ผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถตนเองในการป้องกัน อุบัติเหตุที่บ้านและทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ของผู้ดูแลเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • สิรินทร์ธร มูลสาร นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุรินธร กลัมพากร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • จุฑาธิป ศีลบุตร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย, ความสามารถตนเอง, ปฐมพยาบาลเบื้องต้น

บทคัดย่อ

                การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถตนเองในการป้องกันอุบัติเหตุที่บ้านและทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นของผู้ดูแลเด็กปฐมวัย โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยในช่วงอายุ 6 – 18 เดือน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 26 คน ที่มารับบริการในคลินิกเด็กดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ฯ ระยะเวลาในการศึกษา 8 สัปดาห์ ซึ่งผู้เข้าร่วมวิจัยกลุ่มทดลองได้เข้าร่วมกิจกรรมตามโปรแกรมเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบประเมินทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยผู้วิจัย  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Paired t-test Independent t-test และ One-way Repeated Measure ANOVA

                 ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ และการรับรู้ความสามารถตนเอง ในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อย่างไรก็ตาม ในระยะติดตามผล พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นลดลงจากระยะหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  แต่ยังอยู่ในระดับสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

              โปรแกรมส่งเสริมความสามารถตนเองในการป้องกันอุบัติเหตุที่บ้านและทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้น มีผลให้ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยมีความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันอุบัติเหตุที่บ้าน และทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพิ่มสูงขึ้น จึงสามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดโปรแกรมอบรมการปฐม พยาบาลแก่เด็กปฐมวัย หรือผู้ดูแลเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องการป้องกันอุบัติเหตุและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นต่อไป

References

1. Peden M, Oyegbite K, Ozanne-Smith J, Hyder AA, Branche C, Rahman AKMF, et al., editors. Child injuries in context. In: Peden M, Oyegbite K, Ozanne-Smith J, Hyder AA, Branche C, Rahman AKMF, et al., editors. World report on child injury prevention. Geneva: World Health Organization; 2008. p.1-8.

2. Aeamkijjakan P. Development the taproots of life. Bangkok: Sahaprinting and Publishing; 2014 (in Thai)

3. Phalittapholkanpim A. Be careful of the danger around children [Internet]. 2014 [cited 2015 Sep 23]. Available from: www.thaihealth.or.th (in Thai)

4. Phalittapholkanphime P. To do a wrong first aid is dangerous of life [Internet]. 2016 [cited 2017 Jun 8]. Available from: http://www.csip.org/csip/autopage/show_page.php?h=118&s_id=60&d_id=60 (in Thai)

5. Aekmongkolkarn S, Aekchalermprakiart S. Tell us story “Summer is dangerous the most of downing in Thai child”. Nonthaburi: Chomchon sahakorn-kankaset publishing; 2016. (in Thai)

6. Singpraprai P. Situation and prevention measures for drowning of children in Thailand [Internet]. 2015 [cited 2016 Jun 30]. Available from: http://kmbcns.blogspot.com/ 2015/11/blog-post.html?m=1; 2558 (in Thai)

7. Wei YL, Chen LL, Li TC, Ma WF, Penge NH, Huang LC. Self-efficacy of first aid for home accidents among parents with 0-to 4-year-old children at a metropolitan community health center in Taiwan. Accid Anal Prev 2013;52:182-7.

8. Dansay K. Self-efficacy and child health promoting behaviors in mothers of toddlers [Thesis]. Bangkok: Mahidol University; 1997. (in Thai)

9. Kalampakorn S, Lagampan S, Powwattana A. Community capacity building: concept and application. 2nd ed. Bangkok: Danex Intercorporation; 2013. (in Thai)

10. Srisatidnarakul B. The methodology in nursing research. 5th ed. Bangkok: U and I Inter Media; 2010. (in Thai)

11. Ko-Ka-Noot J. The effect of learning by modeling on accident prevention behaviors of school age children [Thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2006. (in Thai)

12. Kaophay S. Study the perceptions of self-efficacy in caring for preterm babies and caring behavior [Thesis]. Chiangmai: Chiangmai University; 2008. (in Thai)

13. Partiprajak S, Thongpo, P. Retention of basic life support knowledge, self-efficacy and chest compression performance in Thai undergraduate nursing students. Nurse Educ Pract 2016;16(1):235-41. (in Thai)

14. Schumann SA, Schimelpfenig T, Sibthorp J, Collins RH. An examination of wilderness first aid knowledge, self-efficacy, and skill retention. Wilderness Environ Med 2012;23(2):281-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-11