การพัฒนารูปแบบการดำเนินการนโยบายเศรษฐกิจสุขภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และวัฒนธรรมในสถานการณ์ COVID-19 ภายใต้มาตรการด้านสาธารณสุข : กรณีศึกษา Sandbox เชียงคาน จังหวัดเลย ตามวงจรคุณภาพ PDCA

ผู้แต่ง

  • วัชรี แก้วสา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย
  • จิตภินันท์ แสนหลวงอินทร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย
  • รัตติยา บุญเกียรติบุตร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย
  • นิติรัตน์ มีกาย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

PDCA, เชียงคาน, ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, โควิด 19

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบ Retrospective research ทำการศึกษาจากข้อมูลย้อนหลังของรูปแบบการพัฒนาตามวงจรคุณภาพ PDCA (Deming Cycle) 4 ขั้นตอน คือ วางแผน (Plan) ปฏิบัติ (Do) ตรวจสอบ (Check) และปรับปรุง (Act) ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยคณะผู้วิจัยทำการศึกษาจากข้อมูลเอกสารย้อนหลังการดำเนินการในการพัฒนารูปแบบตามวงจรคุณภาพ PDCA ประกอบด้วย 1) นโยบายของหน่วยงาน 2) สรุปรายงานการประชุม 3) แผนการดำเนินการ และ4) สรุปผลการดำเนินการ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Analytical Description) เครื่องมือที่ใช้ทำการศึกษาจากเอกสารและสรุปการประชุมของการดำเนินงาน ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการดำเนินการนโยบายเศรษฐกิจสุขภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและวัฒนธรรมในสถานการณ์ COVID-19 ภายใต้มาตรการด้านสาธารณสุข กรณีศึกษา Sandbox เชียงคาน จังหวัดเลย ตามรูปแบบการพัฒนาตามวงจรคุณภาพ PDCA (Deming Cycle) ช่วยทำให้การดำเนินสำเร็จเป็นไปตามแผนและเป้าหมายที่วางไว้สามารถนำมาเป็นแนวทางปฏิบัติหรือทางเลือกในการดำเนินการในลักษณะงานที่ต้องวางแผนการดำเนินการและประเมินผลเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพได้

References

Department of Tourism. (2018). The Master Plan under the National Strategy, Issue 05. From http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2021/02/NS-05_222-277.pdf

Department of Health Service Support. (2021). Board of Directors Meeting to Develop Thailand as an International Health Center (Medical Hub Policy). From https://shorturl.asia/5AawM

Loei Province. (2018). Provincial Development Plan (2018–2022) Loei Province. From https://www.opsmoac.go.th/loei-strategic-files-431591791797

Preeyanuch honored them, Anyarat Phamonmanop, Wutthipong Yodkham and Pruit Chaidarun. (2022). The Development on Operation Process of GREEN and CLEAN Hospital in Phayao Province. anna Journal of Health Promotion & Environmental Health 12 (1); 13.

Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. (2022). The Ministry of Public Health prepares in 5 areas to support the opening of the country on Nov. 1, reiterates the supervision of strict measures. From https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/04/165966/

Saowanee Chantapong. (2022). The Impact of the COVID-19 Crisis on the Global Economy: This Time is Different.

Thitinudda Singkaew. (2019). The Development of Student Care and Support System by Using PDCA Cycle: Case Study at Watpathung-Huaiyap School, BanthiDistrict, Lamphun Province. Master of Education Program Educational Administration Branch graduate school Chiang Mai Rajabhat University; 88.

TEERAPONG THABIN. (2015). USING THE DEMING CIRCLE (PDCA) OF ACADEMIC ADMINISTRATION IN THE SECONDARY SCHOOL UNDER SECONDARY EDUCATION SER-VICE AREA OFFICE 42. NRRU Community Research Journal 9(2); 74.

TEERAPONG THABIN. (2015). USING THE DEMING CIRCLE (PDCA) OF ACADEMIC ADMINISTRATION IN THE SECONDARY SCHOOL UNDER SECONDARY EDUCATION SER-VICE AREA OFFICE 42. NRRU Community Research Journal 9(2); 75.

Wichian Manlae, Boonying Prathum, Surasak Kaewon and Korakot Chamnian. (2021). People in the situation of the epidemic of COVID-19 Nakhon Si Thammarat Province. Mahachula Journal Nagathat, Year 8, No. 11; 328.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-07