ความคิดเห็นของนิสิตกายภาพบำบัด มศว และนักกายภาพบำบัดที่มีความรู้เกี่ยวกับแบบประเมิน STREAM ต่อการนำแบบประเมินนี้ไปใช้ในคลินิก

Main Article Content

Jirabhorn Wannapakhe
Rumpa Boonsinsukh
Chalairat Chuchredlerdsirikul
Nunpipat Sakarung
Suppattra Sukata

บทคัดย่อ

ที่มาและความสำคัญ: การตรวจประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองด้วยแบบประเมินที่เป็นมาตรฐานสากลมีความสำคัญต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วย แต่การใช้แบบประเมินมาตรฐานยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายในประเทศไทย คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ได้เลือกใช้แบบประเมิน Stroke Rehabilitation Assessment of Movement (STREAM) เป็นแบบประเมินหลักในการตรวจประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยบรรจุในการเรียนการสอนของหลักสูตรกายภาพบำบัด มศว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2011 จนถึงปัจจุบัน และมีการเผยแพร่เอกสารแบบประเมินดังกล่าวแก่นักกายภาพบำบัดที่สนใจและนักกายภาพบำบัดที่ควบคุมการฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกของนิสิต มศว แต่ยังไม่มีข้อมูลด้านการนำความรู้ที่ได้จากการเรียนการสอนไปใช้ในการปฏิบัติงานทางคลินิก


วัตถุประสงค์:  การศึกษานี้ต้องการสำรวจความคิดเห็นของผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับแบบประเมิน STREAM ต่อการใช้แบบประเมิน STREAM ในคลินิก


วิธีการวิจัย: การศึกษานี้ใช้แบบสำรวจเก็บข้อมูลในกลุ่มอาสาสมัคร 274 คน ได้แก่ นิสิตกายภาพบำบัด มศว ชั้นปีที่ 3 และ 4 จำนวน 119 คน บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะกายภาพบำบัด มศว ปีการศึกษา 2556 และทำงานเป็นนักกายภาพบำบัด จำนวน 77 คน และ นักกายภาพบำบัดทั่วไปและนักกายภาพบำบัดที่ควบคุมการปฏิบัติงานทางคลินิกด้านระบบประสาทของนิสิตกายภาพบำบัด มศว จำนวน 78 คน


ผลการวิจัย: พบว่า ร้อยละ 83.75 ของอาสาสมัครเคยใช้แบบประเมิน STREAM อาสาสมัครส่วนใหญ่ (ร้อยละ 83.33) เห็นว่าแบบประเมิน STREAM เป็นแบบประเมินที่สามารถระบุความผิดปกติด้านการเคลื่อนไหวและใช้วางแผนการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ อาสาสมัครร้อยละ 51 มีแนวโน้มที่จะใช้แบบประเมิน STREAM เป็นแบบประเมินหลักในการตรวจประเมินผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง แต่อาสาสมัครส่วนหนึ่งยังไม่แน่ใจ (ร้อยละ 41) หรือไม่มีแนวโน้มที่จะใช้แบบประเมิน STREAM (ร้อยละ 6)


สรุปผล: ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับแบบประเมิน STREAM มีความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และข้อด้อยของแบบประเมินนี้เป็นอย่างดี แต่การนำแบบประเมินนี้ไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงยังไม่มากพอเนื่องจากเห็นว่าแบบประเมิน STREAM ใช้เวลาในการตรวจประเมินนาน  และผู้ประเมินยังไม่คุ้นเคยและไม่เข้าใจในแบบประเมิน ซึ่งข้อจำกัดนี้อาจแก้ไขได้โดยเพิ่มการฝึกฝนการใช้แบบประเมิน STREAM ให้มากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Ahmed S, Mayo NE, Higgins J, Salbach NM, Finch L, Wood-Dauphinee SL. The Stroke Rehabilitation Assessment of Movement (STREAM): a comparison with other measures used to evaluate effects of stroke and rehabilitation. Phys Ther 2003; 83(7): 617-30.

2. Hsueh IP, Lin JH, Jeng JS, Hsieh CL. Comparison of the psychometric characteristics of the functional independence measure, 5 item Barthel index, and 10 item Barthel index in patients with stroke. J Neurol Neurosurg Psychiatry. 2002; 73: 188–90.

3. Hsueh IP, Hsu MJ, Sheu CF, Lee S, Hsieh CL, Lin JH. Psychometric comparisons of 2 versions of the Fugl-Meyer Motor Scale and 2 versions of the Stroke Rehabilitation Assessment of Movement. Neurorehabil Neural Repair. 2008; 22: 736-44.

4. Hsueh IP, Wang WC, Wang CH, Sheu CF, Lo SK, Lin JH, et al. A simplified stroke rehabilitation assessment of movement instrument. Phys Ther 2006; 86(7): 936-43.

5. Daley K, Mayo N, Wood-Dauphinee S. Reliability of scores on the Stroke Rehabilitation Assessment of Movement (STREAM) measure. Phys Ther 1999; 79(1): 8-23.

6. Ward I, Pivko S, Brooks G, Parkin K. Validity of the stroke rehabilitation assessment of movement scale in acute rehabilitation: a comparison with the functional independence measure and stroke impact scale-16. PM R 2011;3(11):1013-21.

7. Hsieh YW, Lin JH, Wang CH, Sheu CF, Hsueh IP, Hsieh CL. Discriminative, predictive and evaluative properties of the simplified stroke rehabilitation assessment of movement instrument in patients with stroke. J Rehabil Med 2007; 39(6): 454-60.

8. Wang CH, Hsieh CL, Dai MH, Chen CH, Lai YF. Inter-rater reliability and validity of the stroke rehabilitation assessment of movement (stream) instrument. J Rehabil Med 2002; 34(1): 20-4.