การเสริมสร้างพลังอำนาจของมารดาครรภ์แรกในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน

ผู้แต่ง

  • ดาวรรณ แพงโพธิ์ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา รองศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ณัฐกมล ชาญสาธิตพร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาชีวสถิติคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

พลังอำนาจ, มารดาครรภ์แรก, การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

บทคัดย่อ

          การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจของมารดาครรภ์แรกต่อพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาครรภ์แรกและผู้ช่วยเหลือหลัก คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งหมด 53 คู่ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง (n=26 คู่) และกลุ่มเปรียบเทียบ (n=27 คู่) โดยกลุ่มทดลองจะได้รับกิจกรรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ตามแนวทางของ Gibson ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การค้นหาปัญหา 2) การสะท้อนคิด 3) การมีส่วนร่วมตัดสินใจและการเลือกแนวทางปฏิบัติ และ 4) การคงไว้ซึ่งการปฏิบัติ กิจกรรมมีทั้งหมด 4 ครั้ง โดยแบ่งเป็นก่อนคลอด 1 ครั้ง และหลังคลอด 3 ครั้ง (ภายใน 7 วันหลังคลอด, ในช่วง 8-15 วันหลังคลอด, ในช่วง 16-42 วันหลังคลอด) ประกอบด้วยการให้ความรู้ การเยี่ยมบ้าน และให้ผู้ช่วยเหลือหลักเข้ามามีส่วนร่วมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และแบบบันทึกข้อมูลกลุ่มตัวอย่างโดยผู้วิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบประเมินการรับรู้พลังอำนาจ แบบประเมินพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และแบบประเมินพฤติกรรมการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วัดผลก่อนทดลองและหลังทดลอง 6 เดือนหลังคลอด วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติ independent t-test

          ผลการศึกษาพบว่าภายหลังการทดลอง ภายในกลุ่มทดลองมีการเพิ่มขึ้นของการรับรู้พลังอำนาจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อยู่ในระดับดีและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.041) ด้านพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และพฤติกรรมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของผู้ช่วยเหลือหลัก กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.001 และ p=.006 ตามลำดับ) และกลุ่มทดลองมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบร้อยละ 61.5 และร้อยละ 33.3 ตามลำดับ

References

1. ศิราภรณ์ สวัสดิวร, กรรณิการ์ บางสายน้อย. ทำไม 6 เดือนแรกให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว [อินเทอร์เน็ต]. 2550 [เข้าถึงเมื่อ 8 ก.ย. 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://dlibrary.thaibreastfeeding.org/bitstream/handle

2. UNICEF. The state of the world's children 2014 in numbers, every child counts revealing disparities, advancing children’s rights New York [Internet]. 2014 [cited 2016 Jun 20]. Available from: http://www.unicef.org/sowc2014/numbers/documents/english/SOWC2014_In%20Numbers_28%20Jan.pdf

3. WHO. Exclusive breastfeeding [Internet]. 2015 [cited 2015 Sep 2]. Available from: http://www.who.int/elena/titles/exclusive_breastfeeding/en/

4. กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด และแนวทางการจัดเก็บข้อมูล กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 4 ก.ย. 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://skmo.moph.go.th/sites/default/files/kpi58_update%20300957.pdf

5. กระทรวงสาธารณสุข. ระบบข้อมูลตัวชี้วัดสำคัญ (Key Performance Indicator) [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 21 เม.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://healthdata.moph.go.th/kpi/2556/KpiDetail.php?topic_id=10

6. WHO. Global nutrition targets 2025: policy brief series Geneva [Internet]. 2014 [cited 2018 Apr 30]. Available from: http://www.who.int/nutrition/publications/globaltargets2025_policybrief_overview/en/

7. UNICEF. Adopting optimal feeding practices is fundamental to a child’s survival, growth and development, but too few children benefit [Internet]. 2017 [cited 2018 Apr 30]. Available from: https://data.unicef.org/topic/nutrition/infant-and-young-child-feeding/

8. สำนักงานสถิติแห่งชาติและองค์การยูเซฟแห่งประเทศไทย. การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2558-2559 [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 4 ก.ย. 2558]. เข้าถึงได้จาก: https://www.unicef.org/thailand/tha/Thailand_MICS_Full_Report_TH.pdf

9. คลังข้อมูลขอนแก่น. บทสรุปผู้บริหาร ข้อมูลพื้นฐานสำคัญของจังหวัดขอนแก่น ประจำปี พ.ศ.2557 [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 4 ก.ย. 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://www.khonkaen.go.th/

10. กุสุมา ชูศิลป์. โครงการวิจัยการศึกษาติดตามทารกตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 2 ปี: ปัจจัยและผลลัพธ์ด้านสุขภาพของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน 2556: มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย[อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 4 ก.ย. 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaibreastfeeding.org/page.php?id=56

11. Ehlayel MS, Bener A, Abdulrahman HM. Protective effect of breastfeeding on diarrhea among children in a rapidly growing newly developed society. Turk J Pediatr 2009;51(6):527-33.

12. Biesbroek G, Bosch AA, Wang X, Keijser BJ, Veenhoven RH, Sanders EA, Bogaert D. The impact of breastfeeding on nasopharyngeal microbial communities in infants. Am J Respir Crit Care Med 2014;190(3):298-308.

