ปัจจัยทำนายความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ระยะหลังเฉียบพลันรายใหม่
คำสำคัญ:
ภาระการดูแล, ความต้องการของผู้ดูแล, โรคหลอดเลือดสมองระยะหลังเฉียบพลันบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทำนายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาระในการดูแลและความต้องการของผู้ดูแล ตลอดจนปัจจัยทำนายความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะหลังเฉียบพลันรายใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะหลังเฉียบพลันรายใหม่ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 90 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้าที่กำหนด เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแล 2) แบบประเมินภาระในการดูแลของผู้ดูแลและ 3) แบบประเมินความต้องการของผู้ดูแล ซึ่งตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน และหาค่าความเที่ยงของแบบประเมินภาระในการดูแลของผู้ดูแลและแบบประเมินความต้องการของผู้ดูแล โดยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคได้ .83 และ .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่าระดับภาระในการดูแลเฉลี่ยของผู้ดูแลอยู่ในระดับมาก (Mean = 41.53, S.D. ± 26.89) ระดับความต้องการของผู้ดูแลอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.25 คะแนน (S.D. ± 0.36) ผู้ดูแลมีความต้องการด้านข้อมูลและด้านการพักผ่อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .05 ตามลำดับ ส่วนผลการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะหลังเฉียบพลัน พบว่ามี 2 ปัจจัยที่สามารถร่วมพยากรณ์ความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะหลังเฉียบพลันได้ร้อยละ 10.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ระดับการศึกษาและรายได้ของผู้ดูแล โดยระดับการศึกษาของผู้ดูแล (β=-.300) มีอิทธิพลมากกว่ารายได้ของผู้ดูแล (β=.219)
References
2. Division of Non-Communicable Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Annual report 2018 [Internet]. 2018 [cited 2019 Jun 14]. Available from: http://www.thaincd.com/document/file/download/paper-manual/AnnualNCD61.pdf (in Thai)
3. Camak DJ. Addressing the burden of stroke caregivers: a literature review. J Clin Nurs 2015;24(17-18):2376-82.
4. Gbiri CA, Olawale OA, Isaac SO. Stroke management: informal caregivers’ burdens and strains of caring for stroke survivors. Ann Phys Rehabil Med 2015;58(2):98-103.
5. Mahinda LW. Evaluation of the informal caregiver burden in the care of stroke patients at Kenyatta national hospital [Thesis]. Nairobi: University of Nairobi; 2016.
6. Wilz G, Kalytta T. Anxiety symptoms in spouses of stroke patients. Cerebrovasc Dis 2008;25(4):311-5.
7. Katbamna S, Manning L, Mistri A, Johnson M, Robinson T. Balancing satisfaction and stress: carer burden among White and British Asain Indian carers of stroke survivors. Ethn Health 2017;22(4):425-41.
8. Toonsiri C, Sunsern R, Lawang W. Development of the burden interview for caregivers of patients with chronic illness. Journal of Nursing and Education 2011;4(1):62-75. (in Thai)
9. Notkao D, Kaewmanee C. Factor influence caregiveer burden of stroke caregivers. Paper presented at: The 1st Ratchathani University National Conference; 2015 July 29; Ratchathani University, Ubon Ratchathani, Thailand. (in Thai)
10. Chuaoupathum R. Nursing care need of caregivers for stroke patients at home [Thesis]. Nakornpathom: Christian University; 2010. (in Thai)
11. Akosile CO, Banjo TO, Okoye EC, Ibikunle PO, Odole AC. Informal caregiving buden and perceived social support in an acute stroke care facility. Health Qual Life Outcomes 2018;16(1):57. doi: 10.1186/s12955-018-0885-z.
12. Kuptniratsaikul V, Thitisakulchai P, Sarika S, Khaewnaree S. The burden of stroke on caregivers at 1-year after discharge: a multicenter study. J Thai Rehabil Med 2018;28(1):8-14. (in Thai)
13. Tsai P-C, Yip P-K, Tai JJ, Lou M-F. Need of family caregivers of stroke patients: a longitudinal study of caregivers’ perspectives. Patient Prefer Adherence 2015;9:449-57.
14. Yu Y, Hu J, Efird JT, McCoy TP. Social support, coping strategies and health-related quality of life among primary caregivers of stroke survivors in China. J Clin Nurs 2013;22(15-16):2160-71.
15. Muthucumarana MW, Samarasinghe K, Elgan C. Caring for stroke survivors: experiences of family caregivers in Sri Lanka – a qualitative study. Top Stroke Rehabil 2018;25(6):397-402.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาบทความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ ในวารสารพยาบาลสภากาชาดไทยนี้ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ หรือสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย