ผลของอาชาบำบัดและการฝึกบนเก้าอี้อานม้าแบบเคลื่อนไหวต่อความสามารถด้านการเคลื่อนไหว ในเด็กที่มีภาวะอัมพาตสมองใหญ่ชนิดเกร็งแบบสมมาตร

Main Article Content

Sudarat Rakkha
Raweewan Lekskuchai
Chanut Akamanon

บทคัดย่อ

งานวิจัยที่ผ่านมาได้มีการรายงานหลากหลายเทคนิคในการฝึกการเคลื่อนไหวอย่างหยาบในเด็กที่มีภาวะอัมพาตสมองใหญ่ อาชาบำบัด (HP) และการฝึกบนเก้าอี้อานม้าแบบเคลื่อนไหว (DS) ก็เป็นเทคนิคการฝึกที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพที่ดี แต่ยังไม่มีการศึกษาใดที่เปรียบเทียบผลที่ได้จากการฝึกสองเทคนิคเทียบกัน วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือ เพื่อเปรียบเทียบผลของ HP เทียบกับ DS เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ต่อความสามารถด้านการเคลื่อนไหวในเด็กที่มีภาวะอัมพาตสมองใหญ่ชนิดเกร็ง โดยผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 10 คน ถูกสุ่มให้อยู่ในกลุ่มที่ได้รับการฝึกด้วย HP หรือ DS เด็กทุกคนได้รับการประเมินความสามารถด้านการเคลื่อนไหวจำนวน 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ก่อนการฝึก ครั้งที่ 2 ที่สัปดาห์ที่ 3 และครั้งที่ 3 ที่สัปดาห์ที่ 6  ของการฝึก จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าทั้งสองกลุ่มมีการเพิ่มขึ้นของความสามารถด้านการเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกท่าของการประเมิน  เมื่อเปรียบเทียบคะแนนระหว่างกลุ่ม พบว่าความสามารถในท่าเดินของสัปดาห์ที่ 3 ของสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ ความสามารถด้านการเดิน และคะแนนรวมในสัปดาห์ที่ 6 ของทั้งสองกลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสามารถสรุปได้ว่า HP และ DS สามารถเพิ่มความสามารถด้านการเคลื่อนไหวในเด็กที่มีภาวะอัมพาตสมองใหญ่ชนิดเกร็งได้ แต่ HP มีประสิทธิภาพในการเพิ่มความสามารถด้านการเดินที่ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Tecklin JS. Pediatric Physical Therapy. 4, ed: Philadelphia: Lippincott William & Wilkins; 2008.

2. Hanna SE, Rosenbaum PL, Bartlett DJ. et al. Stability and decline in gross motor function among children and youth with cerebral palsy aged 2 to 21 years. Dev Med Child Neurol 2009; 51:295-302.

3. Rosenbaum P, Paneth N, Leviton A. et al. The definition and classification of cerebral palsy. Dev Med Child Neurol 2007; 49: 8-14.

4. Granados AC, Agis IF. Why children with special needs feel better with hippotherapy sessions: a conceptual
review. J Altern Complement Med 2011; 17: 191-7.

5. Casady RL, Nichols-Larsen DS. The Effect of Hippotherapy on Ten Children with Cerebral Palsy. Pediatr Phys Ther 2004; 16 :165-72.

6. Sterba JA. Does horseback riding therapy or therapist‐directed hippotherapy rehabilitate children with cerebral palsy? Dev Med Child Neurol 2007; 49: 68-73.

7. McGibbon NH, Benda W, Duncan BR et al. Immediate and long-term effects of hippotherapy on symmetry of adductor muscle activity and functional ability in children with spastic cerebral palsy. Arch Phys Med Rehabil 2009; 90: 966-74.

8. Quint C, Toomey M. Powered Saddle and Pelvic Mobility: An investigation into the effects on pelvic mobility of children with cerebral palsy of a powered saddle which imitates the movements of a walking horse. Physiotherapy 1998; 84: 376-84

9. Pope PM, Bowes CE, Booth E. Postural control in sitting the SAM system: evaluation of use over three years. Dev Med Child Neurol 1994; 36: 241-52.

10. Temcharuensuk P. Effect of dynamic saddle riding on sitting ability and gross motor performance in children with cerebral palsy [PhD Dissertation]. Bangkok: Mahidol University, 2013.

11. Russell D, Rosenbaum P, Gowland C et al. Gross Motor Function Measure Manual. Hamilton: McMaster University, 1993.

12. Silkwood-Sherer DJ, Killian CB, Long TM, Martin KS. Hippotherapy—An Intervention to Habilitate Balance Deficits in Children With Movement Disorders: A Clinical Trial. Phys Ther 2012; 92(5):707-17.

13. Encheff JL, Armstrong C, Masterson M. et al. Hippotherapy effects on trunk, pelvic, and hip motion during ambulation in children with neurological impairments. Pediatr Phys Ther 2012; 24: 242-50.

14. Kwon JY, Chang HJ, Lee JY et al. Effects of hippotherapy on gait parameters in children with bilateral spastic cerebral palsy. Arch Phys Med Rehab 2011; 92: 774-9.