11 แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการคว้าทุนอุดหนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกสถาบัน

ผู้แต่ง

  • ประกฤต ประภาอินทร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • สมตระกูล ราศิริ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • พยงค์ เทพอักษร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ, ทุนอุดหนุนการวิจัย, แหล่งทุนภายนอกสถาบัน, มหาวิทยาลัย, คณะสาธารณสุขศาสตร์

บทคัดย่อ

มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีภารกิจและหน้าที่สำคัญประการหนึ่งนอกเหนือจากการผลิตบัณฑิต การบริการวิชาการ การทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม คือการศึกษาวิจัย ซึ่งต้องสอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นของประเทศ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาและแก้ปัญหาของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ และความเจริญงอกงามทางวิชาการ (Higher Education Act B.E. 2562, 2019) พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ได้มีการกำหนดเจตนารมณ์ให้มหาวิทยาลัยเป็นกำลังสำคัญในการบุกเบิก แสวงหาความรู้ใหม่ วิจัยและพัฒนาสู่การสร้างนวัตกรรม ตลอดทั้งการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมของอาจารย์และนักวิจัยในมหาวิทยาลัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ การพัฒนานโยบาย สังคม และชุมชน (Office of the Council of State, 2019) และที่สำคัญ คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้กำหนดมาตรฐานตัวบ่งชี้ที่ 5.1 ข้อที่ 5 การกำกับติดตาม ส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในสถาบันมีการจัดการความรู้ตามระบบ โดยสถาบันต้องมีการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) ด้านการวิจัย และตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไก      การพัฒนางานวิจัย สถาบันต้องมีการบริหารจัดการงานวิจัยที่มีคุณภาพ โดยมีแนวทางการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและมีกลไกส่งเสริมสนับสนุนอย่างครบถ้วน รวมถึงการสนับสนุนในการจัดหาทุนอุดหนุนการวิจัย (Office of the Higher Education Commission, 2017)

จากการบ่งชี้ความรู้ในกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) ภายใต้การกลั่นกรองและรับรองโดยคณะกรรมการบริหารคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก (สบช.) คณะทำงานการจัดการความรู้ระดับคณะและคณาจารย์ในสังกัดคณะได้ร่วมกันวิเคราะห์ระบุส่วนขาดของความรู้ที่ต้องการจำเป็นและสรุปมติว่า อาจารย์ในสังกัดคณะต้องมีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการหาทุนอุดหนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกสถาบัน เพื่อให้อาจารย์ภายในคณะสามารถนำความรู้ที่ได้จาก KM ไปใช้เป็นประโยชน์แล้วก่อให้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้นในการทำงาน นอกจากนี้ แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศเป็นสิ่งสนับสนุนที่สำคัญอย่างยิ่งแก่อาจารย์และนักวิจัยให้ทำงานแล้วสามารถประสบความสำเร็จซ้ำ ๆ (Kahn, Barczak, Nicholas, Ledwith, & Perks, 2012)

ในบทความนี้ ผู้เขียนจึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการคว้าทุนอุดหนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกสถาบัน โดยผู้เขียนได้พัฒนาความรู้ต่อยอดจากผลงานของตนเอง Prapha-inthara & Rasiri (2021) ที่ได้มาจาก KM ในระยะแรก พ.ศ. 2564 เรื่อง “10 แนวปฏิบัติที่ดีในการหาทุนอุดหนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกสถาบัน” อาจารย์ในมหาวิทยาลัย นักวิจัย และนวัตกรจะได้รับประโยชน์จากงานเขียนนี้ เกิดความเชื่อใน  การประสบกับความสำเร็จจากการทำงานว่า ตน (อาจารย์/นักวิจัย/นวัตกร) สามารถขอรับทุนสนับสนุนโครงการวิจัยและนวัตกรรมจากผู้ให้ทุนได้เป็นผลสำเร็จ และนำไปสู่การช่วยปรับกระบวนทัศน์แก่นักวิจัยและนวัตกรต่อไป

References

American Productivity and Quality Center. (1999). What is benchmarking. Retrieved from www.apcq.com

Camp, R. (1989). Benchmarking: The search for industry best practices that lead to superior performance. Wisconsin: ASQ Quality Press.

Higher Education Act B.E. 2562. Government Gazette. 136(57a.) 1 May 2019: 54-78. (In Thai)

Kahn, K. B., Barczak, G., Nicholas, J., Ledwith, A. & Perks, H. (2012). An examination of new product development best practice. Journal of Product Innovation Management, 29(2), 180-192.

Learning Research Institute. (2019). Handbook on the best practices accreditation system. Bangkok: Learning Research Institute. (In Thai)

Mae Fah Luang University. (2019). Interview dialogues of top 5 researchers within Mae Fah Luang University who received research funds from external funding sources in the budgetary year 2019. Chiang Rai: Research and Innovation Institute, Mae Fah Luang University. (In Thai)

Office of the Council of State. (2019). The purposes of Higher Education Act B.E. 2562. Bangkok: Education and Cultural Law Division, Office of the Council of State. (In Thai)

Office of the Higher Education Commission. (2017). Manual for the internal quality assurance for higher education institutions (3rd ed.). Bangkok: Internal Quality Assurance Committee at the Level of Higher Education Institution, Higher Education Commission. (In Thai)

Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. (2018). Knowledge management of applying external research grants. Phranakhon Si Ayutthaya: Faculty of Humanities and Social Sciences, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. (In Thai)

Prapha-inthara, P. and Rasiri, S. (2021). The ten good practices of seeking research funds from external funding sources, Thai Journal of Public Health and Health Sciences, 4(2), 237-241. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjph/article/view/252923/172049 (In Thai)

Sirindhorn College of Public Health of Phitsanulok Province. (2022a, May 26). Live talk and the First Knowledge Management Forum (in the morning sector): Best practices of seeking research funds from external funding sources [Video]. Retrieved from https://drive.google.com/file/d/1o-d_M7ZceborjokYJ1_B6scenVAtR98P/view?usp=sharing

Sirindhorn College of Public Health of Phitsanulok Province. (2022b, May 26). Live talk and the First Knowledge Management Forum (in the afternoon sector): Best practices of seeking research funds from external funding sources [Video]. Retrieved from https://drive.google.com/file/d/1ylxH3Ts93n0AOTOIJVlQIONRfjz-9LBP/view?usp=sharing

Sirindhorn College of Public Health of Phitsanulok Province. (2022c, May 27). Live talk and the Second Knowledge Management Forum: Best practices of seeking research funds from external funding sources [Video]. Retrieved from https://drive.google.com/file/d/1KKeVDDTxoXwf5ESWjyuHGA123YtDhQcz/view?usp=sharing

Sirindhorn College of Public Health of Phitsanulok Province. (2022d). KM Tank of PI Fact. of PHAS. Retrieved from https://drive.google.com/drive/folders/1Tp-WNcqfHUgXniZ17_R8_MeVj2BlNy5P

Wettayaprasit, W. (2020). ). Knowledge management. Songkla: Department of Computer Science, Faculty of Science, Prince of Songkla University. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30