ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากและปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกัน โรคฟันผุในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เขตชนบท จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก / พฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุ / นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นบทคัดย่อ
การวิจัยภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก ระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุและปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เขตชนบท จังหวัดอุบลราชธานี สุ่มตัวอย่างแบบหลาย จำนวน 402 คน จากนักเรียน 18,042 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุด้วย Multivariable linear regression
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 50.75 มีอายุเฉลี่ย 13.97 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มากที่สุด ร้อยละ 39.80 ผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 63.43 จบการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุด ร้อยละ 49.75 ส่วนใหญ่นักเรียนไม่ได้พักอาศัยอยู่กับพ่อแม่ ร้อยละ 55.47 ไปใช้บริการทางทันตกรรมเมื่อมีอาการผิดปกติเท่านั้น ร้อยละ 81.84 โดยไปรับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมากที่สุด ร้อยละ 48.25 และส่วนใหญ่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 96.27 มีพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 75.37 ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 70.90 โดยตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุ ได้แก่ ทักษะความรู้ ความเข้าใจข้อมูล (B = -0.73, 95%CI = -0.90 - -0.57) การพักอาศัยกับพ่อแม่ (B = 3.53, 95%CI = 1.12-5.93) และรับบริการทันตกรรมที่โรงเรียน (B = 5.86, 95% CI = 1.44-10.28) ตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถอธิบายความผันแปรของคะแนนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุได้ร้อยละ 20
ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมการเรียนรู้ โดยการให้ข้อมูลความรู้เรื่องโรคฟันผุกับผู้ปกครองที่ไม่ใช่พ่อแม่โดยตรง เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุที่ดี และสนับสนุนให้มีหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ที่โรงเรียน เพื่อส่งเสริมการป้องกันโรคฟันผุในกลุ่มวัยนี้ลดการเกิดโรคฟันผุ ในฟันแท้และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการไปรับบริการทางทันตกรรม
References
Best, J. W. (1981). Research in education: 3rd ed. Prentice-Hall.
Bloom. (1971). Mastery learning. Holt, Rinehart & Winston.
Bureau of Dental Health, Department of Health. (2018). Report of the results of the 8th National Oral Health Survey, Thailand, 2017. Bangkok: Sam Charoen Panich. (in Thai)
Charophasrat, S. (2019). Development of Oral Health Literacy Measure for Adult Dental Clients in The Context of Thai Society. Master of Science Thesis: Prince of Songkla University. (in Thai)
Cohen, J. (1992). “A power primer”, Psychological Bulletin. 112(1): 155–159.
Darun, P. & Krairat., P. (2019). Health Literacy Factors Influencing on Health Behavior of Population in Bueng Kan Province. Journal of Department of Health Service Support, 15(3): 71-82. (in Thai)
Department of Health. (2017). Mobility of Health Awareness and Health Communication Department of Health. Retrieved 5 April 2022, from http://doh.hpc.go.th/data/HL/HL_DOH_drive.pdf. (in Thai)
Department of Health. (2018). Thai children with dental caries Big problems affecting the future. AnamaiMedia. Retrieved 5 April 2022, from https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/kid-and-decay-tooth/. (in Thai)
Hayden, J. (2008). Introduction to Health Behavior Theory. Sudbury Mass: Jones & Bartlett Learning.
Health Education Division. (2016). Campaign activities - clean teeth - strong gums. Retrieved 10 August 2022, from http://www.hed.go.th/news/5098.
Hengtrakunvenit, K., Pormchat, K. & Phungpisan, R. (2020). Oral health promotion, oral health literacy, dental caries and quality of life among 12-year-old children, Klonglan district, Kamphangphet province. Thai Dental Public Health Journal, 25, 27–40. (in Thai)
Horowitz, A. M. and Kleinman, D. V. (2008). Oral health literacy: The new imperative to better oral health. Dental Clinics of North America, 52(2): 333–344.
Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health. (2020). HDC Ministry of Public Health. Retrieved 1 July 2021, from https://shorturl.asia/DwMqm. (in Thai)
Osborne, R.H., Batterham, R.W., Elsworth, G.R., Hawkins, H. & Buchbinder, R. (2013). The grounded psychometric development and initial validation of the Health Literacy Questionnaire (HLQ). BMC Public Health, 13(1), 658-675.
Rongmuang, S., (2018). Applying Health Promotion Theories for Behavioral Modification to Prevent and Control Obesity. The Journal of Prapokklao Hospital Clinical Medical Education Center, 35(1): 87–102. (in Thai)
Sarae, R., Kanchanapoom, K. & Tansakul, K. (2021). Oral Health Literacy and Oral Health Care of Early Adolescents in Yala Province. Journal of Council of Community Public Health, 3(3), 27–39. (in Thai)
Sodsee, A., Nakorn, N. N. & Ngudgrtoke, S. (2019). Assessment of oral health literacy of primary school students. Thai Dental Nurse Journal, 30(2), 80–91. (in Thai)
SodSee, A. (2020). Oral Health literacy and Experience in Dental Treatments of Grade 4-6 Students in Suphanburi Province. Journal of Council of Community Public Health, 2(1), 18–28. (in Thai)
Sornchom, P. & Chatiketu, P. (2022). Relationship between Caregiver Oral Health Literacy and Dental Caries Status of Pre-school Children in Kongkrailas District, Sukhothai Province. The Journal of the Dental Association of Thailand, 72(2): 329-339.
Suwakhon, N. & Wongsawat, P. (2018). Factors Influencing Tooth Cleaning Behaviors for Dental Caries Prevention of Grade 6 Students in Muang District, Phitsanulok Province. EAU Heritage Journal Science and Technology, 12(2), 273–286. (in Thai)
Veerasamy, A., Kirk, P. R., & Gage, P.J. (2019). Oral Health Literacy of Adolescents of Tamil Nadu, India. Scholars Journal of Dental Sciences, 3(4), 112–120.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข