การประเมินความพร้อมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุไทย

ผู้แต่ง

  • ณัฐมนัสนันท์ ศรีทอง สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • สุรัตน์ มงคลชัยอรัญญา สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีดิจิทัล, ผู้สุงอายุ, สุขภาพช่องปาก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพร้อมของผู้สูงอายุต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการดูแลสุขภาพช่องปาก 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลผู้สูงอายุ ทัศนคติการใช้เทคโนโลยีสุขภาพช่องปากกับการใช้อุปกรณ์สื่อสารที่เข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล การรับรู้ประโยชน์เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุ และ 3)ศึกษาความต้องการใช้เทคโนโลยีสุขภาพช่องปากกับทัศนคติในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและการรับรู้ประโยชน์ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เพื่อเป็นแนวทางใช้วางแผนจัดการส่งเสริมพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างเหมาะสม กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุอายุ 60-79 ปี จำนวน 3,520 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามโดยสุ่มตัวอย่างแบบลำดับชั้น เริ่มจากสุ่มเลือก 8 จังหวัดจาก 4 ภูมิภาค แล้วสุ่มตำบลในเขตและนอกเขตเทศบาลอย่างละ 2 ตำบล จากนั้นสุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่อาศัยในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน อ่านออกเขียนได้ และไม่มีภาวะพึ่งพิง (ADL ไม่รวมติดบ้าน ติดเตียง) ที่สามารถตอบแบบสอบถามได้ตลอดการสัมภาษณ์โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประสานงานในพื้นที่ สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบหาความแตกต่างค่าที และค่าสถิติไคว์แสควร์ ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะทั่วไปของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 66-79 ปี การศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับไม่เคยเรียนหรือประถมศึกษา ครอบครัวส่วนใหญ่มีลักษณะอยู่ร่วมกับหลายคนหลายวัย การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ผู้สูงอายุ ร้อยละ 58.3 มีอุปกรณ์สื่อสารที่เข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล การใช้เทคโนโลยีด้วยตนเองมีความเกี่ยวข้องกับอายุ การศึกษา และลักษณะครอบครัว โปรแกรมยอดนิยมที่ใช้บ่อย ได้แก่ Line, YouTube, และ Facebook โปรแกรมที่ใช้น้อย ได้แก่ แอปธนาคาร, Google และ Netflix การรับรู้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ผู้สูงอายุรับรู้ประโยชน์ในระดับสูง โดยเฉพาะการติดต่อกับครอบครัวและการใช้เพื่อความบันเทิง ทัศนคติการใช้เทคโนโลยีสุขภาพอยู่ในระดับสูง เช่น การใช้แอปพลิเคชันสุขภาพเพื่อปรึกษาและดูแลสุขภาพ ความต้องการใช้เทคโนโลยีสุขภาพช่องปาก ผู้สูงอายุ ร้อยละ 52.4 ต้องการใช้แอปพลิเคชันดูแลช่องปาก เช่น การจองคิวนัดหมายและปรึกษาปัญหาช่องปากผ่านสมาร์ทโฟน

References

References

เฉลิมพงษ์ ลินลา. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตของ

ผู้สูงอายุ ในกรุงเทพมหานคร. วิทยทนิพนธ์วิศวกรรมมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช

มงคลธัญบุรี.

กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา, ศิริธร ยิ่งเรงเริง, จันทิมา เขียวแก้ว, กันยารัตน์ อุบลวรรณ, เนติยา แจ่ม

ทิม และวรนาถ พรหมศวร. (2560). พฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลสุขภาพจากสื่อออนไลน์และสื่อสังคมของ ผู้สูงอายุตามระดับการรับรู้ภาวะสุขภาพ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์, 11 (ฉบับพิเศษ), 12-22.

กันตพล บรรทัดทอง. (2558). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และความพึงพอใจของกลุ่มคน

ผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

จิตรา วรรณสอน. (2562). รูปแบบการทำตลาดแบบเนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์เพื่อกลุ่มเจเนอเรชันซี

(Z). ใน รายงานการประชุมการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ณิชกุล เสนาวงษ์. (2564). การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของคนเจนเนอเรชั่นแซด ในยุค

New Normal ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.

ธัญรัศมิ์ เศรษฐสิริวุฒิ และ สุรมน จันทร์เจริญ. (2565). รูปแบบการเพิ่มความสามารถในการใช้

เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารสำหรับผู้สูงอายุ ในยุคความปกติใหม่. วารสารสมาคมนักวิจัย, 27 (4),

-67.

ธามม วงศ์สรรคกร, ชาญเดช เจริญวิริยะกุล และอัครมณี สมใจ. (2566). การรับรู้ประโยชน์ทัศนคติและ พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของผู้สูงอายุ. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สวนสุนันทา, 6 (1), 168-179.

บุญทิพย์ สิริธรังศรี และชุติวัฒน์ สุวัตถิพงศ์. (2566). ผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล: ความท้าทายทางสุขภาพ.

วารสารสุขภาพและอาหารเชิงสร้างสรรค์, 1(1), 51-63.

พนม คลี่ฉายา. (2564). การเพิ่มความสามารถในความรอบรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทันที่มีต่อความ

ผูกพันและความเสี่ยงจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของประชาชน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุจา รอดเข็ม และสุดารัตน์ ไชยประสิทธิ์. (2562). สังคมสูงวัย: เทคโนโลยีกับผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13 (2), 36-45.

วิศปัตย์ ชัยช่วย. (2560). การใช้LINEของผู้สูงอายุ: การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา. Veridian

E-Journal, Silpakorn University, 10(1), 905-918.

วีรณัฐ โรจประภา. (2560). พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีที่มีผลตต่อระดับความสุขของผู้สูงอายุ

ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สมาน ลอยฟ้า. (2554). ผู้สูงอายุกับเทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 29(2), 53-64.

สารัช สุธาทิพย์กุล และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2560). สภาพปัญหา และการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีของ

ผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ผู้สูงอายุที่ใช้สมาร์ทโฟนในพื้นที่บริเวณโดยรอบพระปิ่นเกล้า เขตบางกอก

น้อย จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2563). โอกาสในเศรษฐกิจเงินสีเงิน. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 2021 จาก https://www.depa.or.th/th/article-view/article5-2563.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2566). รายงานสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 9

ประเทศไทย พ.ศ. 2566. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟิกแอนด์ดีไซน์.

อธิชา วุฒิรังสี. (2564). การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของผู้สูงอายุ. วารสารสหศาสตร์, 21(1), 90-106.

อารี ศรีแจ่ม และธันย์พัทธ์ ไคร้วานิช. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าถึงเทคโนโลยีของผู้สูงอายุในยุค

ดิจิทัล. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต.

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-340.

SDG MOVE.com, People who are poorer - study less in Japan. Access to treatment and

prevention services for oral and dental diseases is slower. Retrieved 10 July 2021. From https://www.sdgmove.com/2021/07/01/lower-income-and-education-linked-to- inequality-dental-care-in-japan

Venkatesh, V., & Bala, H. (2008). Technology Acceptance Model 3 and a research agenda on

interventions. Decision Sciences, 39 (2), 273-315.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-05

How to Cite

ศรีทอง ณ. ., & มงคลชัยอรัญญา ส. . . (2025). การประเมินความพร้อมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุไทย. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 8(1), 55–73. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjph/article/view/270822