ประสิทธิผลโปรแกรมพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการตรวจคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปาก ด้วยอุปกรณ์ปัญญาประดิษฐ์
คำสำคัญ:
การตรวจคัดกรองรอยโรคในช่องปาก, รอยโรคก่อนมะเร็งช่องปาก, รอยโรคมะเร็งในช่องปาก, ปัญญาประดิษฐ์, ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปากบทคัดย่อ
การขาดแคลนทันตบุคลากร เป็นข้อจำกัดในโปรแกรมการควบคุมการเกิดมะเร็งในช่องปาก การใช้วิธีการฝึกอบรมอาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และการใช้เครื่องมือช่วยตรวจ เช่น อุปกรณ์ปัญญาประดิษฐ์ จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ในการช่วยตรวจคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งในช่องปากเบื้องต้นได้ การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการศึกษาแบบกึ่งทดลอง แบบ 2 กลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ด้านการคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปาก และความสามารถในการถ่ายภาพในช่องปากของ อสม.ระหว่างก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปาก กลุ่มตัวอย่าง คือ อสม.เขตอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 32 คน สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Systematic sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และแบบทดสอบ โดยมีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.711 และ 0.708 ตามลำดับ
การวิเคราะห์ข้อมูล 1) ข้อมูลทั่วไป และลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ด้วย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) เปรียบเทียบความแตกต่างค่าคะแนนของอสม.ในการวัดความรู้ด้านการคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปาก และค่าคะแนนของการทดสอบความสามารถในการถ่ายภาพในช่องปาก ระหว่างก่อนและหลังการให้โปรแกรมพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปากโดยใช้สถิติ Paired t-test และ Independent t-test
ผลการเปรียบเทียบคะแนนความรู้ด้านการคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปาก พบว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ คะแนนความรู้ของกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกัน (p = 0.728) และภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ คะแนนของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.009) ผลการเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการถ่ายภาพในช่องปาก พบว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ คะแนนความสามารถของกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกัน (p-value = 0.375) และ ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ คะแนนของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)
ข้อเสนอแนะการศึกษาวิจัย ควรเพิ่มกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาและควรเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณลักษณะทางประชากร ใกล้เคียงกันให้มากที่สุด เช่น อายุ การศึกษา ซึ่งอาจส่งผลต่อการศึกษาได้ และ เพื่อให้อสม.กลุ่มตัวอย่าง คุ้นเคยกับอวัยวะช่องปากที่ปกติและผิดปกติ ควรได้ลองตรวจกับผู้ป่วยจริง
References
Warnakulasuriya S. (2009). Causes of oral cancer – An appraisal of A controversies. Br Dent
J,207:471–475.
Tantipasawasin S.,Tantipasawasin P. (2019). Oral cancer. Chonburi Hospital Journal,44(3):235-348.
HOSPITAL-BASED CANCER REGISTRY (2020). National Cancer Institute Department of Medical
services. Nontaburi:Ministry of Public Health. (in Thai)
Seenuanlae L., Vatanasapt P., Promthet S., Kamsa-ard S.(2013). Five Years Survival of Oral Cavity
Cancer Squamous Cell Carcinoma Type in Srinagarind Hospital, Khon Kaen University.60 (1):61-67.
Tanya M. ( 2021). The evaluation of potentially malignant disorders and oral cancers by non-invasive
adjunctive technique. Udonthani Hospital Medical Journal,29(2):304-313.
Warnakulasuriya S.(2020). Oral potentially malignant disorders: A comprehensive review on clinical
aspects and management. Oral Oncology,102:10455.
Wei L., Yu-Feng W., Hai-Wei Z., Peng S., Zeng-Tong Z., Guo-Yao T.(2010).Malignant transformation of
oral leukoplakia a retrospective cohort study of 218 Chinese patients. BMC Cancer, 10:685.
Sankaranarayanan R., Ramadas K., Thara S., Muwonge R., Thomas G., Anju G., et al. (2013). Long term
effect of visual screening on oral cancer incidence and mortality in a randomized trial in Kerala, India. Oral Oncol, 49(4):314–321.
Sankaranarayanan R., Ramadas K., Thomas G., Muwonge R., Thara S., Mathew B., et.al. (2005). Effect
of screening on oral cancer mortality in Kerala, India: a cluster-randomised controlled trial. Lancet, 365(9475):1927–1933.
Praveen B N., Keerthi G., Sanjana P., Sumsum P., Shubhasini A R., Shubha G., et.al.(2019). The role of
community health worker in a mobile health program for early detection of oral cancer. Indian
Journal of Cancer, 20 (20).1-7.
Ilhan B., Guneri P., Wilder-Smith P. (2021). The contribution of artificial intelligence to reducing the
diagnostic delay in oral cancer. Oral Oncol, 116: 105254.
Hamad G.D. (2022). Mobile Health (mHealth) Technology in Early Detection and Diagnosis of Oral
Cancer-A Scoping Review of the Current Scenario and Feasibility. Journal of Healthcare
Engineering, Article ID 4383303.
Dunn S.P., Roger R.W.(1986). Protection Motivation Theory and Preventive Health : Beyond the Health
Believe Model. In Health Education Research Theory and Practice.
Sajai K., Kitsripisarn S., Bannasaan B. (2018). The Effects of a Self-Management Promotion Program
on the Oral Care Behavior and Oral Mucositis of Cancer Patients Receiving Chemotherapy.
(2) :43-56
Downer M.C., Moles D.R., Palmer S., Speight P.M. (2004). A systematic review of test performance in
screening for oral cancer and precancer. Oral Oncol, 40(3):264–273.
Kumdee C (2015). Health Systems Research Institute (HSRI). HITAP: Health intervention and
Technology Assessment Program
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข