ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลตนเองของประชาชน จังหวัดปราจีนบุรีในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • สุวพิชชา เรืองสงคราม หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ธัญญะ พรหมศร หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสุขภาพ , สมุนไพร , การดูแลตนเอง , โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

ปัจจุบันทั่วโลก และประเทศไทยยังคงประสบปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนมายาวนาน และทำให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ถึงการดูแลสุขภาพด้วยตนเองมากขึ้น งานวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลตนเองของประชาชนจังหวัดปราจีนบุรีในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลตนเองของประชาชน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลตนเองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยงเนื้อหาและความเที่ยงด้วยวิธีของครอนบาคแอลฟ่า ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.923 เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบไคสแควร์ และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในระยะก่อนและหลังติดเชื้ออยู่ในระดับต่ำ และระยะติดเชื้ออยู่ในระดับปานกลาง การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยนำพบว่า ความรู้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในทิศทางลบระดับต่ำ ทัศนคติ และการรับรู้ประโยชน์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในทิศทางบวกระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ปัจจัยเอื้อ พบว่าช่องทางการเข้าถึงสมุนไพร ราคา และการส่งเสริมการขายมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในทิศทางบวกระดับต่ำ ปัจจัยเสริมพบว่า การได้รับข้อมูลจากสื่อบุคคล สื่อเฉพาะกิจ และสื่อมวลชนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในทิศทางบวกระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p < 0.001) จากการค้นพบของงานวิจัยนี้ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน ควรส่งเสริมและให้ความรู้การใช้สมุนไพรดูแลตนเองที่ถูกต้องแก่ประชาชนในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019

References

Center for COVID-19 Situation Administration. (2021). Cases of COVID-19 in Thailand. Retrieved 10 September 2021, from https://www.facebook.com/informationcovid19. (in Thai)

Department of Disease Control. (2021). Thailand Situation of COVID-19. Retrieved 13 September 2021, from https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard. (in Thai)

Department of Thai Traditional and Alternative Medicine. (2021). Guidelines of Thai Traditional and Alternative Medicine on the Prevention of the Spread of COVID-19. Nontaburi: Ministry of Public Health.

Khumsaen, N. (2021). Knowledge, Attitudes, and Preventive Behaviors of COVID-19 among People LivinginAmphoeU-thong, Suphanburi Province. Journal of Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi Province, 4(1), 33-48. (in Thai)

Likert, R., (1967). Attitude Theory and Measurement. (Ed.). New York: Wiley & Son.

Mattavangkul, C., Kawitu, K., Deenoo, S., Sinwannakool, S. (2019). Factor Related to Herbal Use Behavior for Self-care among People in Phasi-Chareon District. Journal of Nursing, Siam University, 20(39), 99-109. (in Thai).

Ministry of Public Health. (2016). Herbal City. Retrieved 13 September 2021, from https://nph.dtam.moph.go.th. (in Thai)

Mueangchang, W., (2016). Factors Related to Self Treatment with Herbal Remedies of People in Mea Chai District, Phayao Province. Pathumthani: Thammasat University. (in Thai)

National Statistical Office. (2010). Population Statistics Prachinburi Province. Retrieved 10 September 2021, from http://statbbi.nso.go.th. (in Thai)

Pharmaceutical Division and Thai Traditional and Alternative Medicine Division. (2021). Guidelines Using Herb for Health Care in the Pandemic Situation of Coronavirus Disease 2019. Prachinburi: Chaophraya Abhaibhubejhr Hospital. (in Thai)

Soltani, A., Jaam M., Nazar Z., Stewart D. & Shaito A. (2022). Attitudes and beliefs regarding the use of herbs and supplementary medications with COVID-19. Elsevier Public Health Emergency Collection, 20(7): 1-13.

Waedueramae, R., Kaewsuksai, R., Kongkun, P., Suwankanjana, A., Chaiprasit, K. (2021). Relationships between Knowledge, Perception and "New Normal Behaviors" on COVID-19 Prevention among Nursing Students, Faculty of Nursing, Princess of Naradhiwas University. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 8(2), 80-92. (in Thai).

Wetchakul, P., Mueangchang, W., Poobantad, J., (2021). Factors Related Local Herbal Use Behavior Towards Self Care among Village Health Volunteers in Mae-Rai, Mae-Jan District, Chiang-Rai. Rajabhat Chiangmai research journal, 22(3), 159-173. (in Thai).

Worapisuttiwong, N. (2011). Factors Relating Self – care Behaviors concerning ThaiTraditional Medicine of Suan Sunandha Rajabhat University Personnel. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University. (in Thai)

World Health Organization. (2021). Global Situation of Coronavirus (COVID-19). Retrieved 13 September 2021, from https://covid19.who.int.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-25