ผลการได้รับความรู้ร่วมกับการออกกำลังกายด้วยท่ากายบริหารมณีเวช ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลอุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • สุวภัทร บุญเรือน วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาจนาภิเษก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วินัย สยอวรรณ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาจนาภิเษก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สุรัสวดี เพชรคง โรงพยาบาลอุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การได้รับความรู้ , การออกกำลังด้วยท่ากายบริหารมณีเวช , กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการให้ความรู้ร่วมกับการออกกำลังกายด้วยท่ากายบริหารมณีเวชต่อระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลอุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  โดยกลุ่มตัวอย่างได้แก่ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน  60 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive Sampling) ตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลอง 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป  แบบบันทึกค่าระดับความดันโลหิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ Paired Sample t- test และ Independent t-test

ผลการให้ความรู้ร่วมกับการออกกำลังกายด้วยท่ากายบริหารมณีเวชต่อระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลอุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่าหลังการทดลองค่าเฉลี่ยระดับค่าความดันโลหิตซีสโตลิคแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 128.03 (𝑥̅  = 128.03)  และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 116.27 (𝑥̅  = 116.27) และหลังการทดลองค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตไดแอสโตลิคแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 80.53 (𝑥̅ = 80.53) และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 72.00  (𝑥̅  = 72.00) ซึ่งกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงมีระดับความดันโลหิตลดลง

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย การออกกำลังด้วยท่ากายบริหารมณีเวชสามารถลดระดับความดันโลหิตตัวบนและตัวล่างในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงได้และสามารถนำท่ากายบริหารมณีเวชมาใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่

References

Department of Thai Teditional and Alternative Medicine. (2016). Guidelines Guide Operating Medicine of Thai Traditional Medicine and Alternative medicine in clinics offering a full range of Thai traditional and Alternative medicine services. Bangkok : Printing Company Sam Charoen Panich Limited. (in Thai)

Sangsawang, T. (2015). Effect of SKT1-3 Meditation Therapy on Blood Pressure Value of Hypertension Patients Chronic Disease Clinic Ban Bueng Hospital Chonburi Province. Rajamangala University of Technology Isan. Sakon Nakhon Campus. (in Thai)

Ningsanond, N. (2011). Simple way to make life easier by Maneevada. Journal of Srinakharinwirot University. (in Thai)

Maneejiraprakarn, P. (2004). Thai-Chinese-Indian Osteopathic Manipulative Medicine (Video). Bangkok: Department of Thai Traditional and Alternative medicine. Ministry of Public Health. (in Thai)

Panwongsa, P. (2016). Effect of Body Balance by Maneevada on Muscular Pains in the Elderly. Phetchabun : Phetchabun University. (in Thai)

Boonngam. L. (2017). Effects of the Qigong Exercise Program on Blood Pressure Levels among Prehypertensive Women in Meuang District, Sing Buri Provinc. Thesis Master of Nursing Science. Burapha University

Kaewmok, W. (2017) The Effect of the Maneeveda exercise Technique on Body Balancing, Flexibility and Strength in Elderly Persons Khunhan Hospital, Si Sa Ket Province. Burapha University. (in Thai)

Khamsanphan, W. (2011). The effect of training with the effective low-impact aerobic dance program On the ability to balance and the weakness of the elderly. Bangkok : Srinakharinwirot University. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-09