ผลของโปรแกรมอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพต่อความรู้ เจตคติ และทักษะการช่วย ฟื้นคืนชีพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • นาตยา ดวงประทุม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ทัศพร ชูศักดิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ทิวากร พระไชยบุญ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การช่วยฟื้นคืนชีพ, ความรู้, เจตคติ, ทักษะช่วยฟื้นคืนชีพ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ เจตคติ และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการอบรมช่วยฟื้นคืนชีพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดปทุมธานี จำนวน 37 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบความรู้ แบบสอบถามเจตคติ และแบบประเมินทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน แบบสอบถามมีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง 0.70-1.00 และมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด และสถิติการเปรียบเทียบแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Pair t-test)  ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีคะแนนเฉลี่ยความรู้ด้านการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน เจตคติต่อการช่วยฟื้นคืนชีพ และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน หลังการเข้าร่วมโปรแกรมอบรมมากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ผลคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมของความรู้ เท่ากับ 4.91 และ 12.16 ทัศนคติ เท่ากับ 3.25 และ 3.82 และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานเท่ากับ 1.68 and 2.72 ตามลำดับ ดังนั้น โปรแกรมอบรมส่งผลให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้เพิ่มขึ้น มีเจตคติที่ดีและมีทักษะในการปฏิบัติที่ถูกต้อง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริงได้

References

American Heart Association. (2021). CPR & First Aid Emergency Cardiovascular Care. [cited 2021 Nov 29], Available from https://cpr.heart.org/en/.

Best, J. (1981). Research in Education. (4th ed). London: Prentice- Hall International.

Bloom, B. S. (1986). Learning for Mastery. Evaluation comment. Center for the Study of Instruction Program. University of California at Los Angeles.

Department of Health Service Support. Ministry of Public Health. (2021). Village Health Volunteers report at the provincial level, Pathum Thani. Retrieved 29th November, 2021 from https://www.thaiphc.net/new2020/manual. (In Thai)

Department of Health Service Support. Ministry of Public Health. (2011). New Era Hand book for Village Health Volunteers. Bangkok: Agricultural Cooperative Association of Thailand. (In Thai)

Hisham A, Natenapha K, and Jintana D. (2020) Effect of a Self-Efficacy Enhancement Program on Capability of Trauma Patient Care on Scene and During Transfer by Emergency Medical Technician Personnel. Songklanagarind Journal of Nursing: 40(3), 15-25. (In Thai)

Napaporn L, Yothaka P and Pregamol R. (2015). Effectiveness of a Capacity Building Program for Village Health Volunteers on Knowledge and Attitude Toward Emergency Medical Services of People in Nongsua District, Pathumthani Province. Nursing Journal: 42(3), 106-118. (In Thai)

Natnapa S Thassaporn C and Aree S. (2020). Effect of The Resuscitation Training Program on Knowledge and Skills and Perceived Self-Efficacy of Resuscitation Village Health Volunteers in Khlong Chik Subdistrict, Bang Pra in District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Journal of The Royal Thai Army Nurses: 21(3): 283-293. (In Thai)

Pimradar S. (2018). A Development on Knowledge and Understanding of the Department of Disease Control’s Employee towards the Cardiopulmonary Resuscitation and the use of the Automated External Defibrillator. Journal of Interdisciplinary Research: Graduate Studies: 7(2), 35-41. (In Thai)

Praphai B, Patcharee P, Nattaporn P. Caring for cardiac arrest patients in the Accident and Emergency Department Jainad Narendra Hospital. [Internet]. 2017 Retrieved 11th January, 2021 from http://www.chainathospital.org/chainat/web/assets/ research/research1.pdf 3-4. (In Thai)

Sasithon T. (2021). Effectiveness of Basic Life Support Program on perception of Knowledge, Perceived Self-Efficacy and Skills toward Basic Life Support among High-School Students in Amphoe Khlong Luang, Pathumthani Province. Journal of Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi Province: 4(2), 111-126. (In Thai)

Siamrathonline. (2020, 3rd November). Police provide basic life support training. Siamrath Newspaper. Retrieved 29th November,2021 from https://siamrath.co.th/n/194500. (In Thai)

Thayuta I, Phawinee P, and Doonsopa C. (2018). Relationships Between Knowledge, Attitude, Perceived Self-Efficacy and Capabilities for Basic Life Support among Cardiovascular Disease Caregivers. Journal of The Royal Thai Army Nurses: 19(พิเศษ), 139-148. (In Thai)

Woravut K and Hathaikarn K. (2021). The project to expand the community capacity development project to help the primary resuscitation in the area of San Sai District Chiang Mai Province. Chaing Mai: Siampimnana Company Limited. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-30