สถานการณ์วัณโรคดื้อยาในผู้ป่วยวัณโรคที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • สุชญา รักษ์ศรี โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
  • พิมาน ธีระรัตนสุนทร สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • จุฑารัตน์ สถิรปัญญา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • สุภา เพ่งพิศ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

สถานการณ์, วัณโรคดื้อยา, ผู้ป่วยวัณโรค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective case –study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์วัณโรคดื้อยาในผู้ป่วยวัณโรคที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ เก็บข้อมูลจากผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคดื้อยาทุกประเภททั้งหมด ในคลินิกผู้ป่วยวัณโรคจำนวน 44 ราย ที่ขึ้นทะเบียนรักษา ตั้งแต่วันที่ 1 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึงวันที่ 30 เดือนกันยายน พ.ศ. 2562 โดยเก็บข้อมูล เวชระเบียนบันทึกข้อมูลประวัติการรักษาผลห้องปฏิบัติการโรคร่วมในระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาลหาดใหญ่ และจากโปรแกรม NTIP (National Tuberculosis Information Program) ของสำนักวัณโรค วิเคราะห์ ทางสถิติโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยวัณโรคที่มารับรักษาที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ จำนวนทั้งสิ้น 3,084 ราย และเป็นการติดเชื้อวัณโรคดื้อยาจำนวน 44 ราย อัตราส่วนผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาในชาย : หญิง ประมาณ 3 : 1 และความชุกของกลุ่มผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาอยู่ที่กลุ่มอายุ 30 – 44 ปี อัตราการติดเชื้อวัณโรคดื้อยาโดยรวม 5 ปี ร้อยละ 1.43 โดยอัตราการ     ติดเชื้อวัณโรคดื้อยาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 – 2562 จำแนกรายปีงบประมาณ มีอัตราการติดเชื้อวัณโรคดื้อยาอยู่ในช่วงร้อยละ 1.06 ถึง 2.05 ประวัติการป่วยวัณโรคพบว่า เกือบทั้งหมดเคยมีประวัติการป่วยและการรักษาวัณโรคมาก่อนร้อยละ 93.18  พบว่าเป็นผู้ป่วย ที่มีการติดเชื้อเอชไอวีร่วมกับวัณโรค ร้อยละ 25.00 ขึ้นทะเบียนประเภทผู้ป่วยกลับเป็นซ้ำ (Relapse) มากที่สุด ร้อยละ 29.54 ผลการตรวจความไวต่อยาพบดื้อต่อยา INH และ Rifampicin ร้อยละ 88.64 การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์วัณโรคดื้อยาของโรงพยาบาลหาดใหญ่ มีอัตราการติดเชื้อวัณโรคดื้อยามีการเพิ่มขึ้นและลดลงสลับกันไม่มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน พบความชุกของกลุ่มผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาอยู่ที่กลุ่มอายุ 30 – 44 ปี การที่สภาพปัญหามีมากในกลุ่มอายุนี้จะมีผลเชิงลบต่อการประกอบอาชีพและการหารายได้ ประวัติการป่วยวัณโรคพบว่าเกือบทั้งหมดเคยมีประวัติการป่วยและการรักษาวัณโรคมาก่อน มีการติดเชื้อเอชไอวีร่วมกับวัณโรคมากถึง 1 ใน 4 ของผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาทั้งหมด ดังนั้น ในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีต้องได้รับการคัดกรองวัณโรคและการคัดกรองวัณโรคระยะแฝงทุกรายเพื่อให้เข้าสู่การรักษากินยาโดยเร็ว นอกจากนี้ควรมีการพัฒนารูปแบบการติดตามกำกับการกินยารักษาวัณโรคของผู้ป่วย เพื่อเพิ่มประสิทธิผลการกินยาของผู้ป่วยวัณโรค ส่งผลต่อลดอุบัติการณ์การเกิดวัณโรคดื้อยาต่อไป

References

Anuwatnontakate A., Suriyon N., Jatuporn P. and Tapakorn R. (2017). Situation of resistant drug and Multidrug-resistant Tuberculosis patients care management factors associated with Multi-resistant drug Chaingrai Hospital in the year 2012-2015. Full text of master degree thesis, Mae Fah Luang University. (In Thai).

Department of Disease Control. (2008). National guideline for multi-drug resistant tuberculosis. Bangkok: Art and graphic design (in Thai).

Department of Disease Control. (2021). Report of Multi-drug resistant tuberculosis. Retrieved on 1 May from https://www.tbthailand.org/download (in Thai).

Department of Disease Control. (2021). Tuberculosis Situation and Surveillance, Extensively drug-resistant Tuberculosis in Thailand. Nonthaburi: Ministry of Public Health. (in Thai).

Jamjan S. (2019). Situation of Multidrug-resistant Tuberculosis Patients in Health area 4 in 2017-2020. Retrieved on 4 April from Journal https://www.hitap.net/wp-content/uploads/2018/08/Full-report TB.pdf (In Thai).

Kerdpan M., Sompeerawong P. (2014) Situation and factors relayed to success treatment for registered multidrug-resistant tuberculosis (MDR-TB) in general hospital, Health service area 6. Thai Journal of Tuberculosis Chest Disease and Critical Care. 34(3): 95-102. (in Thai).

Maokamnerd Y., Kampeera S., Kavinum S., Aimrod K., and sawasdipong W. (2015). Situation of Multidrug-resistant Tuberculosis Patient Tak province in 2012. Thai Journal of Tuberculosis Chest Disease and Critical Care. 2018; 35(1): 8-16. (In Thai).

Monchatree P., Changkaew K. (2020) Multidrug-resistant tuberculosis (MDR-TB) and treatment costs in tuberculosis-clinic, Maharaj Nakhon Ratchasima Hospital, 2013-2015. Disease Control Journal. 46(2): 173-212. (in Thai).

Pinyochotiwong C. (2018). Prevalence and Risk Factors of Multidrug-resistant Tuberculosis Patients in Charoenkrung Pracharak Hospital. Journal of Charoenkrung Pracharak Hospital 2018; 14(2): 1-10. (In Thai).

Tanprasert S., Uthaipiboon J., Totsapornpong K. Sukasit J., and Julavate W. (2017). Descriptive epidemiology for Multidrug-resistant Tuberculosis Patients in Magalak Hospital. Journal of Disease Control 2018; 43(4): 400-412. (In Thai).

Word Health Organization. 2018. Global tuberculosis report 2018. Geneva: World Health

Organization; 2018.

World Health Organization. (2019). Multidrug and extensivelydrug-resistant TB (M/XDR-TB) global report onsurveillance and response 2019. World Health Organization.

Word Health Organization. (2020). Global tuberculosis report 2020. Geneva: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-20