception with Safety’s Behaviors of worker: Case Study at Plastic Products Company in Samutprakarn: Academic conferences and research presentations National and International 6.

Santree, A. (2557). Knowledge and attitude towards safety behavior in factories. Case Study:Prevention of Dermatitis from Chemical Application BlueScope Steel (Thailand) Co.,Ltd Master of Science (Environmental management) Faculty of Social and Environmental Development National Institute of Development Administration.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-12