ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนชุมชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • สุรางคนา ไชยรินคำ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ณัฐชนน มีสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • เกสรา สมสุวรรณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ณัฐชยา อิยวญชัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • นภัสนันท์ จินณรักษ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • มลธิราวัลย์ กุหลาบแก้ว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สุพัตรา ละออง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ณรงค์ ใจเที่ยง สถาบันพระบรมราชชนก
  • รสรินทร์ แก้วตา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ปฏิพัทธ์ วงค์เรือง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • อรทัย เกตุขาว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, จังหวัดพะเยา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 290 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติไคสแควร์ ระยะเวลาในการศึกษา เริ่มตั้งแต่ 22 พฤศจิกายน 2564 – 20 กุมภาพันธ์ 2565 

ผลศึกษา พบว่าเป็นเพศหญิง ร้อยละ 64.8 อายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 56.2 สำเร็จการศึกษาขั้นอุดมศึกษา ร้อยละ 53.4 ไม่มีการประกอบอาชีพ ร้อยละ 51.0 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนสูงกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 63.8 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 82.4 มีประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 67.9 มีความรู้กับได้รับผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 63.8 กับ 55.9 มีทัศนคติที่เกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 84.5 และมีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 53.8 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า เพศ กลุ่มอายุ การศึกษา รายได้ ประวัติการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และทัศนคติ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของกลุ่มตัวอย่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนกลุ่มอาชีพ โรคประจำตัว ความรู้ และผลกระทบการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  

ข้อเสนอแนะควรมีประสานงานกับผู้นำชุมชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดกิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาทัศนคติที่ถูกต้องให้แก่กลุ่มประชาชนในพื้นที่ที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อใช้ประกอบการกำหนดการแก้ไขปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่ประชาชนให้เหมาะสมต่อไป

References

Amorn Tongsiri Wuttiphong Phakdeekul Warinmad Kedthongma (2020). Factors Related to Alcohol Drinking Among Adolescence in Phanna Nikhom district Sakon Nakhon Province.Research and Development Health System Journal, 13(2), 560-571

Assistant Professor Anon Tangpitakkrai and faculty. Behavior and effects of drinking alcohol of youth at the Entertainment Monsoon festival in Sisaket Province. Faculty of Humanities and Social Sciences, University Sisaket Rajabhat

Blaker Brownell (1950) and Lofauist (1983). Concept and meaning of community and community

development of Ban Jomyut.. Can be accessed from https://www.baanjomyut.com/library_3/

Cronbach. (1951). Reliabilityof Questionnaire inQuantitative Research. 27(1), 145-163

Graduate Studies, Mahachulalongkornrajavidyalaya University, 6(4), 282-296

Kitti Laosupap Pawena Limpiteeprakan Sanga Tubtimhin. (2021) . Development of social measures for prevention and reduction the effects of alcohol consumption in Nonnon Sub-district, Warinchamrab District Ubon Ratchathani Province . Journal of Medicine and Public Health, Ubon Ratchathani University, 4(2), 57-66

korntanatouch Panyasai and faculty. (2018). Compare the results of Knowledge attitude and rejection behavior with the risk drinking alcohol in high school student Pak Thong Chai district, Nakhon Ratchasima province . Research and development towards sustainable social mobility , The National Conference of Nakhon Ratchasima College 5, 369-384

Krejcie and Morgan. (1970). Sample SizeDetermination from Krejcie and Morgan (1970)

Approach in Quantitative Research. 112-125

Liquor Distillery Organization. (2017). The importance of alcohol. Chachoengsao

Mr. Puchapong Nodthaisong. ,(2017). The Bureau of Statistics released a survey of binge drinking habits. Bangkok:Statistics Office National Privacy Policy

Office of the Alcoholic Beverage Control Board.(2017). Beverage Control Performance Report alcohol. Office for National Statistics.

Onucha Yusakul and Faculty. (2019). The negative effects of social from alcoholic and non alcoholic in

Nakhon Si Thammarat province area. Alcohol Problem Researcher center (SVP), Office of

Health Promotion Fund Southern Technological Collage.

Rujapa chirapradispol. (2018). Prevalence and factors associated with alcohol consumption habits of a new drinker. In high school students affiliated with Bangkok. Journal of Nursing Public Health, 32(2), 155-171

Tepthai Chotichai and Saranyu Multaphun (2019). Factors related to alcohol drinking behaviors among

high school students in Meang Khon Kean Municipality journal

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-20