การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกเพื่อการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชน เทศบาลเมืองต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สิริยาภรณ์ หม้อกรอง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • สายหยุด มูลเพ็ชร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • สามารถ ใจเตี้ย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

โรคไข้เลือดออก, การเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองของชุมชนต่อการป้องกันควบคุมโรคและระบบเฝ้าระวังไข้เลือดออก เพื่อนำมาประกอบการพัฒนานวัตกรรมแอปพลิเคชันที่ใช้ในการเฝ้าระวัง เตือนภัยในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เทศบาลเมืองต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงโดยการเลือกเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 5 คน ได้แก่ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ทำงานเกี่ยวข้องกับงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และทำการสนทนากลุ่ม 2 กลุ่ม ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน  6 คน และประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 6 คน

เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 - 30 มกราคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาจากมุมมองของชุมชนต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก พบสาเหตุของปัญหาที่สำคัญการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 5 ประการได้แก่ 1.) ด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่เอื้อต่อการระบาดของโรค  2.) การขาดความรู้และความตระหนักของประชาชน 3.) การขาดการมีส่วนร่วมจากชุมชนในการป้องกันควบคุมไข้เลือดออก 4.) ความร่วมมือของแต่ละภาคส่วน 5.) การที่นโยบายการจัดการไม่ครอบคลุมเท่าที่ควร ระบบเฝ้าระวังของพื้นที่ยังขาดการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องทำให้เกิดความล่าช้าในการรายงาน และ มีการใช้ประโยชน์จากระบบการเฝ้าระวังน้อย ดังนั้นควรมีการออกแบบแนวทางแก้ปัญหารูปแบบใหม่สร้างนวัตกรรมที่เป็นมิติใหม่ของระบบเฝ้าระวัง ระบบเตือนภัยที่เน้นการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนให้ประชาชนเป็นส่วนหนึ่งในระบบการเฝ้าระวังเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนเทศบาลเมืองต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

References

Epidemiology Division Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health Ministry of Public Health. (2542). Epidemiological operations manual. (1). Bangkok: Printing House, Shipping and Parcel Organization.

Planning Division, Department of Disease Control, Ministry of Public Health (2561) . National development plan for prevention and control of disease and health hazards for a period of 20 years. (B.E.2560 – 2579). (2). Bangkok: Graphic Font and Design Publishing House.

Division of Insect-borne Diseases, Department of Disease Control (2562). Guidelines and standards for surveying Aedes mosquito larvae for surveillance of infectious diseases carried by Aedes mosquitoes

Division of Insect-borne Diseases, Department of Disease Control (2563). Dengue fever situation, week 46. Retrieved from https://drive.google.com/file/d/11NNlOBvonmLVLLC1WHhlz34pV9dVqiXQ/view

Division of Insect-borne Diseases, Department of Disease Control (2564). Guidelines for surveillance, prevention, and control of infectious diseases carried by Aedes mosquitoes For public health officials 2021. (1). Bangkok: Graphic Font and Design Publishing House.

Division of Insect-borne Diseases Office of Disease Prevention and Control 1 – 12, Urban Disease Prevention and Control Institute (2563). Dengue fever forecast report, year 2020. Retrieved from https://drive.google.com/drive/folders/1LQ_0Xyv4p7nts_EYphQudKIz0Z4SHNm-

Kluang Ungchusak, Chamaiphan Santikan, Prawit Chumkasian, Ongat Charoensuk, Suriya Kuharat, Ladarat Phatinawin,et al., (2542). Epidemiological operations manual (in thai). (1). Bangkok: Printing House, Shipping and Parcel Organization

Nartalada Khanthikun, Prayut Sudathip, Angkana Saecheng, Rungrawee Thipmontri, andWannapa Suwankerd. (2556). Social and environmental factors influencing the outbreak of dengue fever in the northern region. Upper Thailand. Lanna Public Health Journal, 9(1), 23-36.

Boonprajak Chanwin. (2565). The relationship between awareness and behavior to prevent dengue fever among people in districts with high rates of disease. Nakhon Si Thammarat Province. Community Public Health Journal, 8(4), 141-156

Phongrawee Duangdee, Mathurin Maliwan, Panita Krongyuth, andThanomsak Bunshu. (2563). Public participation in prevention and control of dengue fever, Non Phueng Subdistrict, Warin Chamrap District. Ubon Ratchathani Province. Journal of Public Health and Health Sciences, 3(1), 1-12

Patcharanun Wongprasert, Nawarat Suwanphong, Mathuros Thipayamongkolkul, andNopporn Howteerakul. (2559). Results of surveillance operations Prevention and control of dengue fever among village health volunteers Khlong Luang District Pathum Thani Province. Journal of Phrapokklao College of Nursing, Chanthaburi, 27, 56-66

Morakot Norsak. (2552). Community participation in prevention and control of dengue fever, Pa Phai Subdistrict, San Sai District, Chiang Mai Province. (Independent Study, Master of Nursing Degree, Chiang Mai University).

Wittaya Sornkaew. (2565). Factors related to the prevention and control behavior of dengue fever among people in subdistricts with high disease rates, Chawang District, Nakhon Si Thammarat Province. Journal of Health and Education, 2(1), 1-14

Suphansa Atphinyo. (2564). Factors affecting the outbreak and incidence of dengue fever in Phetchaburi Province. (Master's Thesis) Silpakorn University, Phetchaburi.

World Health Organization (2021). Dengue and severe dengue. Retried form https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/dengue-and-severe-dengue

Yiding Zhang, Motomu Ibaraki, Franklin W. Schwartz. (2020). Disease surveillance using online news: Dengue and zika in tropical countries. Journal of Biomedical Informatic, 102(1), 103374

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-20