พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ระยะเข้าสู่โรคประจำถิ่น ของพนักงานโรงงานขนาดใหญ่ในจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • สรัสวดี ธานี ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี
  • ไกรวัลย์ มัฐผา ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อโควิด-19, พฤติกรรมการป้องกันโรค, พนักงานโรงงาน, PRECEDE Framework

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ระยะเข้าสู่โรคประจำถิ่นของพนักงานโรงงานขนาดใหญ่ ในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 370 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนสิงหาคม – กันยายน  พ.ศ. 2565   วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ไคว์-สแคว์ และสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า พนักงานส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 75.9  (=2.97, S.D.=0.19) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ที่ปฏิบัติมากที่สุด คือ หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการคล้ายไข้หวัดหรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ส่วนพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ที่ปฏิบัติน้อยที่สุด คือ การล้างมือทุกครั้งเมื่อหยิบจับเงินเหรียญหรือธนบัตร พบ 6 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.01) ได้แก่ เพศ การรับวัคซีน ประวัติการติดเชื้อโควิด-19 การรับรู้โอกาสเสี่ยง การจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม การสนับสนุนทางสังคมจากโรงงาน

ผลการวิจัยนี้สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนและการจัดสรรทรัพยากร โดยสร้างการรับรู้โอกาสเสี่ยง การจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนทางสังคมอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงการมีส่วนร่วมของคนงานในการป้องกันโควิด-19 ซึ่งช่วยให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันในระยะยาวในหมู่สมาชิกและชุมชนภายในกรอบการทำงานแบบ New Normal

References

Daniel W. W.(2010). Biostatistics : Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9thed). New York : John Wiley & Sons.

Department of Disease Control. (2022). Recommendations for prevention of COVID-19

disease When entering the post-pandemic period. [Internet]. [cited 2022 Aug 22].

Available from https://ddc.moph.go.th/

Department of Health. (2021). Public health recommendations to prevent the spread

of coronavirus disease 2019 For establishments or factories. [Internet]. [cited

Aug 22].Available from https://covid19.anamai.moph.go.th/th/establishments/

Department of Medical Services. (2022). Caring for COVID-19 patients after recovery or long

COVID for doctors and public health personnel. [Internet]. [cited 2022 Aug 22].

Available from

https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=157

Green, L.W., & Kreuter, M.W./ (2005)./ Health Program Planning: An Educational and

Ecological Approach (4 th ed.). New York: McGraw-Hill.

Health and Safety at Work Association (OHSWA). (2020). COVID-19 management guide for

business establishments. [Internet]. [cited 2022 Aug 22]. Available from

https://www.ohswa.or.th/

Kotpan, K. & Junnua, N. (2022).Associated between Health Literacy and Coronavirus Disease

Prevention Behavior among People in Mukdahan Province. The 16th National

Academic Conference grants research during 11-12 July 2022 at UbonRatchathani

University and Research and Innovation for Sustainable Development Goals in the Next

Normal. p.148-60. (in Thai).

Ministry of Public Health. (2022). COVID- 19 situation report. [Internet]. [cited 2022 Aug 22].

Available from https://covid19.ddc.moph.go.th/

Prommunee, K.(2022). People’s Participation Behavior in Preventing the Corona Virus 2019

(COVID-19) Pandemic: A Case Study of Yaha Sub-district, Yaha District, Yala Province

[Master’s thesis, Public Administration Prince of Songkla University]. [Internet].[cited 2022

Aug 20]. Available from https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17484

Plienwong. L.(2020 ). Perceived Health and Behavioral Health of Patients with Diabetes

Mellitus in the Internal Medicine Ward at Chumphon Khet Udomsak Hospital, Thailand

Thai Journal of Public Health and Health Sciences [Internet]. [cited 2022 Aug22].

Available from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjph/article/view/248179

Ruankham, P.(2019). Factors Associated with Preventive Behaviors Against COVID-19 SAR-COV-2

among the Adult Popu-lation: a Case Study of Chom Thong District, Bangkok

Metropolitan. Journal of Health Science., 31(2), 247-259. (in Thai)

Terapanpong, K.& Nammong, J. (2021). Factors Associated with Preventive Behaviors towards the

Coronavirus 2019 (COVID-19) of Employees in a Large Factory Krathumbean District,

Samutsakorn Province. Journal of Nursing Siam University., 22(23), 10-20. (in Thai)

Yaowakul, D. ,Abdullakasim, P. & Maharachpong, (2022) N. Health literacy on coronavirus

disease 2019 prevention behaviors of village health volunteers in region 6 health

provider. Research and Development Health System Journal 2022;15(1):257-72. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-18