การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสะพายกระเป๋าและอาการปวดที่เกิดขึ้นในขณะที่สะพายกระเป๋าในนักเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนดาราวิทยาลัย เชียงใหม่

Main Article Content

Sirirat Deesungnern
Nuanlaor Thawinchai

บทคัดย่อ

การสะพายกระเป๋าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พบอาการปวดหลังและไหล่ในนักเรียน โดยเฉพาะกระเป๋าที่หนักมาก อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับการสะพายกระเป๋าที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดได้เช่นกัน ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสะพายกระเป๋าและอาการปวดที่เกิดขึ้นขณะสะพายกระเป๋านักเรียน ผู้เข้าร่วมการศึกษาประกอบด้วยนักเรียนระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนดาราวิทยาลัย เชียงใหม่ จำนวน 1,280 คน ตอบแบบสอบถามที่เกี่ยวกับการสะพายกระเป๋า และอาการปวดที่เกิดขึ้นในขณะที่สะพายกระเป๋า รายงานผลเป็นความถี่และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ใช้กระเป๋าสะพาย 2 สายแบบไม่มีสายรัดอกและเอว (88.3%)  ร้อยละ 49.8 ของนักเรียนสะพายกระเป๋าที่ระดับสูงกว่าเอว  ประมาณครึ่งหนึ่งของนักเรียน (51.6%) สะพายกระเป๋าเป็นระยะเวลาน้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน สิ่งของที่นำใส่กระเป๋าในวันที่กระเป๋าหนักที่สุดคือ หนังสือ (95.2%) อุปกรณ์การเรียน (69.1%) และขวดน้ำ (20.2%) นอกจากนี้ ยังพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีอาการปวดเกิดขึ้นภายใน 2 ชั่วโมง ในขณะที่สะพายกระเป๋าอย่างต่อเนื่อง (37.7%) โดยมีอาการปวดแบบเป็นๆ หายๆ (80.2%) บริเวณที่พบแสดงอาการปวดบ่อยมากคือ ไหล่และสะบักด้านซ้าย (78.2%) และขวา (80.1%) และพบว่า มีเพียงลักษณะกระเป๋าที่มีความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสะพายกระเป๋าและอาการปวดขณะสะพายกระเป๋า (p=0.02) ดังนั้น ผลการศึกษานี้อาจจะเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการศึกษาที่เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของอาการปวดอันเนื่องมาจากการสะพายกระเป๋านักเรียนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Noinuan P. Low back pain among matthayom 1-3 students in Bangkoknoi district : prevalence and risk factors [Master of Sciences Thesis]. Bangkok: Faculty of Physical Therapy and Applied Movement Science, Mahidol University; 2009.

2. Hongthong S. Low back pain among prathom 4-6 students in Bangkoknoi district : prevalence and risk factors [Master of Sciences Thesis]. Bangkok: Faculty of Physical Therapy and Applied Movement Science, Mahidol University; 2009.

3. กฤษณา บุญทา. การสำรวจความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการปวดหลังในเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ [ภาคนิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต (กายภาพบำบัด)]. เชียงใหม่: คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่; 2546.

4. ณัฏฐิยา สุวรรณมณี. การสำรวจความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะปวดหลังส่วนล่างในนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ [ภาคนิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต (กายภาพบำบัด)]. เชียงใหม่ :คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2547.

5. Sihawong R, Chansirinukor W, Akamanon C. Prevalence of low back pain among high school students in Bangkoknoi district. Thai Journal of Physical Therapy. 2006;28:35-42.

6. Kanchanomai S, Janwantanakul P, Pensri P, Jiamjarasrangsi W. A Prospective Study of Incidence and Risk Factors for the Onset and Persistence of Low Back Pain in Thai University Students. Asia Pac J Public Health. 2011.

