บทบาทของการใช้หุ่นยนต์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลตากสิน

ผู้แต่ง

  • ตรีนุช อมรภิญโญเกียรติ แผนกเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลตากสิน สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

การฟื้นฟูหลอดเลือดสมอง, การรักษาโดยใช้หุ่นยนต์ฟื้นฟู, อาการอัมพฤกษ์ อัมพาตรยางค์ส่วนบน

บทคัดย่อ

โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่มีความสำคัญโดยมีอุบัติการณ์ของการเกิดโรคเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น การสูญเสียการทำงานของรยางค์ส่วนบนทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ ยิ่งแนวโน้มสังคมประเทศไทยกำลังจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ ประชากรในประเทศที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองแล้วไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่แรกจนถึงได้รับการฟื้นฟูจะทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจจากภาวะทุพพลภาพ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าโดยการนำหุ่นยนต์ฟื้นฟูมาใช้นอกเหนือการทำกายภาพบำบัดแบบดั้งเดิม สามารถเพิ่มความแม่นยำและเที่ยงตรง และมีการใช้การจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง ในส่วนของการฟื้นฟูหลอดเลือดสมองที่มีอาการอัมพฤกษ์ อัมพาตรยางค์ส่วนบนที่โรงพยาบาลตากสิน มีการรักษาโดยใช้หุ่นยนต์ฟื้นฟูในรูปแบบ Exoskeletons-based rehabilitation devices และ End-effector-type robotic devices ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์หุ่นยนต์ฟื้นฟูโครงการจุฬาอารีโดยส่งมอบหุ่นยนต์กายภาพบำบัดเพื่อการฟื้นฟูสมรรถนะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการอัมพฤกษ์อัมพาตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หุ่นยนต์ฟื้นฟูได้นำมาใช้ร่วมกับการรักษาแบบดั้งเดิมในคนไข้โรคหลอดเลือดสมองที่มีการอ่อนแรงของรยางค์ส่วนบนในระยะกึ่งเฉียบพลันและระยะเรื้อรังในกรณีที่ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์การรักษา หุ่นยนต์ฟื้นฟูจึงมีความสำคัญเพื่อการช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด ประสิทธิผลของการใช้งานหุ่นยนต์ฟื้นฟูในโรงพยาบาลตากสินในด้านความพึงพอใจในการฝึกพบว่า ผู้ป่วยมีความพึงพอใจหลังรับการฝึกด้วยหุ่นยนต์ในระดับที่สูงในแง่ระยะเวลาในการฝึก ในช่วงการระบาดของการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 .พบว่าในต่างประเทศมีการนำหุ่นยนต์มาใช้ที่บ้าน สำหรับโรงพยาบาลตากสินนั้นมีข้อจำกัดหลายอย่าง การนำมาใช้ต้องดูในแง่บริบทหลายๆอย่างมาประกอบกัน

References

Akbari, A., Haghverd, F., & Behbahani, S. (2021). Robotic Home-Based Rehabilitation Systems Design:

From a Literature Review to a Conceptual Framework for Community-Based Remote Therapy

During COVID-19 Pandemic. Front Robot AI, 8, 612331. doi:10.3389/frobt.2021.612331

Baniqued, P. D. E., Stanyer, E. C., Awais, M., Alazmani, A., Jackson, A. E., Mon-Williams, M. A., . . . Holt, R. J. (2021). Brain–computer interface robotics for hand rehabilitation after stroke: A systematic review. Journal of neuroengineering and rehabilitation, 18(1), 1-25.

Bertani, R., Melegari, C., De Cola, M. C., Bramanti, A., Bramanti, P., & Calabro, R. S. (2017). Effects of robot-assisted upper limb rehabilitation in stroke patients: a systematic review with meta-analysis. Neurol Sci, 38(9), 1561-1569. doi:10.1007/s10072-017-2995-5

Chang, W. H., & Kim, Y. H. (2013). Robot-assisted Therapy in Stroke Rehabilitation. J Stroke, 15(3), 174-181. doi:10.5853/jos.2013.15.3.174

Coupland, A. P., Thapar, A., Qureshi, M. I., Jenkins, H., & Davies, A. H. (2017). The definition of stroke. Journal of the Royal Society of Medicine, 110(1), 9-12.

Fasoli, S. E., Krebs, H. I., Ferraro, M., Hogan, N., & Volpe, B. T. (2004). Does shorter rehabilitation limit potential recovery poststroke? Neurorehabil Neural Repair, 18(2), 88-94. doi:10.1177/0888439004267434

Iqbal, J., & Baizid, K. (2015). Stroke rehabilitation using exoskeleton-based robotic exercisers: Mini Review. Biomedical Research, 26(1), 197-201.

Masiero, S., Celia, A., Rosati, G., & Armani, M. (2007). Robotic-assisted rehabilitation of the upper limb after acute stroke. Arch Phys Med Rehabil, 88(2), 142-149. doi:10.1016/j.apmr.2006.10.032

Naghdi, S., Ansari, N. N., Mansouri, K., & Hasson, S. (2010). A neurophysiological and clinical study of Brunnstrom recovery stages in the upper limb following stroke. Brain Inj, 24(11), 1372-1378. doi:10.3109/02699052.2010.506860

Seth, N., Johnson, D., Taylor, G. W., Allen, O. B., & Abdullah, H. A. (2015). Robotic pilot study for analysing spasticity: clinical data versus healthy controls. J Neuroeng Rehabil, 12, 109. doi:10.1186/s12984-015-0103-8

Villafane, J. H., Taveggia, G., Galeri, S., Bissolotti, L., Mulle, C., Imperio, G., . . . Negrini, S. (2018). Efficacy of Short-Term Robot-Assisted Rehabilitation in Patients With Hand Paralysis After Stroke: A Randomized Clinical Trial. Hand (N Y), 13(1), 95-102. doi:10.1177/1558944717692096

Yue, Z., Zhang, X., & Wang, J. (2017). Hand Rehabilitation Robotics on Poststroke Motor Recovery. Behav Neurol, 2017, 3908135. doi:10.1155/2017/3908135

Zhang, K., Chen, X., Liu, F., Tang, H., Wang, J., & Wen, W. (2018). System Framework of Robotics in Upper Limb Rehabilitation on Poststroke Motor Recovery. Behav Neurol, 2018, 6737056. doi:10.1155/2018/6737056

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-25