การพัฒนาสมรรถนะการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขในมุมมองผู้บริหารของเขตสุขภาพ 1 - 12

ผู้แต่ง

  • ชมพูนุช สุภาพวานิช วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา สถาบันพระบรมราชชนก
  • ไพสิฐ จิรรัตนโสภา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา สถาบันพระบรมราชชนก
  • เบญจวรรณ พูนธนานิวัฒน์กุล วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก สถาบันพระบรมราชชนก
  • บุญแทน กิ่งสายหยุด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

สมรรถนะการทำงาน, ผู้บริหาร, การพัฒนาบุคลากรสาธารณสุข, เขตสุขภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองด้านปัญหาสุขภาพในพื้นที่ และการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขในมุมมองของผู้บริหารของเขตสุขภาพ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ ผู้บริหารของเขตสุขภาพที่ 1 – 12  จำนวน 39 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก  โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ประเด็นหลัก (Thematic analysis)

ความคิดเห็นของผู้บริหารในด้านการพัฒนาสมรรถนะการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขได้แก่ 1) การพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบ 2) การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล 3) การวางแผนแก้ไขปัญหา 4) การพัฒนาในด้านคุณภาพชีวิตการทำงาน ซึ่งต้องมีการบริหารจัดการด้านภาระงานที่มากของบุคลากรสาธารณสุข 5) การเปิดกรอบอัตรากำลัง 6) การให้ค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม 7) การให้ความมั่นคง ความก้าวหน้า การพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็น และความปลอดภัยในสภาพการทำงาน 8) การพัฒนาความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพ 9) การวิจัยและความรู้เกี่ยวกับบัญชี การเงิน และพัสดุ 10) การพัฒนาด้านการบริหารสาธารณสุข โดยควรจัดอบรมระยะสั้นๆ และมีการติดตามประเมินหน้างาน เน้นทักษะการลงพื้นที่ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล และมีการติดตามประเมินผลความสำเร็จของการฝึกอบรมจากการปฏิบัติจริงในพื้นที่

การพัฒนาทักษะการทำงานของบุคลากรด้านสาธารณสุขอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบจากเดิมโดยการเน้นการฝึกอบรมในรูปแบบที่มีการให้ความรู้ในระยะสั้นและมีการเสริมทักษะโดยการปฏิบัติในพื้นที่หน้างานและมีการติดตามประเมินผลหรือมีที่ปรึกษาให้คำแนะนำเพื่อให้การปฏิบัติงานในพื้นที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

Changyai W., Rudtanasujatum K. & Methaphat C. (2013). Health professionals’ competencies for increasing population with the average 80 years life expectancy. The public health journal of Burapa University.8(1):104 – 114.

Department of health service support. (2012) Results of policies projects followed minister of health’s policies 2012. Retrieved 3, 2021 from http://www.watphlen ghospital.go.th/ httpdocs/data/sarup55.pdf.

Office of the civil services commission. (2010). Guideline of competency designation in government officers: core competency. Retrieved 10, 2022 from https://www.ocsc.go.th/sites/default/files /document/25531130-khuumuuekaarkamhndsmrrthnaainraachkaarphleruuen-khuumuuesmrrthnahlak-isbn-9786165480734.pdf

Ministry of public health. (2017) Service plan 2018 – 2022. Retrieved 2, 2020 from https://drive.google.com/file/d/0B63Keu7nDPjJb0R0enJjUVRMRms/view?usp=sharing&resourcekey=0-WJqqeZg6MZmHh_ZY9Asy8A.

Ministry of public health. (2018) Thailand global health strategic action plan 2016 – 2020. Receive 10, 2021 from www.bihmoph.net/usefile/file/revices ghs action plan-final.pdf.

Singkun A. (2014). Training needs assessment to increase knowledge and competency of personnel in sub-district health promoting hospital. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 1(3): 49-58.

Waenkhwaen N. & Hinsui J. (2020). The training needs of health personnel in accordance with health problems in Health Area 7. Thai Dental Nurse Journal. 31(2): 27 - 40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27