ผลทันทีของการนวด การออกกำลังกายแบบ Buerger-Allen และแบบมีการลงน้ำหนักที่เท้าต่อการไหลเวียนเลือดส่วนปลาย และอุณหภูมิผิวหนังบริเวณเท้าในคนหนุ่มสาว

Main Article Content

Saitida Lapanantasin
Yanisa Songkhropol
Nattanan Ritsamret
Sunisa Jamjuree

บทคัดย่อ

ที่มาและความสำคัญ: พบว่ามีหลายวิธีการที่สามารถเพิ่มการไหลเวียนเลือดส่วนปลายบริเวณเท้าได้ เช่น การนวด การออกกำลังกายแบบ Buerger-Allen และการออกกำลังกายแบบมีการลงน้ำหนักที่เท้า อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบการศึกษาใดเปรียบเทียบถึงประสิทธิผลของ 3 วิธีการดังกล่าว วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลทันทีของการนวด การออกกำลังกายแบบ Buerger- Allen และแบบมีการลงน้ำหนักที่เท้า ต่อการไหลเวียนเลือดส่วนปลายและอุณหภูมิผิวหนังบริเวณเท้าในคนหนุ่มสาว


วิธีการ: คนหนุ่มสาวสุขภาพดี อายุเฉลี่ย 20.87 ± 1.20 ปี จำนวน 30 คนเข้าร่วมการวิจัยโดยทำการทดลองในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิที่ 25-27 ˚c ด้วย 4 สภาวะแบบสุ่ม คือ 1) ควบคุม (นอนหงายราบนาน 30 นาที), 2) นวดจากเท้าถึงขาท่อนล่าง (M) 30 นาที, 3) ออกกำลังกายแบบ Buerger-Allen (B) 30 นาที, และ 4) ออกกำลังกายแบบมีการลงน้ำหนักที่เท้า (W) 30 นาที โดยแต่ละสภาวะเว้นระยะเวลาห่างกัน 1 สัปดาห์ และวัดค่าตัวแปรศึกษาคือ ค่าดัชนีความดันโลหิตบริเวณข้อเท้าเมื่อเทียบกับแขน (ABI) และอุณหภูมิผิวหนังบริเวณเท้า (T) ก่อนและหลังได้รับการทดลองในแต่ละสภาวะทันที แล้ววิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย two-way repeated measures ANOVA ผลการศึกษา: พบว่าปฏิกิริยาระหว่างสภาวะที่ได้รับกับระยะเวลามีผลต่อค่า ABI อย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.023) โดยพบว่าค่า ABI ลดลงทันทีหลังได้รับโปรแกรม M และ W ขณะที่หลังโปรแกรม B มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของค่า ABI สูงขึ้นเช่นเดียวกับสภาวะควบคุม นอกจากนี้พบว่าปัจจัยด้านระยะเวลาและปฏิกิริยาระหว่างสภาวะกับระยะเวลามีผลต่อค่า T อย่างมีนัยสำคัญตามลำดับ (p = 0.001, p=0.009) โดยพบว่าหลังทุกสภาวะมีค่า T ลดลงยกเว้นหลังได้รับโปรแกรม M เท่านั้นที่สามารถรักษาอุณหภูมิให้ค่อนข้างคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง สรุปผลการศึกษา: การนวดและการออกกำลังกายแบบมีการลงน้ำหนักที่เท้ามีผลทันทีต่อการไหลเวียนเลือดส่วนปลายบริเวณเท้าชัดเจนกว่าการออกกำลังกายแบบ Buerger-Allen ในทางสถิติ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของค่า ABI และ T ทันทีหลังการได้รับโปรแกรมดังกล่าวที่พบในการศึกษานี้ยังไม่ชัดเจนในทางคลินิก จึงควรมีการศึกษาถึงผลระยะยาวและผลต่อผู้ที่มีปัญหาการไหลเวียนเลือดส่วนปลายต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.ประโยชน์ บุญสินสุข. การบำบัดด้วยมือ Manual therapy. กรุงเทพฯ: คลินิกกายภาพบำบัดไท. 2552
2.Aourell M, Skoog M, Carleson J. Effects of Swedish massage on blood pressure. Complement TherClinPract. 2005 Nov;11(4):242-6.
3.Kisner C, Colby LA. Therapeutic exercise: foundations and techniques. 2nd ed. Singapore: Info Access & Distribution; 1991.
4.Kawasaki T, Uemura T, Matsuo K, Masumoto K, Harada Y, Chuman T, et al. The effect of different positions on lower limbs skin perfusion pressure. Indian J Plast Surg. Sep;46(3):508-12.
5. Chang Chyong-Fang, Chang Chang-Cheng, Chen Mei-Yen. Effect of Buerger’s Exercises on Improving Peripheral Circulation: A Systematic Review. 2015;5:120-128.
6.สัญญา ร้อยสมมุติ. สรีรวิทยาของหัวใจและการไหลเวียนเลือด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ; โรงพิมพ์ขอนแก่นธุรภัณฑ์; 2556. P.15, 19, 20, 380, 398.
7.Piotr Mika, Krzysztof Spodaryk, Andrzej Cencora. Effects of treadmill training on walking distance and lower limb blood flow in patient with intermittent claudication. Medical Rehabilitation. 2005; 9(1):3-9.
8.สายธิดา ลาภอนันตสิน, สิริกานต์ เจตนประกฤต, เรืองรักษ์ อัศราช, วาธินี อินกล่ำ, ศิรประภา จำนงค์ผล. ผลของการนวดร่วมกับการออกกาลังกายเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดส่วนปลายต่ออาการเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมบริเวณขาส่วนล่างในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2: การศึกษานำร่อง. วารสารกายภาพบำบัด 2557;36 (3):97-105.
9.Cassar M-P. Handbook of massage therapy: a complete guide for the student and professional massage therapist. Oxford; Boston: Butterworth-Heinemann; 1999.
10.สุวรรณ ธีระวรพันธ์, วิสุดา สุวิทยาวัฒน์, เพ็ญโฉม พึ่งวิชา. สรีรวิทยาระบบไหลเวียนโลหิต. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ไทยมิตรการพิมพ์; 2547. P.173
11.Gilligan DM, Panza JA, et al. Contribution of endothelium-derived nitric oxide to exercise-induced vasodilation. Circulation. 1994; 90(6):2853-2858.
12.Dimkpa U, Ugwu AC. Determination of systolic blood pressure recovery time after exercise in apparently healthy, normotensive nonathletic adults and the effects of age, gender and exercise intensity. International journal of exercise science. 2009;2(2):115-130.
13.Weerapong P, Hume PA, Kolt GS. The mechanisms of massage and effects on performance, muscle recovery and injury prevention. Sports Med. 2005;35(3):235-56.