ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกของบุคลากร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่อยู่ในพื้นที่ระบาดซ้ำซาก จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • กรณัฐ ชูเนตร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • วรางคณา จันทร์คง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ธีระวุธ ธรรมกุล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ไข้เลือดออก, บุคลากร, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive study) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหา โรคไข้เลือดออกของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่อยู่ในพื้นที่ระบาดซ้ำซาก จังหวัดนครศรีธรรมราช รวมถึง ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ การดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก กลุ่มตัวอย่าง 127 คน คือ ผู้รับผิดชอบงานหลักในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่อยู่ในพื้นที่ระบาดซ้ำซาก ใช้วิธีสุ่มแบบโควตาแล้วสุ่มแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหา ความเชื่อมั่น ความยากง่าย อำนาจจำแนก  ได้รับแบบสอบถามกลับ 117 ชุด  คิดเป็นร้อยละ 92.13  ใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า

  1. การปฏิบัติงานของบุคลากรอยู่ในระดับสูง ความรู้อยู่ในระดับน้อย ทัศนคติอยู่ในระดับที่ดี แรงจูงใจทั้งด้านปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนอยู่ในระดับสูง และการสนับสนุนจากองค์กรอยู่ในระดับมาก
  2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทต่อการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่ ความรู้ในการปฏิบัติงาน และการสนับสนุนจากองค์กร มีอิทธิพลทางบวก และเป็นตัวแปรที่ร่วมพยากรณ์ ร้อยละ 61.00 ดังนั้นควรพัฒนาความรู้ และสนับสนุนการดำเนินงานแก่บุคลากรอย่างเหมาะสม

3. ปัญหาอุปสรรคที่พบมากสุด คือ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องไม่ตระหนักความสำคัญการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก ข้อเสนอแนะ คือ เพิ่มการประสานงานทำความเข้าใจกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

References

Ananya K. (2013). Factors affecting the performance of the role of public health scholars at Tambon Health Promoting Hospital Udon Thani Province. (Master's thesis). Khon Kaen University, Khon Kaen. (In Thai)

Department of Disease Control. (2016). Assessment manual for the Office of Disease Prevention and Control. The disease control district is strong and still standing. Under the district health system in 2016. Bangkok:Department of Disease Control, Ministry of Public Health.

Division of infectious diseases led by insects. (2020). Situation of Dengue Fever in 2019. Bangkok. (In Thai)

Jirapat K (2015). Experience in Dengue fever. In Supawadee Puangsombat, Thirawadee Korphayakarin, Waraporn Emaruji, and Saranarat Chanprakhon (Editors) Academic Handbook of Dengue Infectious Diseases and Dengue Dengue in Medicine and Public Health (2nd edition). (pp.129-130). Bangkok: Agricultural Cooperative Federation of Thailand Ltd. (In Thai)

Jittima P. (1997). Factors Relating to Measles Immunization Performance of Health Station Staff. In Nakhon Sawan Province (Master's thesis). Mahidol University, Bangkok. (In Thai)

Jorranti K, Jirapat K & Teeravade K. (2015). Epidemiology. In Supawadee Phuangsombat, Thirawadee Korphayakarin, Waraporn Emaruji and Saranarat Chanprakon (Editors) Academic Handbook of Dengue Infectious Diseases and Dengue Dengue Fever. In the field of medicine and public health (2nd edition). (pp.1-10). Bangkok: Agricultural Cooperative Federation of Thailand Ltd. (In Thai)

Ministry of Public Health. (2020). Video conferenc. Dengue situation and disease control measures. [Government book]. External books (No. สธ 0423.4/ว184). Ministry of Public Health, Nonthaburi. (In Thai)

Nakhon Si Thammarat Provincial Public Health Office. (2020). Summary of the disease situation from epidemiological surveillance, issue 1, January, 2020. Nakhon Si Thammarat: Nakhon Si Thammarat Provincial Public Health Office. (In Thai)

Rak N. (2009). Factors affecting health-building practices of public health workers. Under the health center In the province of Uttaradit (Master's thesis). Uttaradit Rajabhat University, Uttaradit. (In Thai)

Schermerhorn, Hunt & Osborn. (2008). "Organizational Behavior 10/E" Excecutive Publisher; Don Fowley Copyright 2008 by john Wiley & Son.

Shiann T, Chih H, Min H, Chou W & Liu H. (2013). Knowledge, attitude, and practice of dengue diseaseamong healthcare professionals in southern Taiwan. The Formosan Medical Association 20(1), 18-23.

Thipap C, Chamnan A & Boonserm U. (2015). Principles of disease carrier control and integrated disease carrier management. In Supawadee Puangsombat, Thirawadee Korphayakarin, Waraporn Emaruji, and Saranarat Chanprakhon (Editors) Academic Handbook of Dengue Infectious Diseases and Dengue Dengue in Medicine and Public Health (2nd edition). (pp.129-130). Bangkok: Agricultural Cooperative Federation of Thailand Ltd. (In Thai)

Thonglor D. (2002). Principles of Public Health Administration. (3rd edition). Bangkok: Sam Charoen Panit. (In Thai)

World Health Organization. (2020). Dengue and severe dengue. Retrieved 5, 2021 from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/dengue-and-severe-dengue.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-06