ความพึงพอใจของนายจ้างและผู้รับบริการต่อคุณภาพของนักกายภาพบำบัดที่สำเร็จการศึกษา พ.ศ. 2559-2561 คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

จตุพร สุทธิวงษ์
เวทสินี แก้วขันตี
รัชนก ไกรวงศ์
มัณฑนา วงศ์ศิรินวรัตน์

บทคัดย่อ

ที่มาและความสำคัญ: การศึกษาความพึงพอใจและความคาดหวังของนายจ้างและผู้รับบริการ ส่งผลต่อการผลิตบัณฑิตให้ตรงกับความต้องการของสังคมในอนาคต


วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจระดับความพึงพอใจของนายจ้างและผู้รับบริการของนักกายภาพบำบัดที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด และศึกษาลักษณะสำคัญของนักกายภาพบำบัดในอีก 5 ปีข้างหน้าที่นายจ้างพึงประสงค์


วิธีการวิจัย: รวบรวมข้อมูลความพึงพอใจของผู้รับบริการด้วยแบบสอบถามและใช้วิธีการสนทนากลุ่มกับนายจ้างจำนวน 7 ราย เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนายจ้างและความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะสำคัญของนักกายภาพบำบัดที่พึงประสงค์ในอีก 5 ปีข้างหน้า


ผลการวิจัย: ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นผู้รับบริการทางกายภาพบำบัด 109 ราย ความพึงพอใจของผู้รับบริการอยู่ในระดับดีมาก ด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านการปฏิบัติตัวของนักกายภาพบําบัดที่มีต่อผู้รับบริการ (ค่าเฉลี่ย = 4.77 ± 0.43 คะแนน) ด้านที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ ด้านทักษะความรู้ความสามารถและด้านการสื่อสาร (ค่าเฉลี่ย = 4.49 ± 0.56 คะแนน และ 4.49 ± 0.58 คะแนน ตามลำดับ) ผลการศึกษาเชิงคุณภาพพบว่านักกายภาพบำบัดมีข้อเด่นด้านความรู้วิชาการและความมั่นใจในการทำงาน แต่ควรพัฒนาด้านการประยุกต์ใช้ความรู้ การสะสมประสบการณ์และการสื่อสาร สำหรับลักษณะสำคัญของนักกายภาพบำบัดในอีก 5 ปีข้างหน้าที่นายจ้างพึงประสงค์ คือ มีความรู้ด้านผู้สูงอายุมากขึ้น มีความเป็นผู้นำและทักษะการสร้างงาน และมีทักษะการใช้ชีวิตในสังคม


สรุปผล: การปฏิบัติตัวของนักกายภาพบําบัดที่มีต่อผู้รับบริการเป็นสิ่งที่ผู้รับบริการมีความพึงพอใจมากที่สุด นักกายภาพบำบัดมีข้อเด่นด้านความรู้วิชาการและมีความมั่นใจในการทำงาน สิ่งควรพัฒนาคือการประยุกต์ใช้ความรู้ การสะสมประสบการณ์การทำงานและการสื่อสาร ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Faculty of Physical Theraoy, Mahidol University. (2016). Undergraduate student manual 2016. Bangkok: Mahidol University.

ASEAN university network quality assurance: Guide to AUN-QA assessment at program level version 3.0. ASEAN University Network (AUN), Thailand.

Lu KB, Thiel B, Atkins CA, Desai A, Botwin A, Povlow MR, et al. Satisfaction with Healthcare Received at an Interprofessional Student-run Free Clinic: Invested in Training the Next Generation of Healthcare Professionals. Cureus. 2018;10(3):e2282.

Thomas DR. A general inductive approach for analyzing qualitative evaluation data. Am J Eval. 2006; 27(2):237-46.

Chuengkriangkrai B, Unsanit P, Thanoruk R. Satisfaction of administrators/employers with ability of graduated nurses from Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University. Rama Nurs J 2008,14:71-85.

Kabmanee N, Khonyang W, Kitkhhoundee B, Auyjareon S. Satisfaction of the employers toward competencies for graduate nurses, Boromarajonani college of Nursing Udonthani. Pacific 2018;4:366-75.