7. Bernstein RM, Cozen H. Evaluation of back pain in children and adolescents. Am Fam Physician. 2007;76:1669-76.

8. Grimmer K, Williams M. Gender-age environmental associates of adolescent low back pain. Appl Ergon. 2000;31:343-60.

9. Bejia I, Abid N, Ben Salem K, Letaief M, Younes M, Touzi M, et al. Low back pain in a cohort of 622 Tunisian schoolchildren and adolescents: an epidemiological study. Eur Spine J. 2005;14:331-6.

10. Harreby M, Nygaard B, Jessen T, Larsen E, Storr-Paulsen A, Lindahl A, et al. Risk factors for low back pain in a cohort of 1389 Danish school children: an epidemiologic study. Eur Spine J. 1999;8:444-50.

11. Navuluri N, Navuluri RB. Study on the relationship between backpack use and back and neck pain among adolescents. Nurs Health Sci. 2006;8:208-15.

12. Negrini S, Carabalona R. Backpacks on! Schoolchildren's perceptions of load, associations with back pain and factors determining the load. Spine. 2002;27:187-95.

13. Sheir-Neiss GI, Kruse RW, Rahman T, Jacobson LP, Pelli JA. The association of backpack use and back pain in adolescents. Spine. 2003;28:922-30.

14. David J. Evaluation of back pain in children. Paediatr Child Health. 2008;18:56-60.

15. Viry P, Creveuil C, Marcelli C. Nonspecific back pain in children. A search for associated factors in 14-year-old schoolchildren. Rev Rhum Engl Ed. 1999;66:381-8.

16. Dianat I, Javadivala Z, Asghari-Jafarabadi M, Asl Hashemi A, Haslegrave CM. The use of schoolbags and musculoskeletal symptoms among primary school children: are the recommended weight limits adequate? Ergonomics. 2013;56:79-89.

17. Pascoe DD, Pascoe DE, Wang YT, Shim DM, Kim CK. Influence of carrying book bags on gait cycle and posture of youths. Ergonomics. 1997;40:631-41.

18. Skaggs DL, Early SD, D'Ambra P, Tolo VT, Kay RM. Back pain and backpacks in school children. J Pediatr Orthop. 2006;26:358-63.

19. Talbott NR, Bhattacharya A, Davis KG, Shukla R, Levin L. School backpacks: it's more than just a weight problem. Work. 2009;34:481-94.

20. สุวิมล ติรกานนท์. การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. 2ed. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

21. ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. 9th ed. กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี; 2551.

22. Lindstrom-Hazel D. The backpack problem is evident but the solution is less obvious. Work. 2009;32:329-38.

23. The American Occupational Therapy Association. Backpack Facts: What's All the Flap About? 2014 [cited 2014, March 10]. Available from: https://www.aota.org/-/media/Corporate/Files/Backpack/Whats%20All %20the%20Flap%20About.pdf.

24. Moore MJ, White GL, Moore DL. Association of relative backpack weight with reported pain, pain sites, medical utilization, and lost school time in children and adolescents. The Journal of school health. 2007;77:232-9.

25. Chiang HY, Jacobs K, Orsmond G. Gender-age environmental associates of middle school students' low back pain. Work. 2006;26:19-28.

26. Sahli S, Rebai H, Ghroubi S, Yahia A, Guermazi M, Elleuch MH. The effects of backpack load and carrying method on the balance of adolescent idiopathic scoliosis subjects. The spine journal : official journal of the North American Spine Society. 2013;13:1835-42.

27. Dianat I, Karimi MA. Association of Parental Awareness of Using Schoolbags With Musculoskeletal Symptoms and Carrying Habits of Schoolchildren. J Sch Nurs. 2013.

28. Hatfield H. Kids' Backpacks 101: Which backpacks are safest for kids? Plus, how to wear backpacks to avoid aches and pains.: WebMD; 2008 [cited 2014, March 12]. Available from: https://www.webmd. com/parenting/features/kids-backpacks-101.