13. Hajeebhoy N, Nguyen PH, Mannava P, Nguyen TT, Mai LT. Suboptimal breastfeeding practices are associated with infant illness in Vietnam. Int Breastfeed J 2014;9:12.

14. Lamberti LM, Zakarija-Grkovic I, Fischer Walker CL, Theodoratou E, Nair H, Campbell H, Black RE. Breastfeeding for reducing the risk of pneumonia morbidity and mortality in children under two: a systematic literature review and meta-analysis. BMC Public Health 2013;13 Suppl 3:S18.

15. Ladomenou F, Moschandreas J, Kafatos A, Tselentis Y, Galanakis E. Protective effect of exclusive breastfeeding against infections during infancy: a prospective study. Arch Dis Child 2010;95(12):1004-8.

16. Hornell A, Lagstrom H, Lande B, Thorsdottir I. Breastfeeding, introduction of other foods and effects on health: a systematic literature review for the 5th Nordic Nutrition Recommendations. Food Nutr Res 2013;57.

17. Jwa SC, Fujiwara T, Kondo N. Latent protective effects of breastfeeding on late childhood overweight and obesity: a nationwide prospective study. Obesity (Silver Spring) 2014;22(6):1527-37.

18. Yan J, Liu L, Zhu Y, Huang G, Wang PP. The association between breastfeeding and childhood obesity: a meta-analysis. BMC Public Health 2014;14:1267.

19. Diallo FB, Bell L, Moutquin JM, Garant MP. The effects of exclusive versus non-exclusive breastfeeding on specific infant morbidities in Conakry. Pan Afr Med J 2009;2:2.

20. Quinn PJ, O'Callaghan M, Williams GM, Najman JM, Andersen MJ, Bor W. The effect of breastfeeding on child development at 5 years: a cohort study. J Paediatr Child Health 2001;37(5):465-9.

21. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. การสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ในเด็กไทยระดับชั้นประถามศึกษาปีที่ 1 พ.ศ. 2559 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 4 ก.ย. 2558]. เข้าถึงได้จาก: https://www.doc.dmh.go.th/report/compare/iqeq.pdf.

22. นิตยา โปสาวาท. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนของหญิงหลังคลอด โรงพยาบาลคำม่วง อาเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2552;2(2):15-29.

23. ชญาภา ชัยสุวรรณ. อำนาจการทำนายของการสนับสนุนจากสามี ย่ายาย และพยาบาลต่อระยะเวลาในการลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555.

24. มยุรา เรืองเสรี. การสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนถึงอายุ 6 เดือนของมารดาวัยรุ่นหลังคลอดในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อ.เมือง จ.อุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2560;6(1):37-48.

25. Meedya S, Fahy K, Kable A. Factors that positively influence breastfeeding duration to 6 months: a literature review. Women Birth 2010;23(4):135-45.

26. ธาวิณี ชาญชัชวาล, ยุบล วีระจาคี, ชลิดา พุ่มพวง, ธณภร เชื่อมขุนทด, สุกานดา สินเขียว. ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว อย่างน้อยหกเดือนของมารดาหลังคลอดโรงพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี. 2552 [เข้าถึงเมื่อ 4 ก.ย. 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://www.phrachomklao.go.th/hrd/reseaech/5.ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่.pdf

27. ใจเกื้อ ระติสุนทร, สุภาพ ไทยแท้, อุไรวรรณ บวรธรรมจักร. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังใจต่อพฤติกรรมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาและระยะเวลาในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวของมารดาวัยรุ่น. วารสารเกื้อการุณย์ 2557;21(2):139-54.

28. อรทัย บัวคำ. ผลของโครงการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 4 เดือน ในมารดาที่มีบุตรคนแรก: โรงพยาบาลอำนาจเจริญ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต การพยาบาลสุขภาพมารดาทารกแรกเกิดและสตรี]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2549.

29. Kupratakul J, Taneepanichskul S, Voramongkol N, Phupong V. A randomized controlled trial of knowledge sharing practice with empowerment strategies in pregnant women to improve exclusive breastfeeding during the first six months postpartum. J Med Assoc Thai 2010;93(9):1009-18.

30. Twisk WR. Applied longitudinal data analysis for epidemiology: a practical guide. England: Cambridge university; 2003.

31. ปิยาพร สินธุโคตร. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจในการให้นมแม่ ต่อการรับรู้ความสามารถของมารดา ปริมาณน้ำนม และการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวในทารกเกิดก่อนกำหนด [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.

32. สุวรรณรัตน์ ระวิวรรณ์. การเสริมพลังอำนาจมารดาหลังคลอดบุตรคนแรกและครอบครัวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. คณะพยาบาลศาสตร์: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.

33. Gibson CH. The process of empowerment in mothers of chronically ill children. J Adv nurs 1995;21(6):1201-10.

34. House JS. Work stress and social support. Reading. MA. Addison-Wesley; 1981.

35. ปาริชาติ โรจน์พลากร-กู๊ช, ยุวดี ฦาชา. สถิติสำหรับงานวิจัยทางการพยาบาลและการใช้โปรแกรม SPSS for Window. กรุงเทพฯ: จุดทอง; 2549

36. อภิรดี กินพิทักษ์, สุนีย์ ละกำปั่น, วีณา เที่ยงธรรม. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาครรภ์แรก. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2554;41(2):135-48.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31