ปัจจัยทำนายการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดตัวเหลืองที่ได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ
คำสำคัญ:
สัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก, การมีส่วนร่วมของมารดา, ทารกตัวเหลืองบทคัดย่อ
ทารกแรกเกิดที่ได้รับการส่องไฟรักษาส่งผลให้มารดามีความเครียดและวิตกกังวล มารดาจึงต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลบุตร การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดตัวเหลืองที่ได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาของทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง จำนวน 100 ราย คัดเลือกด้วยวิธีการเลือกแบบสะดวก ตามคุณสมบัติที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2559- มีนาคม พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิด แบบสอบถามสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก แบบสอบถามการสื่อสารระหว่างมารดากับพยาบาล และแบบสอบถามการสนับสนุนจากพยาบาล มีค่าความเชื่อมั่นของแอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ .81, .94, .86, และ .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า สัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกเป็นปัจจัยทำนายเดียวที่มีความสัมพันธ์ และสามารถทำนายการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดตัวเหลืองได้ร้อยละ 28.7 (F2, 97 = 37.188, p< .001) ผลการศึกษาในครั้งนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรทีมสุขภาพจึงควรพัฒนารูปแบบหรือโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกตัวเหลืองที่ได้รับการส่องไฟรักษาโดยเน้นการส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก เพื่อให้มารดาสามารถมีส่วนร่วมในการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
References
2. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด และแนวทางการจัดเก็บข้อมูล กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2552.
3. สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี. สถิติทารกแรกเกิดตัวเหลืองปี พ.ศ. 2548- 2550. กรุงเทพ: สถิติหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี; 2551.
4. สมพร โชตินฤมล. การวัดระดับบิลลิรูบินทางผิวหนังเพื่อทำนายการเกิดภาวะบิลลิรูบินในเลือดสูงในทารกแรกเกิดไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 15 มิ.ย.2559 ]. เข้าถึงได้จาก: https://tnrr.in.th/2558/?page=result_search&record_id=50211.
5. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. สถิติทารกแรกเกิดตัวเหลืองปี พ.ศ. 2556-2558. กรุงเทพ: สถิติหอผู้ป่วยทารก แรกเกิด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์; 2558.
6. Newton MS. Family-centered care: current realities in parent participation. Pediatr Nurs 2000;26(2):164-8.
7. Ball J, Binder RC. Child health nursing: partnering with children & families. Upper Saddle River, N.J.: Pearson Prentice Hall; 2006.
8. Carey WB. Acute minor illness: effects of medical illness. In: Levine MD, Carey WB, Crocker AC, editors. Development-behavioral pediatrics. Philadelphia: W.B. Saunders; 2009. p. 321-3.
9. จารุพิศ สุภาภรณ์. การมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดตัวเหลืองที่ได้รับการส่องไฟรักษาและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2556.
10. สุธาภินันท์ พรเลิศทวีกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแล ทารกแรกเกิดที่รับการรักษาในโรงพยาบาล [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556.
11. สุภาณี ไกรกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดของบิดามารดากับสัมพันธภาพระหว่างบิดามารดาและบุตรป่วยที่รับการรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2552.
12. ทัศนีย์ อรรถารส, จุไร อภัยจิรรัตน์. รูปแบบการดูแลต่อเนื่องในเด็กที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง. วารสารสภาการพยาบาล 2554;26 (ฉบับพิเศษ):112-25.
13. บุษบา บุญกระโทก, รัตนา รองทองกูล, ศิรินารถ ศรีกาญจนเพริศ, สุนทรี นํ้าใจทหาร. ความเครียด และพฤติกรรมการเผชิญของมารดาที่มีบุตรตัวเหลืองซึ่งได้รับการส่องไฟรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2550;22(2):133-8.
14. Schepp K. Psychometric assessment of the preferred participation scale for parents of hospitalized children [Unpublished manuscript]. Washington: University of Washington, School of Nursing, Seattle, WA; 1995.
15. American Academy of Pediatrics Subcommittee on Hyperbilirubinemia. Management of hyperbilirubinemia in the newborn infant 35 or more weeks of gestation. Pediatrics 2004;114(2):297-316.
16. Coyne IT. Parent participation: a concept analysis. J Adv Nurs 1996:23(4);733-40.
17. ณัฏฐพร ฉันทวรลักษณ์. ผลของการจัดระบบการให้มารดาเข้าเยี่ยมบุตรทารกคลอดก่อนกำหนดต่อความวิตกกังวลของมารดา. รามาธิบดีสาร 2550;2(9):167-77.
