การรับรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงเขตอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

ผู้แต่ง

  • อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • นูรมา สมการณ์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

คำสำคัญ:

การรับรู้ด้านสุขภาพ, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีรายชื่อตามทะเบียนบ้านเขตอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ 2562 จำนวน 289 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน  ได้แก่ ส่วนที่ 1 คุณลักษณะส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 การรับรู้ด้านสุขภาพ ส่วนที่ 3 คุณภาพชีวิต แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถาม โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ด้านสุขภาพ ภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (=2.37, S.D.=0.48) คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ (=1.95, S.D.=0.63) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า การรับรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงเขตอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย การรับรู้โอกาสเสี่ยงการเจ็บป่วย (r=0.19, P-value=0.001) การรับรู้ความรุนแรงการเจ็บป่วย (r=0.16, P-value=0.04) การรับรู้ประโยชน์ของการดูแลสุขภาพ (r=0.11, P-value=0.05) และการรับรู้อุปสรรคของการดูแลสุขภาพ (r=-0.14, P-value=0.01) ตามลำดับ

References

Becker, M.H. (1974). The health belief model and personal health behavior. Health Education

Monographs, 2: 324-473.

Best, John W. (1977). Research is Evaluation. (3rded). Englewood Cliffs: N.J. Prentice-Hall.

Cronbach, Lee J. (1951). Essentials of Psychological Testing. 3rd ed. New York: Harper.

Daniel W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9th

ed). New York: John Wiley & Sons.

Department of Older Persons, Ministry of Social Development and Human Security (2018).

OLDER STATISTIC. Retrieved 27 January 2021 from http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1550973505-153_0.pdf.

Janz, N.K., & Becker, M.H. (1984). The health belef model: A decade later. Health education

quarterly; 11(1): 1-47.

Narathiwat provincial Public Health Office. (2019). Annual report of older. Retrieved 27 January

from https://nwt.hdc.moph.go.th

Phanpum, A., Sooknirundorn, S., Chanthaphinit, S., Nilbanphot, I.O., Poomphakwaen, K. (2019).

Quality of Life of the Elders in Toobkob Village, Kokdu Sub-district, Mueang District, Loei Province. 1th National Conference in Science, Technology and Innovation 2019. 20 April 2019. Faculty of Science and Technology, Loei Rajabhat University. (in Thai).

Rosenstock, I.M. (1974). Historical originals of the Health Belief Model. Health Education

Monographs, 2: 1-9.

Seehawong, M. (2019). Health Perception Associated with Dental Health Behaviors of

the Elders in Phetchabun Municipality, Amphur Muang, Phetchabun Province. Journal of Health Science; 28(3): 418-431. (in Thai).

United Nation, Department of Economic and social Affairs, Population Division. (2015). World

Population Prospects: The 2015 Revision, United Nations: New York, pp.30.

World Health Organization. [WHO] (2002). Active ageing: A policy framework

(WHO/NMH/NPH/02.8). Retrieved 27 January 2021 from http://www.unati.uerj.br/doc_gov/destaque/Madri2.pdf.

Yodkul, S. Srijakkot, J. (2012). Predicting Factors of Depression among Older People with

Chronic Disease in Buriram Hospital. Journal of Nurses, Association of Thailand, North-eastern Division; 33(3): 50-57. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-06