18. ชนิตา แป๊ะสกุล, ชลิดา ธนัฐธีรกุล. การมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะวิกฤต.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2553;16(1):39-49.
19. ณัฐิกา ปฐมอารีย์. การมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดในหออภิบาลทารกแรกเกิด [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.
20. อรุณ ดวงประสพสุข. ผลของการให้ข้อมูลอย่างเป็นระบบและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ผู้ป่วยเด็กวิกฤต หอผู้ป่วยเด็กวิกฤต (PICU) โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์ 2557;28(4):867-72.
21. Pongjaturawit Y. Parental participation in the care of hospitalized young children [Doctor of Philosophy (Nursing)]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2005.
22. สมสิริ รุ่งอมรรัตน์, วรานุช กาญจนเวนิช, อุทุมพร ม่วงอยู่. การมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด และต้องได้รับเครื่องช่วยหายใจ. Journal of Nursing Science 2555:30(4);49-58.
23. ศิริกมล กันศิริ. การพัฒนาแนวปฏิบัติการสร้างเสริมพลังอำนาจมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนด [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2550.
24. แขนภา รัตนพิบูลย์. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลเด็กป่วยขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลมารดาและทารกแรกเกิด]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.
25. นฤมล จีนเมือง, วรรณา พาหุวัฒนกร, ฉวีวรรณ อยู่สำราญ. ปัจจัยด้านมารดา ทารก และสิ่งแวดล้อมในการทำนายความสำเร็จของบทบาทการเป็นมารดาหลังคลอดทารกก่อนกำหนด. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2559:8(2);44-53.
26. Melnyk BM, Fenstein NF, Moldenhouer Z, Small L. Coping in parents of children who are chronically ill: strategies for assessment and intervention. Pediatr Nurs 2001;27(6):548-58.
27. ธันยมนย์ วงษ์ชีรี, นุจรี ไชยมงคล, ยุนี พงศ์จตุรวิทย์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลเด็กป่วยที่รับการรักษาในโรงพยาบาล [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2554.
28. Neill SJ. Parent participation 1: literature review and methodology. Br J Nurs 1996;5(1):34-40.
29. House JS. Work stress and social support. Massachusetts: Addison-Wesley; 1981.
30. Klaus MH, Kennell JH, Klaus PH. Bonding. London: Cedar; 1995.
31. บุญเพียร จันทวัฒนา. ผลของการให้ข้อมูลเพื่อลดความวิตกกังวลของมารดาที่มีบุตรต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. พยาบาลสาร 2544;26(4);75-85.
32. นงคราญ ศรีสง่า, นงนุช วุฒิปรีชา, บังอร เชาวนพูนผล, ศุภลักษณ์ พรมเทพ. ผลของการทำ Early bonding กับบิดาในทารกที่คลอดโดยการผ่าตัดโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่ [อินเทอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 18 ก.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://kcenter.anamai.moph.go.th/
33. ณัฐิกา ปฐมอารีย์. การมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดในหออภิบาลทารกแรกเกิด [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.
34. สุจิรา ศรีรัตน์, จริยา สายวารี. ความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของมารดาของผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2551;26(5):481-9.
35. สุรางค์ โค้วตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.
36. อัปสรสิริ เอี่ยมประชา. จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี; 2557.
37. กิ่งฟ้า ดลราศี. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการ สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสและการแสดงบทบาทการเป็นมารดาที่บุตรแยกจากห้องคลอด [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2544.
38. จันทรา ว่องวัฒนกูล. อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลความวิตกกังวลและการสนับสนุนทางสังคมต่อการแสดงบทบาทการเป็นมารดาในมารดาที่ทารกแรกเกิดมีภาวะตัวเหลืองและได้รับการส่องไฟ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลมารดาและทารกแรกเกิด]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552.
39. กาญจนา กันทาหงษ์, ศรีมนา นิยมค้า, สุธิศา ล่ามช้าง. เด็กป่วยเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. พยาบาลสาร 2557:42(3);1-12.
40. Montigny FD, Lacharete C. Modeling parents and nurses’ relationships. West J Nurs Res 2008;30(6):743-58.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาบทความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ ในวารสารพยาบาลสภากาชาดไทยนี้ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ หรือสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย